ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 12 มีนาคม 2568 จำนวนผู้เข้าชม 415 คน
12 มีนาคม 2568เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัวนั่นคือ การช่วยให้เขาเหล่านั้น คลายความวิตกกังวล รู้สึกปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นในการรับบริการ (When we use AIDET Plus+ ..with patient ,their family members, and co-workers,we reduce anxiety,improve patient safety and build Trust.)
เทคนิค AIDET Plus การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึก (In-Depth communications) เหมาะสำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทุกแผนกใน คลินิก ศูนย์สุขภาพฯ โรงพยาบาล (อิงหลักการ Patient Safety & Personal Safety) ซึ่งใช้ในการประสานงานภายในและการสื่อสารต่อผู้รับบริการภายนอก เช่น ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้มาเยือน ผู้มาติดต่องาน เป็นต้น
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง
กระบวนการติดต่อ ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร (Message) จากผู้ส่งสาร (Sender)
ไปยังผู้รับสาร (Receiver) ผ่านสื่อต่างทั้งการพูด การเขียน สัญลักษณ์ รูปภาพ แผนภาพ
ไม่ใช่คำพูด เป็นอากัปกิริยา ท่าทางอิริยาบถ สัญลักษณ์ ภาพ
ภาษาพูด ประโยคพูด อักษรเขียน จดหมาย E-Mail ข้อความ
อุปสรรคการสื่อสาร (Communication Barriers)
1) ตัวบุคคล (Personal) : ผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกัน
2) ข้อความ (Message) : ข้อความครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่
3) ช่องทาง (Channel) : หลากหลายสะดวกรวดเร็ว ตรงกลุ่มเป้าหมาย
4) ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) : ควรสื่อสารสองทาง 2 way Communication เก็บสถิติ Complaints & Pain Point
กุญแจแห่งความสำเร็จ (A Key Benefit) ของการสื่อสาร
หัวใจสำคัญที่นำพาให้กระบวนการสื่อสารสู่ผู้รับได้รับข้อมูลที่พึงพอใจ ทำอย่างไร
ให้บุคลากรมีใจทำ-จดจำ-ทำอย่างเคยชิน มีกุญแจสำคัญอยู่ที่
1) ความรู้ต้นแบบด้านการสื่อสาร ที่แต่ละองค์กรวางมาตรฐานไว้
2) บุคลากรทุกระดับเข้าใจกระบวนการ AIDET Plus ในแต่ละขั้นการปฏิบัติงาน
การสื่อสาร AIDET Plus ตามประเภทผู้รับบริการ
ผู้รับบริการทางสุขภาพเฉพาะทาง หมายถึง ผู้รับบริการทางด้านสุขภาพเฉพาะด้านที่ไม่ใช่โรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น ศัลยกรรม รูปร่าง ความสวยความงาม สลายไขมันเฉพาะจุด การเข้าตรวจสุขภาพประจำปี ฉีดวัคซีน ปรึกษาด้านสุขภาพ
2. กรณีใช้ AIDET Plus ในผู้ป่วยทั่วไป
ผู้ป่วยทั่วไป หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการด้วยอาการพยาธิสภาพโรคความเจ็บป่วยระดับไม่รุนแรงไม่ฉุกเฉิน ไม่เร่งด่วน เช่น ผู้ป่วย OPD มาตามนัดปกติกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) มะเร็งระยะแรก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันหลอดเลือด อ้วนลงพุง ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคหวัดผู้ป่วยที่มีระดับภาวะการรู้สึกตัว (Level Of Consciousness : LOC 5) ระดับปกติ Vital sign อยู่ในเกณฑ์
3. กรณีใช้ AIDET Plus ในผู้ป่วยระดับ ฉุกเฉิน วิกฤติเสี่ยงสูง (ESI Level 1-2)
ช่วงแรกเริ่มพบผู้ป่วย( First Encounter) อาจไม่สามารถทำได้ครบทุกขั้นตอน ใช้เพียงขั้นตอนที่ 1 Acknowledge เท่านั้น
สนใจอ่านรายละเอียดหลักสูตรการสื่อสาร การบริการอื่นๆเพิ่มเติมในเว็บไซต์นี้ www.consultthailand.com
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 12 มีนาคม 2568
จำนวนผู้เข้าชม 415 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้
จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว