ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 26 เมษายน 2568 จำนวนผู้เข้าชม 221 คน
26 เมษายน 2568“การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPIตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม”
การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศทาง วัฒนธรรมองค์กร … อย่างไร ??
ขีดความสามารถหรือสมรรถนะความสามารถ (Competency)
หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลส่งผลให้เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน สามารถวัดประเมินผลได้ โดยสามารถวัดทั้งเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ ส่วนใหญ่เน้นทำการวัดเชิงคุณภาพออกแบบรายละเอียดง่ายกว่า ผลประเมินที่ได้นั้นสะท้อนให้เห็นถึงการมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะของแต่ละบุคคลที่ชัดเจน
แนวคิดการประเมินขีดความสามารถ (Competency) นั้น เกิดในช่วงปี 1970 David McClelland (Ref. psychology.fas.harvard.edu) ได้ทำการศึกษาประชากร 2 กลุ่มในวัยทำงาน พบว่ามีผลลัพธ์การปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั่นคือ
“บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ดีจะมีขีดความสามารถ (Competency) ค่อนข้างสูง” โดย McClelland ได้เขียนลงบทความ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เมื่อปี 1973 เรื่อง “Testing for Competence Rather Than Intelligence” เผยแพร่ทั้งแนวคิดและแบบสัมภาษณ์ ใช้สำหรับประเมินขีดความสามารถเรียกแบบสัมภาษณ์นั้นว่า “Behavioral Event Interview : BEI”
เขากล่าวว่า ผลงานแต่ละบุคคลนั้นเกิดมาจาก “SKA” ที่มีความแตกต่างกัน หมายถึง ทั้งความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attribute) เป็นไปตามที่แต่ละบุคคลพึงมี
โดย McClelland สร้างแบบจำลองแนวคิด “โมเดลภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model)” นั่นคือ
ประโยชน์ของCompetency
1. ขับเคลื่อนนโยบายขององค์กร
: เพื่อนำทั้งพันธกิจ วิสัยทัศน์ แนวคิด ตามนโยบายหลักขององค์กรมาวางทิศทาง การกำหนดขีดความสามารถของแต่ละตำแหน่งที่องค์กรต้องการ เช่น ธุรกิจเน้นผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็ง นโยบายเน้นการผลิตและจำหน่าย ขีดความสามารถกำหนดไปในทิศทางด้านความสามารถการจัดการ การบริหารเวลา การมีภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นอันดับแรกๆ ซึ่งต่างจากธุรกิจด้านดูแลรักษาสุขภาพขีดความสามารถกำหนดไปในทิศทางด้านการบริการที่เป็นเลิศ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย
2. สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว
: นอกจากการกำหนดขีดความสามารถให้เป็นไปตามที่องค์กรคาดหวังแล้ว ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมในแบบที่องค์กรต้องการให้เป็น เช่น องค์กรที่ต้องการให้มีการทำงานเป็นทีม มีการช่วยเหลือกันในแต่ละแผนก ประสานงานกันอย่างไร้รอยต่อ สามารถกำหนดหัวข้อ Competencyในเรื่อง Seamless Teamwork หรือTeambuilding
3. เครื่องมือในการประเมินผลงานรายบุคคล เพื่อการบริหารค่าตอบแทน (Individual Evaluation & Compensation)
: ซึ่งอยู่ในสัดส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance appraisal) รายบุคคล โดยผู้กำหนดการประเมินผลอาจเป็นสัดส่วนของการประเมินตัวชี้วัดหลัก(Key Performance Indicators : KPI)ตามหน้าที่งานจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับ ตำแหน่งสัดส่วนความสำคัญต่อธุรกิจ ตามลำดับความสำคัญงาน เช่น
KPI : Competency : Time Attendance (30 : 65 : 5)
KPI : Competency : Time Attendance (40 : 50 : 10)
KPI : Competency : Time Attendance (50 : 40 : 10)
4. การสรรหาและคัดเลือกได้ตรงตำแหน่ง (Recruitment & Selection )
: ใช้ข้อมูลหัวข้อขีดความสามารถ (Competency) ในการลงข้อมูลสรรหาบุคลากรตามช่องทางต่างๆ เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งตามที่องค์กรมุ่งหวัง
Competency จะมีประโยชน์หรือไม่นั้น อยู่ที่การนำขีดสมรรถนะไปใช้ในการดำเนินงานจริงทุกตำแหน่งที่ได้วางแผนไว้ตาม TRM
ส่วนสำคัญที่สุดคือการเก็บข้อมูล สถิติประเมินผลนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริง ถูกต้อง ครบถ้วน ตามกรอบเวลา ไม่ต่างอะไรกับหลักการ SMART (อ้างอิงบทความ เรื่องข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI)
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 26 เมษายน 2568
จำนวนผู้เข้าชม 221 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร