ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 22 เมษายน 2568 จำนวนผู้เข้าชม 380 คน
22 เมษายน 2568ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ควรเตรียมพร้อมรับมือเมื่อเริ่มจริงจังกับการทำระบบประเมินผลทั้งข้อมูลในด้านทุนมนุษย์ (Human capital) ต้นทุนด้านทรัพยากรบุคคล โปรแกรม เครื่องมือสนับสนุน นโยบายหลักองค์การ
ดังนั้น ข้อมูลสำคัญ 8 ประการที่ผู้จัดทำควรเตรียมก่อนดำเนินการจัดทำประกอบด้วย
1. ข้อมูลนโยบายหลัก วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ วัฒนธรรมองค์กร
: เตรียมข้อมูลด้านนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ วัฒนธรรมองค์กร เพื่อใช้สำหรับวางแนวทางรูปแบบประเมินผลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
2. แนวคิดผู้บริหาร
: ผู้จัดทำควรได้ผลสรุปแนวคิดของทีมผู้บริหารหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรเสียก่อน ทำให้รับทราบทิศทางที่ต้องการทั้งหมดนำมาขับเคลื่อนแผนการดำเนินการได้ตรงจุด
3. แผนผังโครงสร้างองค์กร
: แผนผังโครงสร้างองค์กร (Organization charts) นำมาจัดแบ่งกลุ่มสัดส่วนคะแนน เช่น ส่วนของงานหลักขององค์กร (Core Business) ส่วนงานดูแลส่วนหน้า (Front office) เน้นน้ำหนักการวัดเชิงปริมาณ และส่วนงานสนับสนุน (Back office) เน้นน้ำหนักการวัดเชิงคุณภาพ
ในกลุ่มสัญญาจ้างเป็นช่วงเวลา (Sub contract) หรือกลุ่มที่ว่าจ้างบริษัทหรือบุคคลภายนอก (Outsource) มาทำงานอาจแบ่งกลุ่มนี้ประเมินเฉพาะความพึงพอใจและความสำเร็จตามกรอบเวลา
ในการกำหนดน้ำหนักคะแนนตัวชี้วัดหลัก สามารถแบ่งสัดส่วนการวัดที่ไม่เหมือนกันทุกกลุ่มงานได้ขึ้นอยู่กับการลำดับกลุ่มที่มีความสำคัญกับองค์กรเป็นลำดับ ทั้งนี้โครงสร้างแผนผังองค์กรจะเป็นตัวบ่งบอกสายงานบังคับบัญชา ตามหน้าที่ ความรับผิดชอบและความเชื่อมโยงของการทำงานแต่ละส่วนงาน
ตัวอย่าง การแบ่งสัดส่วนให้น้ำหนักคะแนนของ Core Business และ Back office
4. ประเมินสถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน
: มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้จัดทำต้องขอข้อมูลจากหน่วยงานภายในผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งทำการวิเคราะห์ SWOT ภาพรวมธุรกิจตนเองเปรียบเทียบคู่แข่ง ทั้งตัวผลิตภัณฑ์สินค้า การให้บริการ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร การจัดจำหน่าย ข้อดีข้อเสียโอกาสทางการแข่งขันที่พบ
ข้อมูลดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการกำหนดหัวข้อตัวชี้วัดหลัก (KPI) อาจบ่งชี้ไปตาม BSC หรือกำหนดตาม Action Plan ของฝ่ายบริหาร และกรณี ไม่มีข้อมูลเชิงสถิติมารองรับการตั้งค่าเป้าหมายข้อมูล SWOT นี้ จะช่วยวิเคราะห์หาตัวเลขเป้าหมาย (Target) ที่มีความเป็นไปได้ แบบพยากรณ์คาดการณ์ไว้ (Forecast) ในอนาคต
5. คุณลักษณะความสามารถกลุ่มบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด
: ผู้จัดทำควรทำการวิเคราะห์ความสามารถของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกระดับทั้งด้านการบริหารจัดการ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถในการเรียนรู้งาน ทักษะภาษา พูดง่ายๆนั่นคือวิเคราะห์หาทักษะ S(Skill) ความรู้ K(Knowledge) ทัศนคติ A(Attitude) ในตัวบุคลากรเพื่อเป้าหมายในการนำเครื่องมือประเมินผลมาใช้ประเมินได้ตรงตามความเป็นจริงที่สุด
6. พื้นฐานความรู้ความเข้าใจKPIเดิม
: ผู้จัดทำอาจออกแบบสอบถามอย่างง่ายเป็นไปได้ทั้งปลายเปิดและปลายปิด เพื่อสอบถามความรู้ความเข้าใจเดิมของบุคลากรทั้งองค์กร เมื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้แล้วนำมาคัดกรองกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม (Training) ที่วางแผนจะจัดขึ้นในอนาคต ไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องเข้ารับการอบรมในคอร์สเดียวกันเท่ากัน ทำแบบประเมินวิเคราะห์ความรู้แบบง่าย เช่น ใบ Checklist,แบบสอบถามวัดผล
แนวทางจัดแบ่งกลุ่ม 2 ระดับ เช่น
7. ความพร้อมด้านโปรแกรม เทคโนโลยี
: ผู้จัดทำควรศึกษาความพร้อมด้านโปรแกรม เทคโนโลยีในการรองรับระบบประเมินผลที่เกิดขึ้น ทั้งการเก็บข้อมูลเชิงสถิติในเชิงปริมาณของแต่ละตัวชี้วัด การประมวลผลข้อมูลแต่ละเป้าหมายงาน สูตรการคำนวณต่างๆ การแปรผลในขั้นตอนสุดท้ายก่อนรายงานสรุปยอดจริง
ในขณะเดียวกันข้อมูลตัวชี้วัดจำนวนหลักสิบหลักร้อยต้นๆ หากไม่พร้อมด้านงบประมาณลงโปรแกรมออนไลน์สามารถใช้การบันทึกแบบระบบ MS-Office ได้ เว้นเสียแต่จำนวนตัวชี้วัดที่บันทึกข้อมูลลงในพจนานุกรม KPI ของทุกแผนกในองค์กรมีจำนวนหลายร้อยตัวชี้วัดหรือมากกว่านั้น ผู้เขียนแนะนำให้ทำการบันทึกประมวลผลผ่านโปรแกรมออนไลน์สะดวกรวดเร็วครบถ้วนถูกต้องมากกว่า
8. ข้อมูลด้านใบกำหนดหน้าที่งาน (Job description)
: ผู้จัดทำควรเตรียมทำใบหน้าที่งานหรือ JD ให้ครบถ้วนทุกตำแหน่ง เพื่อความสอดคล้องในการการประเมินผลรายบุคคลตามคุณลักษณะตำแหน่งงาน การวัดผลในแบบ KPI มุ่งเน้นการวัดเชิงปริมาณ (Quantity) และเชิงคุณภาพ (Quality) ที่มีการวัดได้ตรงกับหน้าที่งานมากที่สุดในลักษณะ การวัดผลตามหน้าที่งานจริงตามหลัก SMART นั่นคือ
ดังนั้น การเตรียมข้อมูลรอบด้านที่พร้อมก่อนเริ่มจัดทำประเมินผล ช่วยให้การริเริ่มจัดทำระบบประเมินผลมีความคล่องตัวรวดเร็ว ดำเนินการอยู่ภายใต้กรอบเวลาที่วางไว้ เกิดความเข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรมากที่สุด
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 22 เมษายน 2568
จำนวนผู้เข้าชม 380 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร