หน้าแรก หน้ารวมบทความ เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 315 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications) ทั้งผู้ให้บริการ(หมายถึงบุคลากรทุกกลุ่มที่ปฏิบัติงานหน้างานและสนับสนุนงาน) ผู้รับบริการ(หมายถึง แผนกที่ประสานงาน ผู้เข้ามาติดต่องาน ลูกค้า ผู้ป่วยและครอบครัว/ญาติ)

     ในบทความหลายตอนของ AIDET ที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้ว หลายหัวข้อเมื่อท่านได้อ่านพบว่า นอกจากประโยชน์ของการวางกรอบการสื่อสารแบบ AIDET ทำให้ความเข้าใจแต่ละฝ่ายมีความสอดคล้องตรงกันแล้ว AIDET Plus ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นวางใจของผู้มาใช้บริการ     

ภาพประกอบ 1.1 รูปแบบ AIDET Plus ทางการปฏิบัติงาน

     ในหลายปีที่ผ่านมาการอบรมสำหรับงานคลินิก ศูนย์บริการสุขภาพ โรงพยาบาลส่วนมากเรียนรู้เฉพาะหลักสูตรแบบเดิม เช่น มาตรฐานบริการ เทคนิคการสื่อสาร  เทคนิคการให้บริการ พฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ (ESB) หลังจากอบรมไม่ได้มีการพัฒนาต่อยอดเป็นกระบวนการแบบ PDCA นั่นคือ อบรมจบไปแล้วไม่มีการติดตามอย่างเป็นรูปธรรม

ภาพประกอบ 1.2 เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไปไม่มีขั้นตอนและรูปแบบ AIDET Plus

          การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus ช่วยให้ผู้เรียนประมวลองค์ความรู้เดิมที่มีทั้งมาตรฐานบริการ (Service standard) พฤติกรรมบริการ (Excellence Service Behavior) ปรับใช้ในการถ่ายทอดแต่ละขั้นของรูปแบบการสื่อสารในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกวิธี ตรงใจ ป้องกันแก้ไขข้อร้องเรียนและเกินความคาดหมายของผู้ใช้บริการ

 มีการตรวจประเมินอย่างเป็นรูปธรรม (Tangible) เช่น

  • การสังเกตจากหน้าที่งานจริงโดยใช้ใบ Online Checklist
  • การประเมินท่าทางจากการสาธิต (Demonstration) หรือสัมภาษณ์ (Interview) จากสถานการณ์จำลอง (SBL)
  • การสุ่ม(Random)ประเมินผลจากสถานการณ์จริง (OJT)

     ผู้เขียนขอแนะนำหากองค์กรใดมีการจัดอบรมทั้งสองหลักสูตรเบื้องต้นไปแล้ว  ครั้งต่อไปควรจัดอบรม “หลักสูตรการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพแบบ AIDET Plus” นอกจากได้นำผลการเรียนรู้ด้านมาตรฐานบริการเดิมมาต่อยอดการสื่อสาร และประโยชน์ในการนำไปใช้การสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาจริงแต่ละแผนก  แต่ละตำแหน่งแล้ว ผลตอบรับที่มากกว่าการเรียนรู้คือการรับรู้ของผู้รับบริการมองเห็นคุณค่า “ความใส่ใจ ความจริงใจ” จากกรอบการสื่อสารแบบ 5+3 ขั้นตอนที่ส่งมอบจากโมเดล AIDET Plus   

     หลังจากจบการจัดอบรมในหัวข้อเบื้องต้น ฝ่ายพัฒนาบุคลากรมีการดำเนินการวางกรอบจัดทำมาตรฐานการสื่อสาร AIDET Plus ในทุกแผนก ทุกตำแหน่งงาน มีการตรวจสอบตามกรอบระยะเวลาในรูปแบบการติดตามภายในองค์กรเช่น Checklist,Audit,Evaluate

ผลลัพธ์ที่ได้คือช่วยแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมแรกรับ ท่าทาง การใช้น้ำเสียง ความใส่ใจผู้รับบริการ … 

     ไม่ว่าแผนกงานนั้นเกี่ยวข้องกับงานสายการแพทย์ สายสุขภาพ สนับสนุนงาน ทุกฝ่ายทุกแผนกเมื่อใช้ AIDET Plus เป็นเข็มทิศนำทางการสื่อสาร เพื่อความกระจ่างชัดเจน ลดปัญหาการร้องเรียน ความวิตกกังวล  ส่งผลด้านภาพลักษณ์ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่นต่อบุคลากร ต่อองค์กรมากขึ้น

     วัตถุประสงค์ปลายทางของการใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus มุ่งหวังทั้งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อผู้รับบริการภายนอก ผู้รับบริการภายใน ทำอย่างไรให้การประสานงานทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน มีการให้เกียรติเสมือน “ลูกค้าเป็นคนสำคัญ”

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 14 เมษายน 2568

จำนวนผู้เข้าชม 315 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance

การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ

ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI

ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม

ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้

จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว