ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 25 มีนาคม 2568 จำนวนผู้เข้าชม 641 คน
25 มีนาคม 2568ทำไมต้องเรียนรู้จิตวิทยาการบริการ??
จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้เพื่อเป็นทักษะสำคัญในการปฏิบัติงานอย่างราบรื่น ทั้งการพบปะลูกค้าการแก้ปัญหา หรือมีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ
ลักษณะการเรียนรู้จิตวิทยาบริการสำหรับผู้ให้บริการ
1. เข้าใจในลักษณะงานที่รับผิดชอบและการบริการในงานตนเอง (Job Responsibilities)และภาพรวมสินค้าหรือบริการที่องค์กรมีอยู่
2. ศึกษา เรียนรู้ เข้าใจและค้นหาประสบการณ์ลูกค้า ลักษณะพฤติกรรม ทัศนคติลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ ประเภทหรือกลุ่มลูกค้า/ผู้รับบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่ระดับทั่วไปถึงระดับVVIP (Customer Experience & Customer Journey )
3. มีมาตรฐานการปฏิบัติงานการให้บริการ(Service Standard)แต่ละจุดหรือแต่ละตำแหน่งที่ลูกค้าต้องพบเจอ อย่างมืออาชีพ ไม่ซับซ้อน รวมถึง
4. ผู้ให้บริการมีบุคลิกภาพภายนอกที่ดี (External Personality)
5. ผู้ให้บริการมีบุคลิกภาพภายใน (Internal Personality)
ทัศนคติผู้ให้บริการเชิงบวก “หัวใจส่งรอยยิ้มตลอดเวลา” และพร้อมช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถในสถานการณ์ที่ลูกค้าขอความช่วยเหลือในการบริการ
6. ช่องทางติดต่อสื่อสารเพื่อรับฟังข้อมูลหรือส่งข้อมูลผ่านระบบดิจิทัลแบบออนไลน์
7. การสำรวจหรือจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจเพื่อรับทราบข้อคิดเห็น ในการนำมาซึ่งพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ
สร้างความแตกต่างด้านบริการทำอย่างไร ?
หากต้องการให้สินค้าหรือบริการโดดเด่น มีลักษณะเฉพาะ เป็นที่จดจำ ผู้ให้บริการควรสร้างความแตกต่าง 3 กลุ่ม
1. ความแตกต่างกลุ่มสินค้า : สินค้าอาจเหมือนกันกับธุรกิจอื่น แต่แพคเกจมีความแตกต่างน่าซื้อน่าใช้ เลือกโทนสีในการทำแบรนด์สินค้าที่มีความหมายเข้ากับสินค้า
2. ความแตกต่างบุคลากรผู้ให้การบริการ : ผู้ให้บริการถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสินค้าและบริการ ดึงดูดผู้บริโภคอุปโภค ต่อให้สินค้าดีเพียงใดแต่พนักงานผู้ให้บริการขาด Service Mind ผู้ซื้อย่อมไม่กลับมาซื้อซ้ำ อาจเกิดการบอกต่อ (Word of Mouth) หรือส่งต่อข้อมูลในแง่ลบผ่านออนไลน์แบบ Digital Footprint ข้อมูลดังกล่าวถูกบันทึกไว้เป็นร่องรอยของความล้มเหลวการให้บริการ ใครๆต่างสามารถพบข้อมูลนี้ได้
ซึ่งพฤติกรรมผู้ให้บริการแต่ละคนอาจไม่คงที่ เปลี่ยนคนทำงานการให้บริการอาจเปลี่ยนไป พฤติกรรมการส่งมอบการบริการดีไม่ดีของแต่ละบุคคล อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น ประสบการณ์การทำงาน ทัศนคติที่มีต่อผู้รับบริการ การศึกษาเรียนรู้ และบุคลิกทางอารมณ์
แต่ละองค์กรจำเป็นต้องมีการจัดทำมาตรฐานการให้บริการ (Service Standard) ตั้งแต่แรกรับกระทั่งสิ้นสุดการให้บริการตามกรอบระยะเวลา มาตรฐานที่กล่าวถึงข้างต้นรวมไปถึง กระบวนการ (Process) พฤติกรรม (Behavior) ท่าทาง (Manner) ประโยค (Sentence) คำพูด (Keywords) ระยะเวลาการให้บริการ (Duration) และกลไกการรับมือแก้ปัญหา (Problem solving)
3. ความแตกต่างช่องทางติดต่อสื่อสาร : ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ง่าย สะดวกฉับไวบนโลกดิจิทัล เป็นอีกตัวเลือกที่ส่งผลให้ลูกค้าเลือกใช้หรือรับบริการ เนื่องจากสังคมการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันเน้นการเข้าถึง การรับรู้ทางออนไลน์ได้ง่ายเช่น การส่งข้อมูลผ่าน ระบบอีเมล (E-Mail) ไลน์ (Line) เฟสบุ๊ค (Facebook) ยูทูป (Youtube) เป็นต้น
ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ การตอบกลับข้อมูลที่ทันท่วงทีตลอดการให้บริการผ่านทั้งช่องทางออฟไลน์ ออนไลน์ มีการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two way Communication) ที่สะดวกลดการเดินทางเพื่อไปติดต่อหน้าเคาน์เตอร์สาขาโดยตรง
สำหรับมุมมองผู้เขียน ในสายงานวิทยากรบรรยายและที่ปรึกษาด้านบริการตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา จิตวิทยาการบริการได้รับการกล่าวถึงในวงจำกัดเฉพาะงานด้านการให้บริการแต่ละกลุ่ม
ช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมาพบว่า การมีจิตวิทยาการบริการทำให้มองเห็นผู้คนมากมายทั่วโลกทุกสาขาอาชีพที่มีการปรับตัว การเรียนรู้ใช้งานผ่านระบบสังคมออนไลน์มากขึ้น ทำให้มีช่องทางเลือกใช้บริการที่หลากหลาย เลือกซื้อ เลือกใช้บริการจากประสบการณ์ตนเอง ผ่านการพูดถึง บอกต่อ หรือประมวลข้อมูลจากDigital footprint สำหรับองค์กร/ธุรกิจที่ต้องการเติบโต เข้าถึงใจลูกค้าแบบยั่งยืนการมีเฉพาะ Personal Branding อาจไม่เพียงพอในการตรึงลูกค้าให้อยู่หมัด
การเรียนรู้จิตวิทยาบริการ ช่วยตอบโจทย์การรักษาฐานเดิมลูกค้าอย่างเข้าอกเข้าใจ(Empathy) เพิ่มลูกค้าใหม่ด้วยการบริการเกินคาดหมาย(Beyond Service) บุคลากรจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจจิตวิทยาการบริการให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ทำอย่างไรให้ลูกค้าเลือกใช้-พูดถึง-บอกต่อ ไม่ยึดติดเฉพาะที่ตัวบุคคลหรือสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่รักในแบรนด์อย่างไม่มีข้อแม้
“ต่อให้สินค้าดีมากแค่ไหน พนักงานขาดศาสตร์และศิลป์การให้บริการ ลูกค้าย่อมมีตัวเลือกอีกมากบนแพลตฟอร์มออนไลน์ …
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 25 มีนาคม 2568
จำนวนผู้เข้าชม 641 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้
จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร