ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 18 เมษายน 2568 จำนวนผู้เข้าชม 355 คน
18 เมษายน 2568เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป หากเรียนรู้การใช้ระดับเสียงได้ถูกต้องในการสื่อสารแต่ละสถานการณ์ เสียงนั้นย่อมนำพาความสำเร็จในหน้าที่การงานมาให้
แน่นอนการมีความเข้าใจในการใช้ระดับน้ำเสียงสำหรับสื่อสารทางวัจนภาษา (Verbal) ที่ถูกต้อง ทำให้ผู้รับข้อมูล มีความไว้วางใจ เชื่อมั่น ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนครบถ้วน
การให้บริการแต่ละภาคธุรกิจความต้องการบริโภคอุปโภคของลูกค้าแตกต่างกันไปตามสินค้าผลิตภัณฑ์ ทำอย่างไรให้การสนทนาแต่ละประโยค บางสถานการณ์ดูไม่เป็นทางการเกินไปทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัด แต่คงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ น่าฟัง รู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง
การเรียนรู้เรื่องระดับเสียง เป็นหนึ่งในหัวข้อของการบรรยายเรื่องพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ (Excellence Service Behavior : ESB) สำหรับผู้ปฏิบัติงานให้บริการทั้งหน่วยงานราชการ ภาครัฐ เอกชน โรงแรม ธนาคาร โรงพยาบาล คลินิก ฯลฯ ที่ผู้เขียนเองให้ความสำคัญอันดับต้นๆ เพราะหลายครั้งที่เรามุ่งเน้นไปที่ท่าทาง อวัจนภาษา ลืมนึกถึงคุณค่าของการส่งมอบด้วย “น้ำเสียงจริงใจ”
งานราชการ
ประชาชนผู้มาติดต่อประสานงาน ย่อมต้องการความสะดวกสบาย การอธิบายขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนเกินไป การได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี การดูแลใส่ใจ น้ำเสียงมีความเข้าอกเข้าใจผู้มารับบริการทุกกลุ่ม ข้าราชการเป็นที่พึ่งของประชาชน ประชาชนไม่ใช่ภาระ ไม่ใช้การออกคำสั่ง เสียงแข็งตึง เสียงสูงต่อประชาชนที่มารับบริการ เพราะผู้มารับบริการคือแขกคนสำคัญมาเพื่อให้ท่านได้ทำงานดูแลด้วยความภูมิใจ
ภาคเอกชน
เอกชนอยู่ได้ด้วยกำไรจากผู้ใช้บริการ การให้การดูแล ช่วยเหลือ ส่งมอบสินค้าบริการคือหน้าที่สำคัญของผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นการดูแลลูกค้าเสมือนคนสำคัญในทุกครั้ง เป็นสิ่งที่พึงตระหนักไว้ทุกครั้งที่ก้าวเท้าเดินเข้าสู่โหมดการทำงาน พึงจำไว้ว่า “ลูกค้าคือผู้มีอุปการะคุณนำเงินเข้ามาให้ท่าน”
ธุรกิจ บริการด้านสุขภาพ
งานที่ต้องรับผิดชอบดูแลชีวิต ให้การพยาบาลและตรวจรักษา เกี่ยวกับความเจ็บป่วยนั้น ผู้เขียนกล่าวเสมอในทุกครั้งของการบรรยาย ผู้ปฏิบัติงานยิ่งต้องตระหนักในทุกคำพูดที่สื่อสารส่งออกไป อาจส่งผลกระทบต่อความเข้าใจผิดความหมายคาดเคลื่อนของผู้ฟัง ผู้ปฏิบัติงานต้องระลึกเสมอในการเปล่งวาจาเสมือน “ สวมใส่รองเท้าคู่เดียวกันกับผู้ฟัง ”
เพราะนอกจากความทุกข์กายจากอาการเจ็บป่วยที่เขาเหล่านั้นพบเจอแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว หากผู้ป่วยหรือคนไข้ต้องพบกับความทุกข์ใจจากคำพูด การกระทำของท่านยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมความทุกข์ทวีคูณขึ้นไปอีก
หลายครั้งของผู้ปฏิบัติงานได้รับการร้องเรียน
ระดับเสียงที่เปล่งออกไปนั้นสูงระดับใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ส่งสาร(Source/Sender)กำลังสนทนาสื่อข้อความเนื้อหาสาระ (Message) แก่ผู้รับสาร (Receiver) ไม่จำเป็นว่าการสนทนาทุกครั้งต้องปรับระดับเสียงให้ผิดจากธรรมชาติเสียงจริง แต่การใช้ระดับเสียงตรงกับบริบทของงาน ทำให้ผู้รับสารมีความเข้าใจตรงกัน สร้างความชัดเจนในกระบวนการสื่อสาร
การปรับระดับเสียงไม่ใช่การบีบคั้นเสียง กดเสียงเล็กเสียงน้อย หรือเปลี่ยนความเป็นตัวตนในตนเอง แต่ละคนมีธรรมชาติฐานเสียงที่แตกต่างกันเสียงดัง เสียงใหญ่ เสียงต่ำ เสียงแหบ เสียงเล็ก เสียงแหลม ซึ่งการมีเสียงที่แข็งแรงกังวานขึ้นอยู่กับสรีระวิทยาทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับเสียง( Cr.,Ref. www.britannica.com )
ปัจจัยอื่นๆ เช่น ด้านสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ภาวะความเจ็บป่วย ด้านสภาพแวดล้อม การรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารทอด อาหารมัน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีผลต่อการใช้เสียง
แต่ทุกๆเนื้อเสียงแต่ละบุคคลสามารถฝึกได้ให้อยู่ในแต่ละระดับให้เข้ากับการทำงาน ไม่จำเป็นว่า “ชั้นเสียงใหญ่ เสียงแหบ คงปรับเสียงหนึ่งไม่ได้”
เมื่อผู้เขียนได้เดินทางไปบรรยายแต่ละภูมิภาค ได้เข้าใจว่าแต่ละท้องถิ่น มีบุคลิกเสียงที่แตกต่างกันทำให้พื้นฐานระดับเสียงเดิม อาจส่งผลต่องานการบริการ
ตัวอย่างเช่น
มาทำความรู้จักระดับเสียงหนึ่ง
ระดับเสียงหนึ่ง คืออะไร ??
เสียงมีหลายระดับตามแต่ละสถานการณ์แบบทางการและไม่เป็นทางการ
สำหรับเสียงหนึ่งนั้น มีระดับความดังของเสียงอยู่ที่ 30-40 เดซิเบล(dB) หรือ + เพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 10 นั่นคือ 50 (dB)
ใช้เพื่อการสนทนาพูดคุยทั่วไป การทักทาย การอธิบายไม่ใช่งานวิชาการ การพูดคุยในชีวิตประจำวัน การพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน การทำความรู้จักเพื่อนใหม่ การแนะนำตัว การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ
การใช้เสียงระดับหนึ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติงานเป็นเสียงที่มุ่งผลลัพธ์เพื่อให้ผู้ฟังหรือคู่สนทนารับรู้ความเป็นกันเอง ความอบอุ่น สบายใจ เข้าใจเห็นอกเห็นใจ น้ำหนักเสียงดูไม่เป็นทางการมากนักแต่สาร(Message)ที่ส่งออกไปยังคงแฝงไว้ด้วยความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อความ ในกรณีลูกค้าผู้รับบริการเสียงหนึ่งนั้นยังคงมี Personal space เพื่อการให้เกียรติแก่คู่สนทนา
ตัวอย่าง : สถานการณ์การใช้ระดับเสียง 1
หัวหน้างาน ผู้จัดการ
พนักงานต้อนรับ
แพทย์
พยาบาล
ทรัพยากรบุคคล
ดังนั้น หากรู้จักใช้เนื้อเสียงที่มีในตนเองได้ตรงบริบทของงาน ทำให้สร้างโอกาสได้มากกว่า ไม่ว่าคุณประกอบอาชีพสายงานใด เสียงยังคงจำเป็นในการสั่งการ ส่งต่อ สื่อสารและรับสาร
ไม่จำเป็นต้องเนื้อเสียงเพราะ น้ำเสียงดี แต่รู้จักเลือกใช้ระดับเสียงที่มีให้เป็นประโยชน์ นอกจากได้รับความศรัทธา ชื่นชมแล้วผู้พูดเองยังรู้สึกภาคภูมิใจในการสื่อสารทุกครั้ง …
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 18 เมษายน 2568
จำนวนผู้เข้าชม 355 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้
จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว