ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 08 มีนาคม 2566 จำนวนผู้เข้าชม 706 คน
08 มีนาคม 2566เมื่อพิจารณาพนักงานด้วยเครื่องมือประเมินแบ่งระดับความสามารถแล้วเช่นการประเมินผลปฏิบัติงาน การประเมินสมรรถนะความสามารถตาม GAP พบว่าผู้ที่มีคะแนนประเมินติดลบพบจุดอ่อนต้องพัฒนาสิ่งที่เขาขาดไป แต่ในอีกกลุ่มคือคะแนนเป็นบวกผู้มีความสามารถตามองค์กรกำหนดและเหนือคะแนนมาตรฐานที่องค์กรต้องการ
คำถามคือ ??
คนกลุ่มนี้ไม่ต้องพัฒนาเพราะเก่งอยู่แล้ว ใช่หรือไม่ ?...
คนกลุ่มนี้จะพัฒนาแบบไหน ?...
คนกลุ่มนี้มี IQ และ EQ พร้อมขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงพอหรือไม่ ?...
เมื่อมีข้อมูล จากการประเมินแต่ละรอบปี พนักงานคนใดมีศักยภาพสูง(High potential) คนใดพัฒนาความสามารถเพิ่มเติมได้เพิ่มอีก ทำให้เตรียมความพร้อมในการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง(Succession Planning) ทดแทนหรือเพิ่มเติมตำแหน่งสำคัญในอนาคตได้ทันท่วงที
หลายองค์กรในประเทศไทย ขาดการวางแผนทดแทนตำแหน่งตรงนี้ไว้ เมื่อตำแหน่งที่สำคัญว่างลง เช่น ผู้อำนวย ผู้จัดการ หัวหน้างาน ทางแผนกทรัพยากรบุคคลทำการคัดเลือกคนเก่าหรือสรรหาคนใหม่มาดำรงตำแหน่งทันที การบริการบุคลากรเช่นนี้ถือเป็นการไม่วางแผนเตรียมพร้อม ทำให้หลายครั้งได้คนทำงานไม่ตรงงานไม่ตรงใจ
ดังนั้น เราจะทำอย่างไรให้ตรงกับทฤษฎีการวางคนให้ตรงกับงาน “Put the right man on the right job at the right time ”
เมื่อต้องมีการโยกย้ายปรับเปลี่ยนสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น พนักงานบางคนมีความพร้อมในทุกด้านสู่ระดับบริหารจัดการบางส่วนไม่พร้อม ไม่อยากขึ้นสู่ระดับบริหารจัดการ ไม่อยากเป็นหัวหน้าเพราะกลัวการเปลี่ยนแปลงไม่อยากรับผิดชอบมากเกินไป เรียกง่ายๆคือ “อยู่แบบเดิมไม่เหนื่อย ไม่เจ็บตัว”
จำเป็นที่องค์กรต้องมีการวางแผน บริหารจัดการพัฒนาพนักงานดาวเด่น (Talent Management) ทุกระดับให้มีความพร้อมในแต่ละด้าน เพื่อรองรับการดำรงตำแหน่งใน การเติบโตในสายอาชีพ (Career Path) ในอนาคต
ในที่นี้ แบ่งกลุ่มพัฒนาพนักงานกลุ่มเก่งหรือมีศักยภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพสูง (High Potential)
: เพื่อรองรับในตำแหน่งบริหารจัดการระดับสูงในองค์กร เช่น ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการแผนก
2. กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพปานกลางหรือรองลงมา (Competent Potential)
: เพื่อรองรับตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางหรือผู้บริหารในระดับสูงในอนาคต
3. กลุ่มพนักงานมีความสามารถเฉพาะทาง (Specialist Expert)
: กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มมีความสามารถในลักษณะโดดเด่นพิเศษเฉพาะด้าน มีความเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง แต่ไม่มีตำแหน่งรองรับเช่น เฉพาะทางด้านดิจิทัล IT เฉพาะทางด้านวิจัยพัฒนา เฉพาะทางด้านจัดทำโครงการ เฉพาะทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ เฉพาะทางด้านงานจัดทำสื่อ เฉพาะทางด้านงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ซึ่งในกลุ่มนี้พนักงานดังกล่าวอาจไม่ชอบการทำงานในลักษณะการบริหารจัดการหัวหน้างาน องค์กรต้องเล็งเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา เพื่อลดการลาออกหรือการซื้อตัวจากองค์กรคู่แข่งไป
วิธีการพัฒนาคนเก่ง 3 ประเภท
1) กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพสูง (High Potential) เน้นการฝึกพัฒนาทักษะ ภาวะผู้นำ (Leadership) สร้างแรงจูงใจ (Motivation) และการบริหารจัดการ (Managerial) การศึกษาดูงานด้านอื่นๆ
2) กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพปานกลางหรือรองลงมา (Competent Potential) เน้นการฝึกด้านบริหารจัดการทีมงาน (Managerial) การสื่อสารที่มีประสิทธิผล (Communication Effectiveness)
3) กลุ่มพนักงานมีความสามารถเฉพาะทาง (Specialist Expert) : กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ชอบการบริหารงานในระดับผู้บริหารจัดการ จึงควรหาช่องทางให้เขาเติบโตในเส้นทางอาชีพที่ถนัด เพราะเป็นกลุ่มมีความสามารถเป็นบุคลากรที่ควรธำรงรักษาไว้พัฒนาองค์กร เน้นการกระตุ้นเพิ่มองค์ความรู้ พัฒนาในวิชาชีพเฉพาะด้านที่เขาสนใจมีความถนัด วิธีการพัฒนาจึงมุ่งเน้นด้านการมอบหมายโครงการสำคัญและการทำงานร่วมกับแผนกอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ในการพัฒนาบุคลากรไม่ได้จำกัดวิธี รูปแบบการพัฒนาให้เหมือนกันทุกองค์กร ขึ้นอยู่กับนโยบายการพัฒนา กลยุทธ์การบริหารบุคลากร งบประมาณในการพัฒนา ดังนั้น หากองค์กรใดมองหาแนวทางพัฒนาบุคลากรอันดับแรกที่ควรทำก่อนตั้งคำถามว่า ..
ทำอย่างไรให้คนในองค์กรเก่ง ?
ทำอย่างไรให้ลดการลาออก ?
ทำอย่างไรให้ลดการซื้อตัวจากองค์กรคู่แข่ง ?
เหล่านี้ ไม่ได้แก้ไขแค่เพียงมีระบบประเมินผลปฏิบัติงานแบบ PMS หรือมี KPIs OKR เพียงพอแล้ว เพราะการทำระบบบริหารผลงานมีผลทำให้คนเกิดความรู้สึกกดดันหรือเหนื่อยล้า
องค์กรต้องจัดทำแผนพัฒนาองค์กรร่วมกับแผนพัฒนาบุคคลให้ละเอียดทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว หลังจัดทำระบบประเมินสมรรถนะ (Competency) ประเมินตามตำแหน่งงาน นักพัฒนาบุคลากรต้องนำผลประเมินมาวางแผนให้แต่ละฝ่ายหรือแผนกพัฒนาเป็นรายบุคคล (IDP) แบบ “กระตุ้นจุดแข็ง เพิ่มศักยภาพจุดอ่อน”
วิธีพัฒนารายบุคคลไม่ยากแต่ยากตรงที่ ทำอย่างไรให้ผู้บริหารสูงสุดและหัวหน้างานเห็นด้วยสนับสนุน-เข้าใจมากกว่าต่อต้านหัวชนฝา อย่างนี้ ถ้าทำแผนงานไปเท่าไรก็ไม่เกิดการพัฒนา IDP ได้จริง ส่วนใหญ่ที่ HR /HRD วางงานพัฒนาไปแล้วเกิดภาวะ “คอขวด” อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
แต่คงไม่มีอะไรยากไปกว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” …ให้กำลังใจนักพัฒนาบุคลากรทุกคน นอกจากวางแผนพัฒนาเป็นแล้วไม่เพียงพอ ต้องนำเสนอแผนงานแบบ Present Like A Pro ให้ถูกจริตผู้ฟังด้วยค่ะ ข้อนี้สำคัญ !!
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 08 มีนาคม 2566
จำนวนผู้เข้าชม 706 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan
ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ
Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling
Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?
ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET
ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน
จิตวิทยาบริการ
หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล
เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ
คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด
แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM
แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม