หน้าแรก หน้ารวมบทความ สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 1971 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

         ปัจจุบันระบบสมรรถนะมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการกำหนดให้สอดคล้องไปตามนโยบายและขอบเขตการพัฒนาองค์กร ขึ้นอยู่กับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละหน่วยงาน มีบางคำถามสงสัยว่า ทำไมสมรรถนะแต่ละหน่วยงานจึงมากน้อยไม่เท่ากันแล้วจะเอาอะไรมาประเมินว่าแผนกดังกล่าวทำงานดีหรือทำงานมากไป

          คำตอบคือก่อนอื่นนั้นนักทรัพยากรมนุษย์ต้องมาวิเคราะห์งานเสียก่อนจึงจัดทำใบพรรณางานให้เป็นรูปแบบหรือเรียกกันว่า JD (Job Description) หากองค์กรไหนไม่มีการกำหนดหน้าที่งานเป็นกิจลักษณะจะพบปัญหาความไม่เท่าเทียม ความไม่รู้หน้าที่งานสูง ตำแหน่งนั้นลาออกไปมักจะไปพร้อมกับหน้าที่งานด้วยหัวหน้างานต้องมานั่งพรรณางานให้พนักงานใหม่จดกันหน้าดำคร่ำเครียด เป็นการทำงานซ้ำซ้อนเสียเวลาในส่วนที่ควรจะพัฒนาด้านอื่นๆไป

         ดังนั้น เมื่อองค์กรต้องการพัฒนาระบบงาน หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP(Standard Operating Procedure) สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลกำหนดหน้าที่งานอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหายอีกทั้งยังช่วยเรื่องการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมดำรงตำแหน่งที่ต้องการได้ทันเวลา สำหรับเรื่องสมรรถนะในการทำงานนั้น ขอยกตัวอย่างโดยสังเขป เพื่อทำความเข้าใจสำหรับนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกท่าน

สำหรับ Competency(สมรรถนะ) นั้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?

1. สมรรถนะหลักองค์กร (Core Competency: CC) หมายถึงทักษะและคุณลักษณะที่ทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องมี เป็นพื้นฐานที่จะนำองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น การบริการที่ดี (Service Mind),ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork), จริยธรรม (Integrity) ,ความชำนาญในงานสายอาชีพ (Expertise)     ,การยืดหยุ่นปรับตัว (Flexibility) เป็นต้น

2. สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency: FC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะที่บุคลากรจำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย  การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking),ความมั่นใจของตนเอง (Self Confidence),การสื่อสารจูงใจ (Communication &Motivate),การประสานงาน (Coordination)  ,การวางแผน (Planning),การติดตามงาน (Follow up),การเจรจาต่อรอง (Negotiation),การแก้ปัญหา (Problem Solving),การให้คำปรึกษา (Consultation)  เป็นต้น

3. สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ (Management Competency: MC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะด้านการบริหารจัดการที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีหน้าที่ในระดับบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายวางไว้ ตัวอย่างเช่น  การตัดสินใจและการแก้ปัญหา(Decision Making &Problem Solving),การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management),การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management),การโค้ชสอนงาน (Coaching) เป็นต้น

4. ความรู้เฉพาะตามสายงาน (Job Competency: JC) หมายถึง ความรู้เฉพาะสายงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายวางไว้ ประกอบด้วย ความรู้ด้านงานพัฒนาฝึกอบรม (Human Resources Development Knowledge),ความรู้ด้านงานบัญชี (Accounting Knowledge),ความรู้ด้านการตลาด (Marketing Knowledge)

ความรู้เพิ่มเติม

การกำหนด Competency แต่ละหัวข้อควรมีการวิเคราะห์งานให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยทีมที่วิเคราะห์งานต้องประกอบไปด้วยผู้ดำรงตำแหน่งในงาน หัวหน้างานหรือผู้จัดการ รวมถึงฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบงานโดยตรง เพราะ Competency บางข้ออาจมีความเกี่ยวข้องและข้ามสายงานเป็นได้

คำถามน่ารู้ 

1. Core Competency ในองค์กรท่านมีกี่ข้อ อะไรบ้าง ?

................................................

2. Competency แต่ละตำแหน่งงาน(Job Competency) ควรกำหนดกี่ข้อ ?

..................................................

3. ใครควรเป็นผู้กำหนด Competency ?

..................................................

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 1971 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

ทฤษฎีตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการ

การเลือกใช้สินค้า และบริการนั้นเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เลือกใช้ อาจมาจากข้อมูลสื่อโฆษณาในช่องทางต่างๆ ประสบการณ์คำบอกเล่า ประสบการณ์ตรงที่ได้รับมาจากผู้ใช้บริการ

พฤติกรรมบริการต่อลูกค้าทั่วไป คลินิก โรงพยาบาล

การบริการไม่ใช่สินค้าที่สามารถคงรูปรส กลิ่น เสียงได้เมื่อเปลี่ยนผู้ให้บริการพฤติกรรมการส่งมอบบริการอาจเปลี่ยนไปตามลักษณะของบุคคลนั้น สิ่งที่ทำให้พฤติกรรมการบริการคงที่คงอยู่นั้นคือ การสร้าง Empathy

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ