หน้าแรก หน้ารวมบทความ แนวทางการนำผลประเมิน Competency ไปใช้

แนวทางการนำผลประเมิน Competency ไปใช้


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 546 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

         ทั้งนี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการนำผลประเมิน Competency เพื่อใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง

         1. การบริหารจัดการบุคลากร (Human Resource  Management)

          • การเลื่อนตำแหน่งงาน (Promotion) เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรทั้งด้านความสามารถ ศักยภาพ ให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้น

          • การโอนย้ายพนักงาน(Transfer) ในกรณีตำแหน่งงานว่างลง สามารถนำพนักงานที่มีความสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที

          • การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน (Job Rotation) บางตำแหน่งจำเป็นต้องมีการสับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งงาน เพื่อการทำหน้าที่อย่างเหมาะสม ถูกต้อง ไม่มีข้อผูกมัดเฉพาะบุคคล ผลประเมิน Competency สามารถเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจพิจารณาเลือกบุคลากรสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน ได้เป็นอย่างดี

          • การสรรหาบุคลากร (Recruitment) ผลการประเมิน Competency ช่วยในการประเมินคุณลักษณะ ความสามารถพนักงานตำแหน่งนั้นๆ ว่ามีความเหมาะสม เพียงพอต่อการดำรงตำแหน่งหรือไม่  เพื่อสรรหาบุคลากรที่มีความเหมาะสมต่อไป

          แม้การพิจารณาเข้าทำงานในครั้งแรกเป็นการประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น แต่เมื่อได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่จริงในหน้างาน การประเมินผล Competency ช่วยในพิจารณาด้วยข้อมูลความเหมาะสมในการทำงานจริง ว่าเหมาะสมต่อหน้าที่ดังกล่าวหรือทำหน้าที่หน่วยงานอื่นตามถนัด  

        2.การบริหารค่าตอบแทน (Compensation Management)

           ผลของการประเมิน Competency สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งงาน โดยสามารถเป็นส่วนสำคัญต่อการจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆแก่พนักงานในองค์กร เช่น การปรับขึ้นเงินเดือน เบี้ยขยันพิเศษ โบนัส ค่าประจำตำแหน่ง เป็นต้น

        3. การพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development)

            ผลการประเมิน Competency ช่วยในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรแต่ละหน่วยงาน นอกจากการสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม(Training needs) แล้ว หน่วยงานพัฒนาบุคลากรยังสามารถนำผลประเมิน Competency วางแผนจัดทำหลักสูตรหรือโปรแกรมการอบรมภายใน ภายนอก ที่เหมาะสมตามลำดับความสำคัญละบุคคล 

            เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาต่างๆ เช่น การสอนงาน (Coaching),การเพิ่มปริมาณงาน(Job Enlargement),การเพิ่มคุณค่างาน(Job Enrichment),การให้คำปรึกษา(Consulting)หรือการติดตามสังเกตผู้เชี่ยวชาญ(Job Shadowing) เป็นต้น

      4. การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าสายอาชีพ(Career Path)

            ผลการประเมิน Competency ช่วยพิจารณาการพัฒนาและการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสู่สายอาชีพหรือข้ามสายอาชีพที่เกี่ยวข้อง สู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น  พร้อมวางแผนพัฒนาเพิ่มศักยภาพการบริหารแก่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้มีความพร้อมในการดำรงตำแหน่งนี้ คือส่วนหนึ่งของการนำผลประเมิน Competency มาบริหารจัดการใช้จริงในองค์กร ทั้งยังสามารถเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์องค์กรให้มีศักยภาพ วางแผนพัฒนาคนเก่ง ธำรงรักษาคนเก่งให้อยู่คู่องค์กร หากถามว่า ทำอย่างไรให้มีคนเก่งในองค์กร  

            Competency คือตัวชี้วัด ตัวประเมินความสามารถบุคลากรได้อย่างดีทีเดียว เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน

คำถามชวนคิด

ผลประเมิน Competency นำมาพัฒนาบุคคลที่มีศักยภาพสูง(High Potential) ด้านใดบ้าง  เพราะเหตุใด?

............................................................................

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 25 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 546 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล