ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 21 ตุลาคม 2567 จำนวนผู้เข้าชม 1079 คน
21 ตุลาคม 2567ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?
หากไม่มีใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) ควรมีใบขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบ งานแต่ละบุคคลเพื่อให้ทราบรายละเอียดเบื้องต้นของการทำงานแต่ละตำแหน่งงาน วางเกณฑ์วัดผล KPI โดยตั้งค่าเป้าหมาย (Target) ผลงานด้วย 4 หัวข้อหลัก (Agenda) ดังนี้
1) กำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
เชิงคุณภาพ หมายถึง ผลงานในแบบนามธรรม (Intangible) ดี พอใช้ ถูกต้อง พึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานที่ยากจับต้องได้ นำมากำหนดเป็นเกณฑ์วัดผลรูปแบบเชิงปริมาณเพื่อให้การวัดผลเป็นที่ยอมรับแก่ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน เช่น
✎ อัตราความผิดพลาด
✎ จำนวนความถูกต้อง
✎ จำนวนความสำเร็จแต่ละแผนงาน
✎ จำนวนความถูกต้อง
✎ เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด
✎ เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จโครงการ
2) กำหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
เชิงปริมาณ หมายถึง ผลงานที่เป็นรูปธรรม (Tangible) จับต้องได้ สามารถวัดผลเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เกณฑ์ประเมินผลเป็นที่ยอมรับตามข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง เช่น
✎ จำนวนสินค้าที่ขายได้
✎ จำนวนชิ้นงานที่สมบูรณ์
✎ จำนวนลูกค้าใหม่
✎ รายได้จากลูกค้าใหม่
✎ เปอร์เซ็นต์ความเสียหายของสินค้าที่จัดส่ง
✎ จำนวนรายการคีย์ข้อมูลสินค้า
3) กำหนดตัวชี้วัดตามระยะเวลา
ตามระยะเวลา หมายถึง ผลงานที่วัดจาก วันที่ทำได้ ช่วงระยะเวลาที่กำหนด ชั่วโมง นาที เดือน ปี โดยการวัดผลในเรื่องนี้เน้นในเรื่องเวลาเป็นตัวกำหนดความสำเร็จ เช่น
✎ ทุกวันที่ 1 ของเดือน ส่งรายงานประชุมประจำเดือน
✎ ภายใน 24 ชั่วโมง มีการตอบกลับข้อมูลลูกค้าใหม่ทุกราย
✎ ก่อนวันที่ 25 ธันวาคมของปี มีการตรวจสอบสินค้าภายในคลังประจำปี
4) กำหนดตัวชี้วัดด้านต้นทุน
ต้นทุน หมายถึง ทรัพยากรภายในองค์กรทั้งหมด วัสดุ อุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายน้ำ-ไฟ เวลา บุคลากรแต่ละหน่วยงาน แผนกงาน เช่น
✎ อัตราเทียบแต่ละเดือนค่าไฟฟ้าลดลงหลังเวลาเลิกงาน
✎ เทียบเปอร์เซ็นต์ของ Color Paperless 6 เดือนที่ผ่านมา
✎ เทียบระยะเวลาในการให้บริการผู้ป่วย OPD ในปีที่ผ่านมา
✎ อัตราของเหลือใช้ไม้ MDF เทียบกับต้นทุนจริงในงาน
อย่างที่ได้เกริ่นไปในช่วงต้น ในธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการมีการประเมินผลเพื่อให้ค่าตอบแทนรายบุคคล ควรกำหนดตัวชี้วัดหลักรายบุคคลอิงจาก 4 หัวข้อด้านบนได้ง่าย มีการแบ่งสัดส่วนน้ำหนักคะแนน เปอร์เซ็นต์ให้ในหัวข้อที่ทำงานจริง
ตัวอย่าง : ตำแหน่งช่างไม้เฟอร์นิเจอร์แผนก Production เลือกกำหนดตัวชี้วัดใน 3 หัวข้อหลักๆใน 4 ข้อด้านบน ได้แก่ ✿ หัวข้อที่ 2 กำหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ✿ หัวข้อที่ 3 กำหนดตัวชี้วัดตามระยะเวลา ✿ หัวข้อที่ 4 กำหนดตัวชี้วัดด้านต้นทุน ไม่เน้นในหัวข้อที่ 1 มองว่ามีความสำคัญเช่นกันแต่รองลงมาจากข้ออื่นๆ ซึ่งในหัวข้อที่ 1 เรื่องคุณภาพนี้ เป็นตัวชี้วัดที่หัวหน้าทีมงานของเขาเป็นผู้ถูกประเมินจากผู้จัดการ เนื่องจากในใบขอบเขตหน้าที่ของหัวหน้าคือตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานทุกชิ้น ให้คำชี้แนะปรับปรุงแก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์ดูแลการประกอบ ตรวจขั้นตอนนำส่งและติดตั้งหน้างานให้ครบถ้วน |
ลองนำแนวทางเฉพาะการตั้ง Indicator ไปใช้ดูนะคะ ส่วนการกำหนดสัดส่วน น้ำหนักคะแนน การให้เกรดอยู่ที่การตกลงของทีมผู้จัดทำค่ะ ควรอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และเป็นธรรมที่ทุกคนยอมรับร่วมกันได้ ไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังการประเมิน
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 21 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม 1079 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร
กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD
ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?
Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI
คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)