หน้าแรก หน้ารวมบทความ ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 277 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ผู้เขียนขอหยิบยกตัวอย่างการกำหนดตัวชี้วัด KPI จากโครงสร้างองค์กร เพื่อเป็นแนวทางการทำ Dictionary Index 2 ตำแหน่งงาน ในระดับบริหารจัดการ คือ

  1. ผู้จัดการแผนกโปรเจค (Project Department Manager)
  2. ผู้จัดการแผนกขาย (Sales Department Manager) 

     ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้มีใบ JD (Job Description) หน้าที่งานหลักโดยทั่วไป คือ

  1. วางแผนการใช้งบประมาณของแผนกให้อยู่ในเกณฑ์แต่ละปีตามตัวเลขที่บัญชีกำหนดร่วมกับฝ่ายบริหาร
  2. ควบคุมทุกขั้นตอน ทุกกระบวนการทำงานในแผนก ให้เป็นไปตามนโยบายการบริหารงานของบริษัท
  3. ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความรวดเร็วทุกกระบวนการทำงาน ไม่เกิดข้อผิดพลาด
  4. ให้คำปรึกษาและติดตามผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงานตามระบบงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

     ตัวอย่าง KPI (อย่างง่าย) ทั้ง 2 ตำแหน่ง

แผนก

ตำแหน่ง

ตัวชี้วัด KPI ตามหลัก BSC

สูตรที่ใช้

Baseline

ProjectDepartment Manager1.%การควบคุมงบประมาณในฝ่ายเป็นไปตามแผน

งบที่ทำได้จริง X 100

งบทั้งหมด

บัญชี
  2. % การส่งมอบงานทันเวลาตามใบสัญญา

ทุกโปรเจคที่ทำได้ X 100

โปรเจคงานทั้งหมด

Program

Project

3. ระดับความสำเร็จการติดตามทุกโปรเจค

ระดับความสำเร็จที่ทำได้จริง

(แบ่ง 5 ระดับ)

Master P.

 - Project

4. %ข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานทั้งหมดในฝ่าย

 (มีผลต่อการซื้อเพิ่ม ทั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ การเพิ่มวันทำงาน)

จน.โปรเจคที่ผิดพลาด X 100

จำนวนโปรเจคงานทั้งหมด

 

จัดซื้อ & บุคคล
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Sales Department Manager5.%การควบคุมงบประมาณในฝ่ายเป็นไปตามแผน

งบที่ทำได้จริง  X 100

งบทั้งหมด

บัญชี
  6.%รายได้รวมฝ่ายเทียบปีที่ผ่านมา

รายได้รวมจริงในปีนี้   X100

รายได้รวมปีที่แล้ว

บัญชีรายได้

7.%ความสำเร็จติดตามการวางมัดจำลูกค้าทุกราย

ทันตามกำหนด

จน.ลูกค้าติดตามได้จริง   X100  

จน.ลูกค้ารับใบข้อเสนอทั้งหมด

บัญชีรายได้
8.  %การ visit ลูกค้ากลุ่ม Key Business

จน.Visit จริง   X100

จน.ลูกค้ากลุ่ม Key Business

Master P. 

- Sales

     ซึ่งจากตัวอย่าง 2 ตำแหน่งงานด้านบนนี้  ในผังโครงสร้างองค์กร(Organization Chart) ระดับผู้จัดการแผนกอยู่ในระดับสูงสุดรองลงมาจาก CEO  

     โดยแบ่งระดับตามตำแหน่งงาน (Level) ทั้งหมดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม

ตำแหน่ง

ระดับ

ระดับบริหารสูงสุดCEOSupreme
ระดับบริหารจัดการManager -  Executive ManagerM1-M3
ระดับหัวหน้างานSenior - SupervisorS5-S7
ระดับปฏิบัติงานStaffS1-S4
ระดับบริการทั่วไปTrainee – Practice L1-L2

แบ่งเป็น 5 กลุ่มการปฏิบัติงาน

     จากข้อมูลตารางระดับ(Level) ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ อยู่ในระดับบริหารจัดการ โดยมีหน้าที่สูงสุดในแผนก รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยในแผนกทั้งผู้ใต้บังคับบัญชาและความรับผิดชอบในแผนกทั้งหมด ดังนั้น เมื่อมีการวัดประเมินผลในแง่ของงบประมาณใช้จ่ายในแผนก ความถูกต้อง ความผิดพลาดทั้งหมดของลูกน้อง ถือเป็นตัวชี้วัดที่ผู้จัดการนำมาเป็นตัวชี้วัดตนเองในการบริหารจัดการบุคลากรภายในแผนกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้กำหนด KPIให้กลุ่มระดับบริหารจัดการต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่ากลุ่มนี้นั้นเอง ไม่ใช่กำหนดกันเองตามความพึงพอใจ 

     ดังนั้น การวัดผลการบริหารจัดการของระดับบริหารวัดแบบ BSC มองทั้ง 4 มิติคือ 

  1. วัดมุมมองทางการเงิน (Financial Perspective) 
  2. วัดมุมมองการบริหารจัดการกระบวนการทำงาน (Internal Process Perspective)
  3. วัดมุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)
  4. วัดมุมมองด้านพัฒนาบุคลากร (Learning & Growth Perspective)

     ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้บริหารแต่ละแผนกในหน้าที่งานที่แตกต่างกันไป

     ส่วนระดับพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีตัวชี้วัด KPIs ตามใบกำหนดหน้าที่งานของตนเองหรือมีตัวชี้วัดร่วม (CPI) ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันในแผนกอื่นๆ บางที่เรียก Joint KPI

     ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก KPI (Key Performance Indicators) เป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ (Outcome)จากการปฏิบัติงานของหน่วยงาน แผนกงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบรายบุคคล โดยผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลสถิติอย่างเป็นรูปธรรม(Intangible)และเชื่อถือได้  หากพิจารณานำผลสรุปที่เกิดขึ้นปลายปีมาจัดแบ่งระดับความสามารถตามผลงาน (Productivity) และนำช่องว่างความสามารถ(GAP) ที่แตกต่างต่อยอดคนเก่ง พัฒนาคุณลักษณะคนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์

     ระบบประเมินผลKPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ (Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ มอบหมายผู้รับผิดชอบหลักที่ชัดเจน หัวหน้าทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน สำคัญที่สุดคือหัวหน้าทุกคนในองค์กรมองเห็นจุดหมายในทิศทางเดียวกันกับ CEO

     จากการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา(Consultant)ด้านระบบการประเมินผลในองค์กรที่ผ่านมา เห็นหลายมิติในแต่ละองค์กรที่จัดจ้างเฉพาะให้ที่ปรึกษาช่วยอบรมและจัดเตรียมเฉพาะข้อมูล KPI (Prepare-KPI)  เพื่อให้บุคลากรในองค์กรนำไปวางแผนดำเนินการ (Action Plan) ต่อเนื่องเอง การจัดทำระยะอื่นๆด้วยตนเอง ซึ่งมีข้อดีตรงที่ช่วยประหยัดงบประมาณในการว่าจ้างที่ปรึกษาในขั้น Action Plan & Monitoring ตลอดปี แต่หลายองค์กรพบว่าเมื่อที่ปรึกษาจัดเตรียมข้อมูลให้ดำเนินการต่อเอง กลับเกิดปัญหาภาวะคอขวด กระจุกข้อมูลทุกสิ่งอยู่ที่ผู้รับผิดชอบ ไม่มีการกระจายงาน การมอบหมายงานต่อ อันด้วยสาเหตุหลายประเด็น เช่น

  • ผู้รับผิดชอบประสานงานต่อไม่ถูก ไม่กล้าถาม
  • ผู้รับผิดชอบมีความอาวุโสน้อย ไม่กล้าโต้แย้งแผนกอื่น
  • เกิดข้อขัดแย้งจากบางกลุ่มหัวหน้างานที่ไม่ต้องการถูกวัดผลงาน
  • ประสบการณ์ด้านองค์ความรู้ในงานของทุกตำแหน่งงานมีน้อย

เป็นต้น…

     การจัดทำ KPIในองค์กรไม่ใช่เรื่องยาก แต่ยากยิ่งกว่าคือผู้รับผิดชอบขับเคลื่อนKPIในองค์กรให้เกิดการใช้จริงเพื่อการพัฒนาต่อยอด ในการมอบหมายผู้รับผิดชอบดูแลจัดทำ KPI ผู้บริหารจำเป็นต้องเลือกบุคคลภายในที่มีความอาวุโสทางความรู้ เข้าใจหน้าที่งานจริงทุกตำแหน่ง ขยันเรียนรู้ ยืดหยุ่น แก้ปัญหาเป็น และมีภาวะผู้นำที่ดีเลิศเข้ามาทำหน้าที่นี้

     ระบบประเมินผลจะสำเร็จเป็นไปตามเป้าประสงค์แน่นอนค่ะ  … 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 พฤษภาคม 2567

จำนวนผู้เข้าชม 277 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผลKPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ มอบหมายผู้รับผิดชอบ

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล

แนวทางขับเคลื่อน AIDET สู่ภาคปฏิบัติ

ทำอย่างไรให้กระบวนการสื่อสารแบบ AIDET ในโรงพยาบาล ขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติมากกว่าการท่องจำไปใช้ ซึ่งแนวทางการศึกษาของสถานพยาบาลและวิทยาลัยทางการแพทย์ในต่างประเทศ ได้นำกระบวนการ AIDET