หน้าแรก หน้ารวมบทความ แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 951 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น(Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม(Training Wants) ข้อนี้สำคัญที่นักพัฒนาบุคลากรในองค์กรพึงทราบ โดยส่วนมากที่ผู้เขียนพบคือแบบสอบถามเน้นการสร้างคำถามเชิงสอบถามความต้องการ ความชื่นชอบ ความสนใจมากกว่าการค้นหาทักษะความสามารถภายในที่แท้จริง

     แบบสอบถามควรกลั่นกรองมาจากข้อมูลเดิม 50 %(หมายถึงข้อมูลการประเมินผลปลายปีที่ผ่านมาแต่ละบุคคล) อีกครึ่งที่เหลือคือสิ่งที่ผู้สอบถามต้องการรับทราบจากผู้ตอบแบบสอบถาม ในการนำผลข้อมูลที่ตอบแบบสอบถามนั้นมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรต่อไป

     นักพัฒนาบุคลากรจึงต้องเข้าใจการออกแบบสอบถาม ทำอย่างไรจะได้มาซึ่งคำตอบที่เป็นผลดีต่อการพัฒนาในตำแหน่งงาน อยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ ข้อนี้สำคัญ!!!

     แบบสอบถาม Training Needs จึงไม่ใช่แค่คำถามปลายเปิดหรือปลายปิดเสมอไป ทุกคำถามนั้น ควรมีที่มาจากการประเมินผลปลายปี,GAP Competency,Target,Policy

     แบบสอบถามไม่จำเป็นต้องจำนวนข้อมากมาย การออกแบบแบบสอบถามควรวัตถุประสงค์ที่ต้องการถามแต่ละข้อก่อนอันดับแรก  เลือกกลุ่มประชากร(พนักงาน)ที่สอบถาม และนำผลลัพธ์ทุกคำตอบไปใช้ได้ทุกข้อ ทั้งกลุ่มอายุ การศึกษา ความรู้ ประสบการณ์ เป็นต้น

     เมื่อได้ผลคำตอบจากการสอบถาม Training Needs นำผลมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำลงรายละเอียดในแผน TRM(Training Roadmap) ประจำปีตามแต่ละระดับ(Level)

Guideline &AGENDA การออกแบบสอบถาม 

     บริษัท Ant มีพนักงาน 500 คน มีระดับตำแหน่งงานแบ่งเป็น 15 ระดับ (Level)

  • ตำแหน่งระดับ 1 พนักงานบริการ - ระดับ 15 คือรองประธานบริษัทฯ
  • พนักงานอายุงานน้อยสุดคือ 1 เดือน อายุงานมากสุดคือ 25 ปี
  • แบบสอบถามควรตั้ง AGENDA ในการสอบถาม ดังนี้

     1) เลือกสอบถามกลุ่มประชากรไปที่ 15 กลุ่มเป้าหมายตาม Level โดยอ้างอิงจากผลประเมินล่าสุดด้าน Competency (หากไม่เคยประเมินมาก่อน ให้อิงข้อมูลจากผังโครงสร้างองค์กรล่าสุดเป็นเกณฑ์สอบถาม) บางกรณี ไม่จำเป็นต้องสอบถาม 100% ทุกคนหากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากมีความแตกต่างกันหลายระดับ ให้ใช้ข้อมูล 100% จากแบบสรุปประเมินผลปลายปีมาเป็นต้นทาง อีก 70% เลือกสอบถามตาม 15 กลุ่มเป้าหมายที่มีจุดแข็งเพื่อเลื่อนขั้นโปรโมทสู่ตำแหน่งระดับบริหารจัดการและจุดอ่อนมากในการพัฒนาทักษะ ข้อนี้สามารถทำได้หาก เพื่อลดระยะเวลาการดำเนินการส่วนนี้

     2) แต่ละกลุ่มใน 15 Level มี Guideline ในการสร้างแบบสอบถามที่แตกต่างกันตามระดับ Competency ทั้ง ความรู้ ทักษะในการบริหาร ทักษะในการทำงาน ความสามารถที่ต้องเพิ่มเติมและการพัฒนาต่อยอด นั่นหมายถึงว่า แบบสอบถามนั้นไม่ใช่แบบฟอร์มเดียวใช้สอบถามได้ทั้งองค์กร เนื่องจากแต่ละบุคคลมีความรู้ความสามารถที่ไม่เท่ากันตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 15 เป็นไปได้ว่าในระดับ 1 เน้นการอบรมด้านการบริการมากกว่าความรู้ทักษะ ส่วนในระดับปฏิบัติตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไปเน้นการอบรมความรู้ทักษะ ส่วนในระดับที่สูงขึ้นสู่ระดับจัดการเน้นการสอดแทรกเครื่องมือการพัฒนาด้านบริหารจัดการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจมากกว่าความรู้ในงาน

     ความต้องการหรือความจำเป็นในการฝึกอบรมจึงมีความแตกต่างกันในแต่ละตำแหน่ง ยิ่งระดับสูงขึ้นความต้องการฝึกอบรมน้อยลงแต่ความจำเป็นในการพัฒนาด้านทักษะการบริหารมากขึ้นตามลำดับ

     3) หลักสูตรหรือหัวข้อที่นำมาให้ผู้รับการสอบถามเลือกควรตั้งแบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิด โดยในบางคำถามทั้งคำถามปลายเปิดปลายปิดด้านการพัฒนาเน้นสร้างคำถาม 5 ขั้นแบบพุทธิพิสัย ให้นำผลข้อมูลที่ได้รับจากการประเมิน Competency ช่วยปลายปีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนมาต่อยอดสอบถาม ข้อนี้พิจารณาร่วมกับงบประมาณแต่ละองค์กรในการจัดอบรมด้วย หากมีการจำกัดงบประมาณ แบบสอบถามนั้นแนะนำให้สร้างแบบปลายปิด(บังคับเลือก) สามารถควบคุมงบประมาณได้ในกรอบที่วางไว้

     4) การสอบถามสามารถทำได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้จัดทำ กรณีนี้ สำหรับผู้เขียนแนะนำให้ทำแบบออนไลน์ดีกว่าเนื่องจากช่วยลดระยะเวลาการรวบรวม การสรุปข้อมูลรวดเร็ว ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายการส่งเอกสารการจัดเก็บสะดวก

     5) นำผลสรุปแต่ละกลุ่มทั้ง 15 ระดับ มาจัดเรียงหัวข้อ ปัญหา งบประมาณเพื่อเสนอต่อผู้บริหาร ตามแผน TRM รายปี

     6) หลังผู้บริหารเห็นชอบอนุมัติ ให้ผู้จัดทำวางแผนสรรหา เครื่องมือฝึกอบรม(Development Tools) หลักสูตร วิทยากรอบรม สถานที่จัดส่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือดูงาน  พร้อมสรุปแต่ละระดับส่งแต่ละฝ่ายแผนกเพื่อรับทราบกำหนดแผนการพัฒนารายปีเพื่อวางแผนการทำงาน การลาหยุดต่อไป

     สำหรับนักพัฒนาบุคลากรท่านใด ยังหาจุดเริ่มการวางแผน TRM ไม่ได้ แนะนำให้เริ่มต้นจากอันดับแรกไปที่ 3 ข้อสำคัญคือ 1) แผนผังโครงสร้างองค์กรก่อนค่ะ อัพเดตให้เป็นปัจจุบันก่อนจากนั้นกลับมาพิจารณา 2) ใบกำหนดหน้าที่งาน(JD) แต่ละตำแหน่งงานเป็นไปตามข้อมูลการดำรงตำแหน่งจริงหรือไม่ ค่อยๆขยับมาดู 3) แต่ละระดับ(Level) มีการวางระดับตำแหน่งให้เข้าที่เข้าทางหรือไม่ ควรวางระดับไปสูงสุดที่เท่าใดตามลักษณะองค์กร จำนวนบุคลากร การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง อายุงานแต่ละบุคคล ฐานอายุการเกษียณ

     พร้อมนำเสนอผู้บริหารในการจัดระดับตามความรู้ ทักษะ ความสามารถและประสบการณ์ทำงาน ต่อมาเริ่มวางแผนจัดทำ TRM ได้ไม่ยาก สามารถวางแผนระยะสั้น ระยะยาวได้ตามแต่สะดวกใช้ สำคัญที่สุดคือ ต้นทางทั้ง 3 ข้อนั้นต้องถูกต้องก่อน การทำ TRM ทำได้ไม่ยากแน่นอน

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 12 มีนาคม 2567

จำนวนผู้เข้าชม 951 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล