หน้าแรก หน้ารวมบทความ Training Road Map ให้มีประสิทธิภาพ

Training Road Map ให้มีประสิทธิภาพ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 3754 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          ในปีที่ผ่านมาเมื่อได้ทราบบทเรียนทางธุรกิจ ปัจจัยเอื้อหนุน ปัจจัยท้าทาย นั้น ต้องนำมาเป็นตัวบทในอย่างไหลลื่นไม่มีสะดุด หนึ่งในนั้นคือการวางนโยบายกำหนดทิศทางบริหารคน หรือ ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปีที่ผ่านมาผู้บริหารหลักของแต่ละองค์กรทราบดีว่าบุคลากรทั้งหมดมีทักษะเด่น ทักษะด้อย ด้านใดบ้าง ใครควรได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมความรู้ พัฒนาทักษะการบริหาร การจัดการด้านใดบ้าง ซึ่งก่อนอื่นในการวางแผนพัฒนา ให้รวบรวมข้อมูลแยกเป็นจุดเด่น จุดด้อย เพื่อเลือกมาพัฒนา พร้อมทั้งดูเรื่องความเหมาะสมในงบประมาณที่ได้รับในปีนี้ด้วยผู้บริหารควรมีการวางแผนร่วมกับนักพัฒนาบุคลากร เพื่อกำหนดทิศทางร่วมกัน พร้อมทราบจุดหักเหที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา การกำหนดหลักสูตรฝึกอบรมนั้น นอกจากการได้รับข้อมูลจาก Training Needs Surveyควรกำหนดร่วมกับข้อมูล Consumer Survey,Competency & KPIs,Succession Planning,Risks Management เป็นต้น

Training Road Map ให้มีประสิทธิภาพ

          เมื่อได้ดาวเด่น ดาวด้อย แยกประเภทบุคลากรตามลักษณะงาน ตำแหน่งงาน แล้ว นักพัฒนาบุคลากรต้องทำแผนแม่บท(Master Plan) ของบริษัท แยกตามกลุ่มบริหารจัดการ แบ่งย่อยข้อมูลการพัฒนาแต่ละด้านอย่างชัดเจน เช่น ทักษะหลักหรือทักษะด้านเทคนิกงาน ทักษะพัฒนาทั่วไป ทักษะภาษา โดยการจัด Training ระยะเวลาการอบรมนั้นควรเริ่มตั้งแต่วันแรกของการทำงาน ส่วนพนักงานเดิมนั้น นักพัฒนาบุคลากรต้องทราบว่าแต่ละคนอยู่ตำแหน่งงานมาแล้วกี่ปี่ มีข้อมูลการพัฒนาทักษะแต่ละบุคคล แบ่งเป็นปี เป็นตำแหน่งงานบริษัทใหญ่ๆมักซื้อโปรแกรมการเก็บข้อมูลการอบรมมาใช้งาน แต่ละโปรแกรมนั้นต้องบอกว่าราคา ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานมากน้อยแค่ไหน หลักหมื่น หลักแสน รวมถึงหลายล้านบาททีเดียว แต่จะใช้โปรแกรมดังกล่าวให้สำเร็จตามเป้าหมายนั้น ต้องบริหารจัดการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจนเสียก่อน มิฉะนั้นรายจ่ายที่เสียกับการซื้อโปรแกรมก็เป็นศูนย์

         การวางแผนโรดแม๊ป(Training Road Map) จึงเสมือนวางเส้นทางให้พนักงานเดินไปตามระบบงานให้ถึงจุดหมายของงาน ต้องมีการตระเตรียม ประชุมวางแผนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกแผนก เช่น ผู้จัดการแผนกหัวหน้างาน เพื่อให้ทราบว่างานแต่ละตำแหน่ง นักพัฒนาบุคลากรกำหนดได้เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นๆ การกำหนดการหลักสูตรอบรมพัฒนาไม่ควรขึ้นอยู่กับฝ่ายทรัพยากรบุคคลสั่งการหรือนั่งเทียนเพียงฝ่ายเดียวเพราะเห็นจากประสบการณ์หลายบริษัทที่ผ่านมา ทำให้ไม่ทราบข้อมูลความจำเป็นโดยแท้จริงแต่ละบุคคลทำให้เสียเวลาไปหนึ่งปีกับการพัฒนาไร้ทิศทาง

        หากองค์ไหนยังไม่มีจุดเริ่มการพัฒนาคน เพราะปัญหาหลายอย่างอิรุงตุงนังเต็มไปหมด ผู้เขียนแนะนำว่า ให้เริ่มจากการแบ่งเกรดหรือระดับพนักงานที่เป็นอยู่ ลองพัฒนาเป็นขั้นตอนอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วในขั้นต้น ทุกปัญหาจากที่มองไม่เห็นทาง จะคลำหาทางออกเจอ และหากยังด้อยประสบการณ์อาจหาตัวช่วยเป็น ที่ปรึกษาภายนอกมาร่วมวางแผน กำหนดแนวทางชี้แนะ จะทำให้งานวางแผนการพัฒนาง่าย รวดเร็วขึ้นที่สำคัญเหนืออื่นใดคือนโยบายการพัฒนาของแต่ละองค์กรควรมีลายลักษณ์อักษรหรือคำชี้แจงชัดเจนจากผู้บริหารให้พนักงานทุกคนรับทราบแบบไม่มีข้อกังขา มิฉะนั้น ท่านจะพบว่า “คลื่นใต้น้ำ” มาเป็นระลอก ลูกเล็กลูกใหญ่ ประจำ…แล้วพบกันสัปดาห์หน้า เรื่อง ตัวอย่าง Road Map ตามตำแหน่งงาน นะคะ

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 26 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 3754 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance

การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ

ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI

ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม

ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว

ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus

ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร