หน้าแรก หน้ารวมบทความ เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 396 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูดการเขียนเป็นส่วนสำคัญ

     ไม่เว้นแม้แต่… งานภาครัฐให้บริการด้านการติดต่อเอกสารทางราชการ งานโรงพยาบาลให้การดูแลรักษาคนไข้ ดูแลสนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วยญาติ คลินิกให้บริการดูแลความสวยความงามลดน้ำหนัก งานธนาคารบริการทางการเงินดูแลด้านธุรกรรมทางการเงิน  งานบริการให้ความสะดวกด้านโรงแรมที่พัก ทุกงานที่มีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการล้วนแล้วแต่ต้องมีทักษะการพูดด้วยภาวะผู้นำ ต้องอ่อนน้อมได้นิ่งเป็น ไม่ใช่การพูดเพื่อสั่งการเสมอไปทุกสถานการณ์   การพูดไม่ดี พูดไม่ถูกต้องส่งผลถึงการขาดความเชื่อมั่นในการไปรับบริการ ถูกต่อว่าลงระบบออนไลน์ มีการบอกต่อ เล่าถึงปากต่อปาก(Word of Mouth) อาจมีผลกระทบลุกลามถึงรายได้ที่ลดลงขององค์กรนั้นๆ อย่างมากมาย

     สำหรับผู้ทำงานทุกอาชีพทุกตำแหน่งงาน ที่ต้องมีการประสานงาน พูดคุย โต้แย้ง แก้ไข เจรจาต่อรอง พบปะผู้คนมากหน้า  เทคนิคการพูดเพิ่มพลัง ภาวะผู้นำ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในตำแหน่งงานด้านใด พลังแห่งคำพูดคือพลังแห่งการสื่อสารที่ยิ่งใหญ่สร้างความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าการสื่อสารด้วยท่าทาง การนำเสนอด้วยสื่อทัศนวัสดุต่างๆ คำพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ควรเรียนรู้ตลอดชีวิต

     เทคนิคการพูดที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพความเป็นผู้นำในตัวคุณ สามารถนำหลักการนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4 เทคนิค ดังนี้ 

     1. เทคนิคพูดสั้นเจาะจง 

  • เหมาะสำหรับการสนทนาพูดคุยในเรื่องที่เป็นทางการบุคคลที่ไม่สนิทกันเป็นทางการ หัวหน้าลูกน้อง  ลูกค้า ผู้รับบริการ หรือต้องการอธิบายงาน อธิบายโครงการ เสนอสินค้าบริการ หัวหน้าพูดคุยกับลูกน้อง สัมภาษณ์งาน เป็นต้น  ผู้พูดมีบุคลิกภาพภาวะผู้นำทำให้คู่สนทนามีความเกรงใจ ยำเกรง
  • หลักการคือ ใช้คำกระชับ ประโยคตรงประเด็น ให้ลดถ้อยคำ ประโยคที่เยิ่นเย้อ อ้อมค้อมไม่ตรงประเด็น ประโยคแรกเกริ่นนำให้มุ่งเป้าหมายการพูดในสิ่งที่ต้องการพูดทันที ปิดประโยคด้วยคำถามปลายเปิดหรือปลายปิดได้ทั้งสองแบบ ไม่ควรพูดถ่อมตัวพร่ำเพรื่อแต่แฝงคำพูดที่ยืนยันชัดเจนจริงใจ คงไว้ด้วยน้ำเสียงหนักแน่นมั่นคงเคารพคู่สนทนา

     2. เทคนิคบอกเล่า

  • เหมาะสำหรับสถานการณ์ที่ต้องการโน้มน้าวให้คู่สนทนาเห็นด้วยตามที่ผู้พูดคาดหวัง แต่ใช้เทคนิคโน้มน้าวผู้ฟังให้ช่วยตัดสินใจในจุดหมายปลายทางที่ผู้พูดตั้งใจไว้ เช่นแผนกการเงินและแผนกห้องยาของโรงพยาบาล 

     เจ้าหน้าที่ A ห้องยา : ช่วงเที่ยงคุณมีนา ไปทานอาหารกลางวันก่อนดีไหมคะ  แล้วทานเสร็จประมาณช่วงบ่ายโมงนำบัตรคิวมาแจ้งเจ้าหน้าที่รับยาที่จุดนี้ได้เลยค่ะ

     คุณมีนา (รอรับยา) : ถ้ารอรับตอนนี้อีกนานไหมคะ ?

     เจ้าหน้าที่ A ห้องยา : รอเคลียร์ค่าใช้จ่ายห้องการเงินและรอจัดยาสักพักใหญ่นานอยู่ค่ะไปทานข้าวก่อนดีกว่าค่ะ แล้วกลับมาจุดนี้ช่วยบ่ายโมงตรงจะดีกว่า วันพุธผู้ป่วยค่อนข้างมาก เป็นคลินิกผู้ป่วยเบาหวานค่ะ 

     คุณมีนา (รอรับยา) : ได้ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

     ซึ่งจากประโยคพูดคุยคือจริงๆต้องการให้คุณมีนาเห็นด้วยในการไปทานข้าวไม่รอคอยนาน ไม่กดดันเจ้าหน้าที่ ลดการระยะการรอคอยตามหลักWaiting Time ลดการร้องเรียน(Complaints) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้พักกลางวัน และเคลียร์จำนวนงานที่อยู่ตรงหน้าให้หมดก่อน เพื่อรอคิวบ่ายต่อ

  • หลักการคือเป็นการเสนอประโยคด้วยถ้อยคำ น้ำเสียงสูงระดับพูดคุยทั่วไป(ระดับสูง 1) โน้มน้าวจูงใจแบบไม่กดดันแต่เป็นการพูดคุย บอกเล่า ด้วยความห่วงใย ทำให้คู่สนทนารู้สึกถึงความเอาใจใส่ เปิดรับการสนทนา

     3. เทคนิคพูดคลุมเครือ

  • เหมาะสำหรับ สถานการณ์ที่คู่สนทนาเป็นเพื่อน คนรู้จักต้องการลดสถานการณ์ความตึงเครียด คนสนิทเป็นคนเรื่องเยอะ เรื่องมาก หรือต้องการให้เป็นอย่างที่เขาคิดโดยคุณมิได้เห็นด้วยทุกเรื่องแต่ไม่อยากพูดให้คู่สนทนาเสียความรู้สึก  รวมถึงอาจทำให้ความสัมพันธ์อันดีอาจยุติลงไปได้หากคุณไปขวางเขาดื้อๆ
  • หลักการคือ เมื่อคู่สนทนาแนะนำหรือตื๊อให้คุณทำอย่างที่เขาต้องการ คุณควรเห็นด้วยในความคิดเห็นเขาก่อน ซึ่งเขาไม่อาจรู้ได้ว่าคุณจะทำตามหรือไม่

     4. เทคนิคคำพูดซ้ำ

  • เหมาะสำหรับในสถานการณ์ที่ต้องการเน้นย้ำเพื่อให้จดจำ ทั้งการพูดแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อต้องการยืนยัน เน้นย้ำให้ผู้ฟัง เกิดความรู้สึกคล้อยตามอย่างไม่มีข้อกังขา 
  • หลักการคือ ผู้พูดใช้คำพูดหรือประโยคที่แตกต่างกันแต่ความหมายของคำเหมือนกัน ช่วยส่งเสริมให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกเน้นให้ความสำคัญ จดจำ ไม่เกิดการพูดซ้ำๆในเฉพาะคำเดิม

 

ตัวอย่างในสถานการณ์ห้องประชุม

     หัวหน้า : เดิมทางบริษัทไม่ให้ความสำคัญเมินกับระบบการประเมินผลการทำงาน แต่ต้นปีหน้าบริษัท มีนโยบายการปรับเปลี่ยนแนวทางประเมินเน้นประเมินรายบุคคล ผลงานรวมแผนกมากขึ้น อยากให้ทุกคนไม่เมินเฉยในการเร่งทำผลงานให้ดีเพราะมีผลต่อการประเมินผลงาน โบนัสปลายปี การเลื่อนขั้นในอนาคตอย่างแน่นอน 

     เทคนิคการพูดช่วยเสริมเสน่ห์เพิ่มพลังแก่ผู้พูดมากขึ้น โดยเฉพาะงานที่ต้องพบปะ ประสานงาน พบเจอคนหมู่มาก คำพูดนี่เป็นเรื่องสำคัญต้องเรียนรู้รูปแบบการใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม เทคนิคการพูดเพิ่มพลังศรัทธาเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจ ชอบใจ แต่หากพูดผิดพลาดไปอาจทำให้คนฟังเข้าใจผิดได้ ดังบทกลอนสุนทรภู่ ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

 “อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก

แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย

แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย

เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ"

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 26 มีนาคม 2567

จำนวนผู้เข้าชม 396 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

บุคลิกภาพท่ายืนเดินนั่งที่สง่างาม

“อิริยาบถท่าทางที่สง่างามช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ชวนมอง ไม่ว่าท่านทำงานในตำแหน่งใด ควรได้เรียนรู้พื้นฐาน 3 เรื่องนี้ไว้ทั้งการยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นบุคลิกพื้นฐานที่ฝึกฝนให้ดูดีได้ไม่ยาก ”

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม