ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 03 มีนาคม 2568 จำนวนผู้เข้าชม 472 คน
03 มีนาคม 2568ยุค MK6.0 การจัดอบรมสำหรับบุคลากรสายงานสุขภาพทุกตำแหน่งในงานด้านHealthcare เปลี่ยนไปในรูปแบบเน้นการสื่อสาร (Communication) กับผู้รับบริการให้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงทั้งด้านการสัมผัสด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ (Touching & Feeling) ผู้ให้บริการหรือบุคลากรทางด้านการแพทย์ บุคลากรด้านสนับสนุนงาน Non Clinic จำเป็นต้องเร่งเรียนรู้แบบ Pro active “ตื่นรู้เพื่อเตรียมรับ” มากกว่ารอผู้รับบริการมาร้องขอหรือร้องเรียน (Complaints)
หลักสูตรพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ (Excellent Service Behavior) เป็นหนึ่งในหัวข้อการจัดอบรมสำหรับบุคลากรด้านธุรกิจสุขภาพ ดูแล รักษาการพยาบาล Healthcare คลินิก ศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาล ที่นิยมอบรมซ้ำๆ บ่อยครั้ง ในหลายปีที่ผ่านมา
หลังจากจบกิจกรรมการอบรม หากไม่มีการติดตามประเมินผล (Monitoring & Evaluation) จากทีมพัฒนาคุณภาพบริการอย่างจริงจังแบบ PDCA (Plan Do Check Act)
บุคลากรผู้เข้ารับการอบรมมีการปรับเปลี่ยนลักษณะพฤติกรรม (Behavior) การปฏิบัติงานบ้าง ซึ่งส่วนมากขึ้นอยู่กับการเลือกนำมาใช้ของแต่ละบุคคลด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับทัศนคติ (Attitude) และความตระหนักรู้ (Awareness)
เดิมท่านด้านการจัดอบรม (Training) อาจเข้าใจว่าการอบรมด้านการสื่อสารคือการพูดอย่างเดียว ไม่มีการบริการเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งการบริการ (Service) ไม่สามารถแยกออกจากการสื่อสารได้เนื่องจากการสื่อสาร (Communication) ในที่นี้ หมายถึง การสื่อสารทั้งในแบบวัจนภาษา (ประโยค การพูด ภาษาเขียน น้ำเสียง) อวัจนภาษา (ภาษากาย ท่าทาง การแสดงออก กิริยาอาการต่างๆ) ทำให้มีการสื่อสาร ส่งสารไปยังผู้รับบริการได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน AIDET Plus ไม่เน้นการปรับพฤติกรรมเน้นการวางกรอบการกระทำ (Manner)
อีกหนึ่งตัวเลือกในการเลือกจัดอบรมที่มากกว่าการปรับด้านพฤติกรรมบริการคือการมุ่งเน้นการวางมาตรฐานการบริการ (Service Standard) นั่นคือเมื่อจัดวางมาตรฐานสำหรับการบริการในแต่ละส่วนงาน เช่น มาตรฐานท่าทางพฤติกรรมแรกรับ มาตรฐานการทักทาย มาตรฐานการต้อนรับ มาตรฐานการเชิญตรวจ มาตรฐานการอธิบายรายการหัตถการ มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย มาตรฐานการปิดจบบริการ …
หลังจากนั้น จัดอบรมควบคู่ไปกับหลักสูตรการสื่อสารรูปแบบ AIDET Plus Communications โดยเน้นการจัดลำดับการสื่อสารแต่ละแผนกงาน การใช้ประโยค (Sentence) คำพูด (Keywords) การแก้ปัญหา (Problem solving) พร้อมเพิ่มเรื่องการเอาใจใส่ในแบบเหนือความคาดหมาย (Plus PEH)
โอกาสของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริการแนววางกรอบการสื่อสารจึงมีโอกาสการปรับเปลี่ยนในทิศทางที่ดีขึ้นมากกว่าการจัดอบรมเฉพาะให้ความรู้ด้านพฤติกรรมบริการจบไปเพียงเรื่องเดียว การวางกรอบการสื่อสารแบบ AIDET Plus ถือเป็นการวางมาตรฐานการสื่อสารในแบบที่องค์กร คลินิก โรงพยาบาล ฯลฯ ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อสร้างให้บุคลากรทางการแพทย์หรือบุคลากรด้านสนับสนุนบริการสุขภาพ(งานบัญชี ช่าง โภชนาการ งานบุคคล …)มีแนวทางในการบริการแบบเชิงรุก (Proactive Service)
AIDET Communications หมายถึง รูปแบบการสื่อสารสำหรับการปฏิบัติงาน (Practice) ด้าน Healthcare ซึ่ง A -I -D- E- T มีการจัดลำดับการสื่อสาร (ทั้งวัจนภาษา & อวัจนภาษา)
ประโยชน์ของการทำมาตรฐานการสื่อสารแบบ AIDET Plus-Communication
A cknowledge : การรับรู้แรกรับ/การต้อนรับ
ทั้งวัจนภาษา (Sentence & Key word) & อวัจนภาษา (Manner)
Ex. Greeting Position,Eye contact,Smiley,External Personality
I ntroduce : การแนะนำ
ทั้งวัจนภาษา (Sentence & Keyword) & อวัจนภาษา (Manner)
Ex. แนะนำชื่อ ตำแหน่ง หัตถการ สถานที่ แจ้งราคา ฯลฯ
D uration : ระยะเวลา ช่วงเวลา
ทั้งวัจนภาษา (Sentence & Keyword) & อวัจนภาษา (Manner)
Ex. ระยะเวลารอคิว,ลำดับคิว, Waiting Time รอหัตถการหรือรับทราบผลการรักษาการพยาบาลอื่นๆ
E xplanation : การอธิบาย
ทั้งวัจนภาษา (Sentence & Key word) & อวัจนภาษา (Manner)
Ex. ลำดับในการอธิบาย บอกกล่าวให้เข้าใจง่าย กระชับหรือโทนระดับน้ำเสียงในการเจรจาที่เหมาะสมในแต่ละเคส(Case)/สถานการณ์(Situation)
T hank You : กล่าวขอบคุณหรือปิดจบบริการ
ทั้งวัจนภาษา (Sentence & Key word) & อวัจนภาษา (Manner)
Ex. เมื่อจบการให้บริการในทุกจุด ผู้ให้บริการมีการแสดงความเป็นมิตรจริงใจ
สร้างความประทับใจโดยกล่าวคำขอบคุณทุกครั้งและแสดงท่าที (Manner)
Plus PEH หมายถึง การเพิ่มคุณค่าบริการ PEH ในแต่ละกระบวนการสื่อสาร A-I-D-E-T แทรกเพิ่มในแต่ละจุดเข้าไป เดิมในต่างประเทศและประเทศไทยการอบรมเรื่อง AIDET ไม่เน้น เรื่องการให้คุณค่าการเข้าอกเข้าใจผู้รับบริการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการลำดับการสื่อสารให้ตรงประเด็น ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
สนใจอ่านรายละเอียดหลักสูตรบริการอื่นๆเพิ่มเติมในเว็บไซต์นี้ www.consultthailand.com
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 03 มีนาคม 2568
จำนวนผู้เข้าชม 472 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้
จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว