หน้าแรก หน้ารวมบทความ แนวทางขับเคลื่อน AIDET สู่ภาคปฏิบัติ

แนวทางขับเคลื่อน AIDET สู่ภาคปฏิบัติ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 561 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ทำอย่างไรให้กระบวนการสื่อสารแบบ AIDET ในโรงพยาบาล ขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติมากกว่าการท่องจำไปใช้  ซึ่งแนวทางการศึกษาของสถานพยาบาลและวิทยาลัยทางการแพทย์ในต่างประเทศ ได้นำกระบวนการ AIDET ใช้ในการป้องกันเชิงรุกมากกว่าตั้งรับในหน้าที่เพื่อแก้ไขไปตามสถานการณ์

      การป้องกันคือวางกรอบการสื่อสาร AIDET ให้ตรงแต่ละบริบทของแผนก ตำแหน่งงาน มีจุดหมายสำคัญคือความพึงพอใจและปลอดภัยของคนไข้ ผู้รับบริการ

 

     วิธีการขับเคลื่อน AIDET สู่ภาคปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้

     1. Deep Learning : ทำความเข้าใจหลักการ เนื้อหา รายละเอียด AIDET แต่ละขั้น ทั้ง 5 ขั้นตอนอย่างลึกซึ้งทั้ง Acknowledge Introduce Duration Explanation และ Thank You

     2. Research & Development (R&D) : ค้นหาแหล่งข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ กรณีศึกษา ผู้รอบรู้ที่ปรึกษาด้านกระบวนการสื่อสารโรงพยาบาล งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือการใช้สื่อสาร  เพื่อประกอบการดำเนินงานทั้ง 5 ขั้นตอนการสื่อสาร  

     3. Action Plan : วางแผนการนำเสนอ กระบวนการให้ความรู้จากระดับบนลงสู่ระดับล่าง ด้วยเทคนิคที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความพร้อมแต่ละสถานพยาบาล เช่น การประชุมย่อย  ทำโครงการ การจัดกลุ่มให้ความรู้ อบรมพัฒนาในแผนก

     4. Training : จัดอบรมแบบภาพรวมเน้นการอบรม ฝึกปฏิบัติแบบ Workshop ฝึกการนำไปใช้จริง ให้ตรงตามตำแหน่งผู้ทำงานในแผนกนั้นๆ ด้วยชุดเครื่องมือ(Toolkit) การฝึกปฏิบัติเน้นกระบวนการคิด พิจารณา การสื่อความและการใส่ใจ มีการจัดทำคู่มือ AIDET ไว้เป็นต้นแบบการนำไปใช้ในลักษณะที่เข้าใจง่าย ไม่เน้นการบรรยาย อาจเป็นรูปแบบ Flowchart Poster Mind Mapping

ตัวอย่าง การเน้นฝึกอบรม AIDET ตามตำแหน่ง    เช่น

  • ผู้ช่วยเหลือคนไข้ พยาบาล เวรเปล แผนก ER  เน้นฝึกการสื่อสาร AIDET เพื่อรับเคสคนไข้และญาติ ตามหลักการ TRIAGE โดยคงไว้ซึ่งความเห็นอกเห็นใจ(Empathy)ผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ด้วยบุคลิกท่าทางภาษากาย(Body Language) พร้อมเปิดรับช่วยเหลือ ให้ระยะเวลาการรอคอย(Waiting Time) เป็นความอบอุ่นใจ รู้สึกปลอดภัย
  • พยาบาลแผนกรับผู้ป่วยใน IPD เน้นฝึกการสื่อสาร AIDET เพื่อดูแล ให้ข้อมูลการรักษาการพยาบาลที่ถูกต้องแก่คนไข้และญาติ  พร้อมเป็นจุดเชื่อมต่อการสื่อสารที่สำคัญในการให้ผู้ป่วยเข้าใจพยาธิสภาพของโรค กลับไปดูแลตนเองที่บ้าน มีความพึงพอใจในการรับบริการโรงพยาบาลไม่มีการร้องเรียน(Complaints) ภายหลังแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน(Discharge) หรือไม่เกิดอุบัติการณ์ การกลับมารักษาซ้ำ  
  • แพทย์แผนก OPD เน้นฝึกการสื่อสาร AIDET เพื่อการรักษาและเข้าใจหลักจิตวิทยา(Psychology)ความต้องการคนไข้ ทั้งในแง่กายภาพและความรู้สึกด้านจิตใจ ส่วนใหญ่ สิ่งที่ขาดหายไปใน 5 ขั้นการสื่อสารแบบ AIDET ในแง่ของผู้รับบริการที่สะท้อนภาพออกมา ผ่านข้อร้องเรียนต่อแพทย์ผู้ทำการรักษา เช่น เรื่อง การอธิบายโรคหรืออาการที่เป็นสั้นไป ใช้ศัพท์เฉพาะ ฟังไม่เข้าใจ ผู้ทำการรักษาไม่ใส่ใจในเรื่องปฏิสัมพันธ์ต่อผู้ป่วย (Human Touch of Patients) ขาด Eye Contact & 2 Way -Communication  เป็นไปได้ว่าปริมาณคนไข้ต่อวันที่มากเกินอัตราการรักษาของแพทย์ หรือแพทย์นั้นขาดการคำนึงถึงความรู้สึกคนไข้ต่อความต้องการการสัญญาใจแห่งความปลอดภัยจากแพทย์หรือไม่

     5. Follow up : มีการติดตามประมวลผลการนำความรู้จากภาคทฤษฎี ไปใช้นำทางในการปฏิบัติงานอาจเป็นในรูปแบบการตรวจเช็ค(Checklist) การสังเกต(Observation) การวิจัย(Research)ในองค์กร การรับฟังข้อคิดเห็นผู้รับบริการ(Patients Suggestion) การเลือกใช้กระบวนการติดตามแบบใดขึ้นอยู่กับผู้รับผิดชอบวางวัตถุประสงค์ไว้และมีความถนัดในแบบใด  พร้อมนำผลการติดตามที่ได้ไปใช้พัฒนาในขั้นตอนถัดไปอย่างไร

     ในครั้งหน้า มาเรียนรู้หลักกระบวนการ AIDET แต่ละตำแหน่งในโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาล ผู้รับผิดชอบควรนำ AIDETไปฝึกสื่อสาร 5 ขั้น ในแต่ละขั้นทั้ง A-I-D-E-T ควรใช้ในแต่ละสถานการณ์อย่างไร? หลักสูตร AIDET Plus+ ปี 2024 หลังสถานการณ์การคลี่คลายการระบาดโรคCovid มีรูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนไปในทิศทางใด ? 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 15 มกราคม 2567

จำนวนผู้เข้าชม 561 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผลKPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ มอบหมายผู้รับผิดชอบ

Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม