หน้าแรก หน้ารวมบทความ ตัวอย่างวิธีกำหนดเป้าหมาย (Target) KPIs

ตัวอย่างวิธีกำหนดเป้าหมาย (Target) KPIs


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 5289 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ในการเขียนดัชนีชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators) 1 ตัวชี้วัดทั้งระดับหน่วยงาน (Unit/Department KPI) และรายบุคคล (Individual KPI) นั้น มีองค์ประกอบในการเขียนหลายข้อเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้รับมีความชัดเจน ครอบคลุม ตรงเป้าประสงค์องค์กร เช่น   

  1. กรอบขอบเขต/มุมมอง/มิติ
  2. สูตรคำนวณ
  3. หน่วยวัด
  4. คำจำกัดความ
  5. เกณฑ์การให้คะแนน
  6. ระดับการให้คะแนน
  7. ความถี่ในการเก็บข้อมูล
  8. ข้อมูลอ้างอิงเป้าหมายเดิม 
  9. รายละเอียดผู้จัดทำ
  10. แนวทางดำเนินงาน

     โดยหลักการเขียนเป้าหมายนั้นมีคำถามว่า….

  • จำเป็นหรือไม่ ที่ตัวชี้วัดระดับหน่วยงานต้องมีการตั้งให้สอดคล้องกับนโยบาย ?

          คำตอบ : จำเป็น เพราะทำให้นโยบายที่ตั้งไว้ได้มีการตอบสนองขับเคลื่อนจริงทุกหน่วยงาน มีทิศทางที่ชัดเจน

  • ตัวเลขเป้าหมายระดับหน่วยงานที่เขียนถ้าไม่มีข้อมูลเดิมเป็นตัวชี้วัดใหม่ ควรทำอย่างไร ?

          คำตอบ : เลือกกำหนดได้หลายแบบ เช่น กำหนดเป้าหมายดึงมาจากนโยบายองค์กร(Policy)  ข้อมูลตัวเลขการเปรียบเทียบจากคู่แข่งทางธุรกิจอื่น(Benchmarking)  ประมาณการตัวเลขจากกลุ่มผู้ดำเนินงาน(Forecast)

  • ใครควรกำหนดตัวเลขเป้าหมายรายบุคคล ?

         คำตอบ :ผู้บังคับบัญชากำหนดหรือประมาณการร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา

    วิธีการกำหนดตัวเลขกระจายค่าในช่องเป้าหมายมี 5 แบบที่ใช้กันในปัจจุบัน

    ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์บังคับเฉพาะแบบ ขึ้นอยู่กับการตั้งตัวชี้วัดมีความสอดคล้องสำคัญมากน้อยเพียงใดกับนโยบายกลยุทธ์การทำงาน  ต้องการให้ค่าเป้าหมายกระจายแบบใดจึงจะเหมาะสมกับตัวชี้วัดข้อนั้นๆ

  1. แบบ Meet or Not Meet :ใช้สำหรับการกำหนดตัวเลขที่ผิดพลาดไม่ได้ มีผลกระทบต่อความสูญเสีย เสียหายร้ายแรงต่อบุคลากร ทรัพย์สินหรือองค์กร

ตัวอย่าง บริษัทขนส่งสินค้า(Logistics) รับส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วประเทศไทย

            เป้าหมายคือการสูญเสียชีวิตจากผู้ขับขี่ขณะปฏิบัติหน้าที่งานเป็นศูนย์(0ราย)

      ในแบบข้างต้นใช้ได้แต่ไม่ค่อยนิยมใช้มากนักเพราะมีช่องว่างความสำเร็จของคะแนน จะเห็นว่าช่วงคะแนน 4  3 2  ไม่มีการให้ค่าคะแนนหากทำได้ตามเป้าหมายได้คะแนนเต็ม ตกเกณฑ์จากที่ตั้งไว้เพียงหนึ่งตำแหน่งคือได้ลำดับ 1 คะแนนเท่านั้น

    ในข้อนี้ผู้กำหนดบางองค์การมองว่าไม่ยุติธรรม ความเสี่ยง (Risks) โอกาสในการเกิดไม่ได้ตามเป้าหมายมีแน่นอน ซึ่งในการจัดทำ KPI การกำหนดเป้าหมายแบบ Meet or Not Meet กำหนดได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลเดิม (Statistic History) มีอัตราการเกิดเท่าใด ถ้ามีมากหลายรายจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบด้าน ผู้เขียนแนะนำว่าไม่ควรเลือกกำหนดในแบบนี้

      2. แบบ Relation  :ใช้สำหรับการกำหนดตัวเลขเดี่ยวๆค่าใดค่าหนึ่ง โดยในช่วงระดับ 

          5 คะแนน อาจกระจายลำดับตัวเลขมากที่สุดหรืออาจที่น้อยที่สุดได้

     ตัวอย่าง บริษัทนำเข้าส่งออกสินค้า (Import-Export)

            เป้าหมายคือจำนวนครั้งในการจัดทำใบรายการสั่งซื้อผิดพลาดเป็น 3 ครั้ง

      ในแบบ Relation มีข้อดีคือหากไม่มีข้อมูลตัวเลขในอดีตที่แน่นอนย้อนหลังไป 3-5 ปี เป็นตัวชี้วัดใหม่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการ หรือโอกาสเกิดตามเป้าหมายจริงมากกว่าน้อยกว่าเดิมโอกาสคลาดเคลื่อนเลขไม่เกิดค่าบวกลบ 10 % สามารถเลือกใช้หลักการกระจายข้อมูลนี้ได้ เน้นการให้คะแนนเชิงบวกสิ่งที่เกิดมากที่สุดและเชิงลบสิ่งที่เกิดน้อยที่สุด

     ไม่เหมาะสมสำหรับกำหนดตัวเลขเป้าหมายที่เคยจัดตัวชี้วัดข้อนี้มาแล้วหลายๆปี ทบทวนข้อมูลทุกรอบการประเมินยังคงมีค่าตัวเลขเท่าเดิม  ทำให้ไม่ตรงกับหลัก SMART ไม่เกิดความท้าทาย

      3. แบบ Range  :ใช้สำหรับการกำหนดตัวเลขเป็นช่วงคะแนน เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอค่าคะแนนและโอกาสบรรลุเป้าหมายได้ 

      ตัวอย่าง บริษัทรับทำประกันภัยทางรถยนต์

        เป้าหมายคือเปอร์เซ็นต์การจัดส่งเอกสารใบกรมธรรม์ให้ลูกค้าPremiumทันกำหนดเวลาภายใน 2 วันทำการ  (เป้าหมาย 90 %)

     ในแบบ Range เป็นการกระจายข้อมูลแบบช่วง ที่มีจำนวนช่วงเท่ากันทุกช่วงคะแนนยกเว้นในช่วงคะแนนมากที่สุด 5 คะแนนหรือน้อยที่สุด 1 คะแนนค่าช่วงตัวเลขอาจไม่เท่าอีก 3 ช่วงคะแนน ดังตารางภาพที่ 3

     นิยมใช้ในการตั้งตัวชี้วัดแบบนี้เนื่องจากข้อมูลเดิมค่าเป้าหมายอาจยังไม่สามารถระบุได้ตัวเลขแน่นน การแบ่งช่วงตัวเลขมีโอกาสได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายเป็นจริงได้ไม่ยากหรือง่ายไป

  1. แบบ Regression :เป็นการให้คะแนนเต็มและลดลงในลำดับถัดไป การใช้แบบนี้เหมาะสำหรับค่าเป้าหมายที่มีค่าสูงสุดแล้ว ลดหลั่นตัวเลขลงในแต่ละช่วงคะแนนระดับถัดไป
  2. แบบ Condition : การให้ค่าคะแนนพร้อมเงื่อนไขเพิ่มเติมในข้อนั้นๆ ใช้กรณีไม่อาจเปลี่ยนการตั้งการวัดผลเป็นข้ออื่นได้ค่าเป้าหมายในอดีตสูงสุดหรือไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานแผนก มาตรฐานขององค์กร ตัวชี้วัดคุณภาพเพื่อประเมินระบบในองค์กรเช่น HA  JCI  Iso  OSHA  มาตรฐานข้อกำหนดราชการของ ก.พ.

     จากตัวอย่างวิธีเขียนค่าเป้าหมาย (Target) เบื้องต้น หากผู้กำหนดได้ศึกษาทำความเข้าใจการจัดทำระบบประเมินผลงานแบบ KPI เลือกตัวชี้วัดได้สอดคล้องนโยบาย ตรงกับหน้าที่งานและมีข้อมูลตัวเลขอ้างอิงเดิมสนับสนุน

       การตั้งค่าเป้าหมายไม่ใช่เรื่องยากแต่ยากกว่าคือ “การขับเคลื่อนKPIให้มีสัมฤทธิ์ผลตามไตรมาสได้อย่างไร”  เรื่องเหล่านี้ต้องมาทบทวนแผนงาน Action Plan ตามหลัก PD-CAT อีกครั้ง แผนงานที่ดีต้องมีTimelineผู้รับผิดชอบ ประเมิน ประชุม มีการตรวจสอบได้ตลอดเวลา

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 5289 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

ทฤษฎีตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการ

การเลือกใช้สินค้า และบริการนั้นเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เลือกใช้ อาจมาจากข้อมูลสื่อโฆษณาในช่องทางต่างๆ ประสบการณ์คำบอกเล่า ประสบการณ์ตรงที่ได้รับมาจากผู้ใช้บริการ

การสื่อสารแบบ AIDET Plus ทุกแผนกในโรงพยาบาลทำอย่างไร ?

ในอดีตผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหลักใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Descriptions) โดยปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่ตามขั้นตอนงาน (Work Instruction) ที่จัดทำขึ้นมาจากมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามหลักการความปลอดภัย

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ