หน้าแรก หน้ารวมบทความ อย่าสับสนกับKPI&Competency ?

อย่าสับสนกับKPI&Competency ?


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 4141 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ก่อนจัดทำนั้น คุณทำความเข้าใจความแตกต่างรูปแบบการประเมินผล KPI และ Competency ดีพอหรือยัง?

     KPIs (Key Performance Indicators) คือ ดัชนีชี้วัดผลงานหลักของหน่วยงาน เช่น รอบระยะเวลาการจัดส่งชิ้นงาน , เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จการผลิต,จำนวนชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมจัดส่ง เป็นต้น

     Competency คือ สมรรถนะความสามารถที่ใช้ในการทำงานของบุคลากร แบ่งระดับการประเมินโดยทั่วไป เป็น 5 ระดับคะแนน โดยมีการจัดทำสมรรถนะตามนโยบายหลักองค์กร คือ สมรรถนะองค์กร (Core Competency) สำหรับทุกคนในองค์กร,สมรรถนะการจัดการ (Managerial Competency) สำหรับหัวหน้างาน, สมรรถนะในการปฏิบัติงาน (Functional Competency) สำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกคน รวมถึงหัวหน้างาน

     ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้บริหารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย หลายภาคส่วน หันมาให้ความสำคัญจริงจัง ในการริเริ่มจัดทำระบบประเมินผลงาน แบบเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเห็นได้ จากการส่งบุคลากรอบรมทั้งแบบอบรมภายในองค์กร (In-House Training) และส่งอบรมภายนอกองค์กร (Public Training) มากขึ้นกว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เอื้อหนุนหลายด้าน บวกกับปัจจัยกระตุ้นจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ

     เปรียบการจัดทำระบบประเมินผลงาน เสมือนการเขียนแผนที่ “เส้นทางกลุ่มนักขับรถ4WDขึ้นสู่ยอดเขาสูง”  ต้องมีการวางแผนแต่ละขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน  ตั้งแต่วางตัวคนขับ ความชำนาญทาง ตรวจสอบสภาพรถ คาดคะเนระยะทาง น้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ จุดพักเป็นระยะ แผนสำรองกรณีฉุกเฉิน งบประมาณการเดินทาง ปัญหาระหว่างทาง การขึ้นที่สูงชันสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดทุกกรณีและการร่วมมือให้ถึงจุดหมาย

     การเริ่มต้นที่ดี ในการจัดทำระบบตัวชี้วัดผลงานนั้น คล้ายการวางแผนที่ออกเดินทาง ต้องวางแผนเป็นขั้นตอน ให้ละเอียดทุกจุด การจัดทำ KPI ที่ดี ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจที่ชัดเจนของผู้บริหารระดับสูงก่อน เข้าใจความแตกต่างการประเมินตัวชี้วัดหลัก (Key Performance Indicators) และการประเมินสมรรถนะผลงาน (Competency) เพราะ Outcome ที่ได้นั้นมิใช่การประเมินเพื่อวัดผลงานรายบุคคล การประเมินเพื่อขึ้นขั้นหรือรับโบนัสปลายปีอย่างเดียว ตามที่หลายท่านเข้าใจ ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำผลประเมินที่ได้มาใช้นั้นเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) พัฒนาองค์กร สร้างผลกำไร (Profit) อย่างยั่งยืน  

     ทุกขั้นตอนย่อมมีต้นทุนเวลา งบประมาณการใช้จ่าย ถ้าผู้บริหารไม่เห็นด้วย การอนุมัติหรือการจัดทำย่อมเกิดภาวะติดขัดกลางทาง

      ทางที่ดี คือ ในช่วงจัดอบรมหลักสูตรการจัดทำตัวชี้วัดและการจัดทำสมรรถนะในงาน ควรเชิญผู้บริหารสูงสุดที่เกี่ยวข้อง เข้ารับฟังทุกครั้ง หรือหากไม่สามารถเข้าฟังได้ตลอดระยะเวลา ควรมีทีมรายงานแต่ละขั้นตอน ให้ผู้บริหารเข้าใจรายละเอียดการจัดทำ

      ผู้เขียน ขอให้แง่คิดว่า “เราจะไม่เสียเวลาสื่อสารต่อผู้บริหารและในทีม หากทุกคนเข้าใจหลักการ มีการเข้าฟังบรรยาย ทีมรายงานการจัดทำเป็นระยะ  และสำคัญที่สุด ผู้บริหารสูงสุดควรทราบอย่างถ่องแท้ ในความแตกต่างและประโยชน์ของ KPI และ Competency” ไม่เช่นนั้น พูดกันคนละภาษา พาเรือแล่นหันผิดทิศทางลมกันไปหมด

     หากวางระบบ KPI & Competency ที่ดีทำให้เปลี่ยนแปลงอย่างไร ? (ตามแผนภาพด้านล่าง)

แผนภาพ วางระบบ KPI and Competency

     ซึ่งความแตกต่างการประเมินแบบ KPI คือ เน้นการวัดประสิทธิภาพในการบริหารงาน การปฏิบัติงานที่สนองต่อนโยบายองค์กร หรือแผนกงาน การตั้งตัวชี้วัด การวัดผลจึงมีรูปแบบเชิงปริมาณ (Quantity) 

มีลักษณะเฉพาะเรียกว่า “SMART” คือ  

     Specific - มีเป้าหมายชัดเจน เฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ  

     Measurable - สามารถวัดเป็นตัวเลข ตัวเงิน เชิงปริมาณที่ชัดเจน  

     Achievable - เป็นเป้าหมายที่ทำให้สำเร็จได้ โดยทราบขอบเขตการจัดทำอะไรบ้างให้บรรลุ

     Realistic - ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงของงานที่วางไว้

     Time Base - มีกรอบระยะเวลาที่แน่ชัด มีกำหนดที่แน่นอน

 

ส่วน Competency นั้น ใช้ประเมิน สมรรถนะความสามารถบุคลากร ที่ประกอบไปด้วย SKA นั่นคือ  

     Skill - ทักษะ

     Knowledge - ความรู้

     Attribute - ทัศนคติ

     การประเมิน Competency บางองค์กรอาจนำผลคะแนนมารวมกับการประเมิน KPI เพื่อประเมินระดับเกรด แต่หากไม่นำมารวมก็สามารถทำได้ และถือเป็นการประเมินเพื่อหาสมรรถนะความสามารถ นำมาเป็นตัวกำหนดวางแผนพัฒนาความสามารถรายบุคคล(Individual Development Plan: IDP) ซึ่งมีการวัดหา GAP นำจุดอ่อนที่ได้มาพัฒนาก่อน ทำให้เกิดการพัฒนาบุคลากรแบบเป็นขั้นตอน แต่อย่าลืมว่า การจะทำ IDP นั้น ฝ่ายพัฒนาบุคลากรต้องวางรูปแบบเครื่องมือการพัฒนา (Development Tools) ตามแต่ละตำแหน่งงานก่อน

     สุดท้ายนี้ ถ้าทำความเข้าใจกระบวนการจัดทำ KPI & Competency และมีทีมที่รับผิดชอบอย่างเข้มแข็ง ย่อมทำให้การจัดทำระบบประเมินผล สำเร็จโดยง่าย  ไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่ถ้าทำไปสักระยะ เกิดภาวะชะงักคอขวด มีปัญหารายทาง ไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ มีระยะเวลากระบวนการจัดทำนานเกิน 1 ปีหรือมากกว่านั้น ควรเลือกใช้บริการจากที่ปรึกษา (Consultant) เฉพาะทางด้านประเมินผล ทำให้ลัดขั้นตอนปัญหาไปได้มากทีเดียว ในระหว่างมีที่ปรึกษานั้น ควรจัดวางทีมงานเพื่อโคลนนิ่งองค์ความรู้ เมื่อที่ปรึกษาจบกระบวนการทำงาน ทีมงานในองค์กรสามารถบริหารจัดการ ขับเคลื่อนระบบประเมินผลมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 4141 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน