หน้าแรก หน้ารวมบทความ ตัวอย่างการเขียน JD แบบฟอร์มอย่างง่าย

ตัวอย่างการเขียน JD แบบฟอร์มอย่างง่าย


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 2198 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

      ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description : JD) เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่นำไปใช้ในการบริหารบุคคลในองค์กร ดังนั้น ควรมีการจัดทำทุกตำแหน่งและหมั่นปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับปัจจุบัน วันนี้ผู้เขียน ขอยกตัวอย่างการจัดทำ JD แบบฟอร์มอย่างง่าย 


      เหมาะสำหรับ องค์กรใดๆที่ยังไม่มีการจัดทำอย่างเป็นระบบ อาจเริ่มเขียนแบบง่ายๆก่อน ไม่ต้องใส่เนื้อหา รายละเอียด เป้าหมาย เกณฑ์พิจารณามากมาย 
      นอกจากทำให้ผู้เขียนปวดหัวเองแล้ว ทำให้เสียเวลาในการจัดทำไป หากจัดทำไปได้สักระยะหนึ่ง ผู้จัดทำค่อยๆแก้ หรือปรับแบบฟอร์ม JD ให้เข้ากับองค์กรของตนเอง เข้าร่วมประชุมกับทีมงาน หารือ ที่ปรึกษา (Consultant) เพื่อปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมในส่วนที่นำมาใช้พัฒนาต่อยอดได้ จาก JD เช่น Core Competency,KPIs เป็นต้น 
      โดยผู้เขียนได้กล่าวไปแล้ว ในบทความแรกๆ เรื่อง “เทคนิคเขียน JD เพื่อใช้ในระบบประเมินผล” 

ตัวอย่างการเขียน JD แบบง่าย 

ตัวอย่างการเขียน JD แบบง่าย

      จริงๆ แล้ว เมื่อเขียนไปได้สักระยะหนึ่ง ผู้จัดทำ ต้องมีการปรับแก้ไข ให้ใบกำหนดหน้าที่งาน ตรงกับงานจริงมากที่สุด หากงานมีความเกี่ยวข้องกับแผนกอื่นๆ ผู้จัดทำต้องสามารถแยกความสำคัญงานแต่ละงานออกจากกันได้อย่างชัดเจน มีการนำหลักนโยบาย ค่านิยม และแผนกลยุทธ์มาปรับปรุงลง JD ได้อย่างลงตัว ใช้พัฒนาบุคลากรได้จริง มากกว่าเก็บใบ JD ไว้กับระบบคอมพิวเตอร์ 
      ถามว่า การเขียนนั้น ควรปรับปรุงทุกปีหรือไม่ คำตอบคือ การปรับปรุงขึ้นอยู่กับ JD แต่ละงานตรงตามหน้าที่งานจริงหรือไม่ ? แต่ละปี หลักการเป้าหมายองค์กร เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร 
      ดังนั้น ผู้ทำการปรับปรุงต้อง จัดการ จัดเก็บแก้ไข ให้เป็นปัจจุบัน โดยมีการประชุมร่วมกับผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบสายงานนั้น 
      ลองนำไปใช้เขียนดูนะคะ แต่ถ้าท่านใดเขียนได้ดีแล้ว ถึงขั้นพัฒนาไปไกลเกินการจัดทำแบบฟอร์มทั่วไป ผู้เขียนแนะนำให้ลองฝึกการเขียน JD แบบนำนวัตกรรม(Innovation)เข้ามาปรับ Core Competency ในการเขียน JD ของท่าน เป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนา HRD ค่ะ

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 2198 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล

วิธีปรับเงินเดือนค่าตอบแทนหลังประเมินผล KPI

หลังประเมินผลการปฏิบัติงานหรือประเมินผล KPI แล้วนำผลคะแนนที่ได้มาคำนวณเพื่อพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการบริหารผลงานมีแนวทางในการปรับค่าตอบแทนหลายแบบแตกต่าง

การบริการเชิงรุก (Proactive Service ) ทำอย่างไร?

การบริการเชิงรุกไม่ใช่การกระตือรือร้นการบริการหรือเสนอการบริการให้ลูกค้าก่อน แต่เป็นรูปแบบการวางระบบบริการไว้ล่วงหน้าด้วยเทคนิค “สร้าง Brand loyalty & Brand Personal” ทุกขั้นตอนตั้งแต่แรกรับ

ตัวอย่างกำหนดสัดส่วนค่าน้ำหนักตัวชี้วัดผลงาน

การออกแบบใบประเมินผลนิยมจัดทำแบบผสมผสาน เป็นการประเมินจากหลายมิติมารวมกันทั้งการประเมินด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงาน พฤติกรรมความสามารถและเวลาปฏิบัติงาน ในการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่งานแต่ละงาน

ลำดับการจัดทำ Job Description(JD)

ใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางาน เป็นต้นทางของการประเมินผลปฏิบัติงาน การประเมินที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้กำหนดหน้าที่แต่ละบุคคลให้ชัดเจน