หน้าแรก หน้ารวมบทความ วิธีทำแผนภูมิก้างปลา (FISH-BONE DIAGRAM)

วิธีทำแผนภูมิก้างปลา (FISH-BONE DIAGRAM)


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 14278 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          การค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเราไม่อาจคาดคะเนได้นั้น อาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการค้นหาที่ดีที่สุดคือการระดมแนวคิดจากกลุ่มผู้ร่วมทำงานจริง เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น ณ จุดนั้น เพื่อหาวิธีหรือเครื่องมือที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาที่พบ ซึ่งหลักการเขียนแผนภูมิก้างปลานั้น ได้รับการพัฒนาครั้งแรกปี ค.ศ. 1943 โดย ศาสตราจารย์ คาโอรุ อิชิกาว่า แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ในบางครั้งเรียก แผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram)

วิธีทำแผนภูมิก้างปลา (FISH-BONE DIAGRAM)


          ตัวอย่าง “โรงงานทอผ้าไหมแห่งหนึ่ง พบว่า พนักงานในสายการทอขึ้นลายผ้าไหม แต่ละคนมีระยะเวลาการทอเร็วช้าต่างกันมาก อายุงานเทียบเท่ากัน แต่ละเดือนมีผลิตภัณฑ์ที่มาจากตัวไหมไม่เท่ากันแตกต่างไปตามฤดูกาล ในฤดูร้อนตัวไหมมีจำนวนน้อย ในฤดูหนาวไหมมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้น วิธีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นควรแยกปัญหาเป็นข้อๆ เช่น 1.ปัญหาพนักงานทอผ้าเร็วช้าต่างกัน 2.ปัญหาตัวไหมมีจำนวนน้อยในฤดูร้อน นำแต่ละข้อมาหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้คบถ้วนและดำเนินการหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อ 2 ต่อไป“
         การทำแผนภูมิก้างปลา ช่วยให้ค้นหาหลายๆปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และรวบรวมนำข้อมูลมาหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม

วิธีทำแผนภูมิก้างปลา (FISH-BONE DIAGRAM)

         แต่การทำแผนผังหรือ แผนที่ความคิด (Mind Mapping) เป็นการจัดระเบียบความคิด ที่กระจัดกระจายแนวคิดที่เกี่ยวข้องให้เป็นระเบียบหนึ่งเดียว เป็นเครื่องมือด้านรวบรวมความคิดที่ได้รับการออกแบบ โดยเลียนแบบการทำงานของสมอง คิดค้นโดยชาวอังกฤษ ชื่อ โทนี บูซาน

วิธีทำแผนภูมิก้างปลา (FISH-BONE DIAGRAM)

         ในกรณี ต้องการวิเคราะห์หา สาเหตุ (Cause) ของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงนิยมใช้หลักการค้นหาแบบ ทำแผนภูมิก้างปลา (Fish-Bone Diagram) หรือบางตำราเรียก แผนผังก้างปลา เหมาะสมที่สุด 

         ส่วน ปัญหาหรือผลลัพธ์ (Problem or Effect) จะแสดงอยู่ที่หัวปลา 
         ส่วน สาเหตุ (Causes) จะสามารถแยกย่อยออกได้อีกเป็น
         ๐ ปัจจัย (Factors) ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาจะเขียนไว้ที่ก้างหลักของตัวปลา
         ๐ สาเหตุหลัก จะเขียนไว้ต่อปัจจัยในก้างหลักแต่ละก้าง
         ๐ สาเหตุย่อย จะเขียนไว้ย่อยต่อจากก้างหลัก ซึ่งอาจมีย่อยต่อหลายข้อได้ไม่มีบังคับ
         โดยสาเหตุของปัญหา จะเขียนไว้ในก้างปลาแต่ละก้าง ก้างย่อยเป็นสาเหตุของก้างรองและก้างรองเป็นสาเหตุของก้างหลัก 

วิธีทำแผนภูมิก้างปลา (FISH-BONE DIAGRAM)

วิธีการสร้างแผนภูมิก้างปลา

         สิ่งสำคัญต้องทำ คือ ทำเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม โดยใช้ขั้นตอน 6 ขั้นตอน 

         1. กำหนดประโยคปัญหาที่หัวปลา (ให้ทำการกำหนดในเชิงลบ) ปัญหาละ 1 หัวปลาต่อปลา 1 ตัว
         2. กำหนดกลุ่มปัจจัยนำเข้าที่ทำให้เกิดปัญหานั้นๆ ที่บริเวณก้างปลาหลัก
             (ปัญหาการผลิตใช้หลัก 4 M 1E : Man,Machine,Material,Method,Environment)
             (ปัญหาสินค้า การทำงานใช้หลัก 4P :Place ,Procedure,People,Policy)
             (ปัญหากระบวนการผลิตใช้หลัก 4S :Surrounding, Supplier, System ,Skill)
             (ปัญหาการบริหารใช้ MILK : Management, Information, Leadership, Knowledge)
         3. ระดมสมองหาสาเหตุหลัก ของปัญหาแต่ละก้างรอง
         4. ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุย่อย ในแต่ละปัจจัยที่ก้างย่อย
         5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุเป็นข้อๆ
         6. เลือกสาเหตุของปัญหา มาทำการแก้ไขปรับปรุงด้วย เครื่องมือ(Tools) การพัฒนาต่างๆ เช่น ไคเซน 5ส   P D C A  ระบบคัมบัง  SOP  ISO จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน เป็นต้น 

         ในการทำแผนภูมิก้างปลานั้น ยิ่งระดมแนวคิดหลักแนวคิดย่อย ได้มากเท่าไรยิ่งเป็นผลดีต่อการวิเคราะห์หาเครื่องมือการแก้ปัญหา ในหัวปลานั้นได้ง่ายตรงจุด มากที่สุด
         ดังนั้นผู้เขียนแนะนำว่า การเขียนแผนภูมิก้างปลาจึงเป็นการวิเคราะห์หา เครื่องมือ(Tools) ที่เหมาะสม ในการพัฒนาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ช่วยให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน พบข้อบกพร่องหรือข้อแก้ไขได้ดีเยี่ยมทีเดียว ทั้งการทำงานด้านอุตสาหกรรมภาคการผลิต หรือการทำงานในสำนักงาน
         อย่างไร คุณผู้อ่านลองนำวิธีการไปปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะสมกับรูปแบบปัญหา เชื่อแน่ว่า คุณจะสนุกกับการหาปลาที่มีสารอาหาร โปรตีนและโอเมก้าหลากหลาย อย่างแน่นอน !!!! 

ขอบคุณภาพ
 
ปลาสวยๆกลุ่มงอมแงม@Bestrade Precision Limited
www.jackyibizcoach.com
www.mindtools.com 
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 01 มกราคม 2564

จำนวนผู้เข้าชม 14278 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


การสื่อสารแบบ AIDET Plus ทุกแผนกในโรงพยาบาลทำอย่างไร ?

ในอดีตผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหลักใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Descriptions) โดยปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่ตามขั้นตอนงาน (Work Instruction) ที่จัดทำขึ้นมาจากมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามหลักการความปลอดภัย

ความคาดหวังผู้รับบริการ 6 แบบ

อันดับแรกที่ผู้รับบริการทุกคนคาดหวังแน่นอนคือความสะดวกสบาย ความรวดเร็วปลอดภัย ความมั่นใจในการได้รับบริการ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้รับบริการคาดหวังนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของลูกค้าผู้รับบริการ

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล