ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 10 ตุลาคม 2566 จำนวนผู้เข้าชม 2903 คน
10 ตุลาคม 2566“การออกแบบใบประเมินผลนิยมจัดทำแบบผสมผสาน เป็นการประเมินจากหลายมิติมารวมกันทั้งการประเมินด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงาน พฤติกรรมความสามารถและเวลาปฏิบัติงาน”
ในการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่งานแต่ละงานมีลักษณะเฉพาะ ทั้งด้านการบริหารจัดการ หน้าที่ความรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์เป้าหมายที่ได้ตามหน้าที่งาน ทำให้การออกแบบกำหนดสัดส่วนค่าน้ำหนักตัวชี้วัดผลงานอาจมีความแตกต่างกันตามตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ผู้บริหารแต่ละระดับอาจเน้นไปที่ผลลัพธ์ของงาน(หรือปริมาณผลผลิตที่ได้)มากกว่าขีดความสามารถและเวลาการทำงาน ส่วนผู้ปฏิบัติงานเน้นความรับผิดชอบเวลาการทำงานและขีดความสามารถของงานมากกว่าผลลัพธ์ที่ได้ ทั้งนี้การกำหนดสัดส่วนขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบในการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
ทั้งนี้การให้สัดส่วนน้ำหนักที่ตัวชี้วัดแบบใดมากกว่ากันนั้น พิจารณาข้อมูลการกำหนดสัดส่วนตามนโยบายหลักขององค์กรทิศทางผู้บริหาร สภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจ คู่แข่งทางการค้า ข้อมูลการจัดทำตัวชี้วัดที่ผ่านมาอย่างน้อย 1 รอบปี และลักษณะงานจริงตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description : JD)
ไม่จำเป็นให้ทุกตำแหน่งทุกระดับมีค่าสัดส่วนเท่ากันทั้งองค์กรและมีการวัดผลทั้ง 3 มิติทุกตำแหน่ง ทั้งนี้การกำหนดน้ำหนักนั้นต้องได้รับการเห็นชอบจากทีมบริหารและผู้บริหารองค์กรสูงสุด ในการจัดทำถือเป็นมติที่ชอบอย่างเป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างกำหนดน้ำหนักสัดส่วนของตัวชี้วัด 2 รูปแบบตามตาราง 1.1 และ ตาราง 1.2 แนบด้านล่าง
จากตาราง 1.1 เห็นได้ว่าไม่วัดผลเรื่องเวลาการทำงาน เน้นผลลัพธ์ของผลงานและเน้นวัดขีดสมรรถนะความสามารถ(พฤติกรรม) เหมาะสำหรับองค์กรที่ยืดหยุ่นในเรื่องเวลาการทำงาน มุ่งให้ความสำคัญกับผลงานมากกว่าเรื่องเวลาการเข้างาน ตามแนวทางการจัดการทรัพยากรบุคคลยุคHR 5.0 ในเรื่อง ความยืดหยุ่นในการทำงาน (อ่านบทความเพิ่มเรื่อง แนวทางวางแผนอัตรากำลังยุคHR 5.0 (Agile Workforce Planning for HR 5.0)
จากตาราง 1.2 เห็นได้ว่า ผู้บริหารตั้งแต่ระดับต้นถึงระดับสูงสุดไม่มีการวัดผลเรื่องเวลาการทำงาน ให้ความสำคัญเรื่องผลลัพธ์และพฤติกรรมความสามารถ (โดยแบ่งสัดส่วนวัดทั้ง Core Competency & Managerial Competency) ส่วนระดับพนักงานทุกระดับมีการวัดผลทั้ง 3 ด้าน คือ KPIs Competency Time Attendance โดยเฉพาะในระดับตำแหน่งล่างสุดในตาราง คือ พนักงานปฏิบัติงานทั่วไป(ระดับบริการ,พนักงานรายวัน) เป็นระดับที่มีเน้นเฉพาะงานด้านการบริการทั่วไป มีคุณวุฒิการศึกษาไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดเป็นพนักงานหรือเป็นชาวต่างชาติ ทำงานรายวัน เน้นการกำหนดน้ำหนักรวม 60% วัดทางด้านพฤติกรรมและเวลาการรับผิดชอบงานมากกว่าผลงานที่ทำได้
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 10 ตุลาคม 2566
จำนวนผู้เข้าชม 2903 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร