หน้าแรก หน้ารวมบทความ ใช้ทฤษฎีมาสโลว์สร้างแรงจูงใจ

ใช้ทฤษฎีมาสโลว์สร้างแรงจูงใจ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 1054 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

   เพิ่มแรงจูงใจสำหรับพนักงานในองค์กรโดยใช้เฟรมเวิร์ก “ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของอับราฮัม มาสโลว์” เข้ามาเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากร 

   โดยแนวคิดลำดับความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็นความต้องการ 5 ขั้น

  • ขั้นที่ 1 ความต้องการด้านกายภาพ (Physiological)
  • ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety)
  • ขั้นที่ 3 ความต้องการทางสังคม (Social)
  • ขั้นที่ 4 ความต้องการด้านการเคารพยกย่อง (Esteem)
  • ขั้นที่ 5 ความต้องการด้านความสำเร็จสมบูรณ์ในชีวิต (Self Actualization)
ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ 5 ขั้น
ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ 5 ขั้น

   ในการใช้ทฤษฎีเข้ามาพัฒนาบุคลากรนั้น มีลำดับดังนี้ 

  1. ให้คัดกรองและวิเคราะห์ว่าพนักงานแต่ละคนอยู่ใน กลุ่มวัยใด เช่นGen X,Y,Z …มีพฤติกรรม ความสนใจ ความสามารถด้านใดเพื่อจัดลำดับความต้องการแต่ละกลุ่ม
  2. กลุ่มที่ต้องการทางกายภาพ : การเป็นอยู่ ค่าใช้จ่าย อาหาร ที่อยู่ ที่ทำงานสุขสบาย  ควรจัดให้บุคลากรได้รับปัจจัย4 ในการทำงานที่เหมาะสม ทั้งการเดินทาง แหล่งอาหารเครื่องดื่ม ที่พักอาศัย การได้รับค่าตอบแทนค่าแรงการพักผ่อนตามกฎหมายแรงงานกำหนด
  3. กลุ่มที่มีความต้องการความมั่นคงปลอดภัย : ได้ทำงานอาชีพที่มีความมั่นคงปลอดภัยชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม ได้รับสิทธิ์สวัสดิการที่เหมาะสมควรจัดให้บุคลากรทั้งพนักงานใหม่พนักงานเก่าได้รับทราบนโยบายกฎระเบียบ หลักเกณฑ์การทำงานที่เที่ยงธรรม ทราบสวัสดิการที่ควรได้รับทั้งวันหยุดประจำปี วันลาป่วย วันลากิจ มีความมั่นคงทางการเกษียณ มีการตรวจสุขภาพประจำปี ประกันชีวิตหรือประกันอุบัติเหตุในอาชีพที่มีความเสี่ยงเช่น ช่างไฟ พนักงานขับรถ โฟร์แมน 
  4. กลุ่มที่มีความต้องการทางสังคม : ทุกคนเมื่อเข้ามาทำงานต้องมีการติดต่อสื่อสารการประสานงาน ทีมงาน การได้รับความร่วมมือ ควรจัดให้ พนักงานใหม่มีกิจกรรมปฐมนิเทศแนะนำพนักงาน มีพี่เลี้ยงช่วยแนะนำปรึกษาสอนงาน กิจกรรมพัฒนาโครงการแต่ละหน่วยงาน กิจกรรมสังสรรค์ประจำปี กิจกรรมท่องเที่ยวประจำปี
  5. กลุ่มที่มีความต้องการด้านการเคารพยกย่อง : เป็นความรู้สึกพึงพอใจถึงการได้รับการยอมรับ การยกย่องในกลุ่มบุคคล สังคม ที่ทำงาน ควรจัดให้ มีการจัดระดับตำแหน่ง (Level) แต่ละสายงาน การเลื่อนขั้น การปรับตำแหน่งหน้าที่งานตามความสามารถ การให้รางวัล(Rewards)ชื่นชม การให้ค่าตอบแทนโบนัสตามคุณลักษณะการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ KPIs Competency 
  6. กลุ่มที่มีความต้องการด้านความสำเร็จสมบูรณ์ในชีวิต :เป็นความต้องการขั้นสูงสุดในการทำงาน การแสดงขีดความสามารถตามศักยภาพที่มี ควรจัดให้ มีการฝึกอบรม (Training) พัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถ สนับสนุนบุคลากรที่มีความสามารถให้ได้นำความรู้ความสามารถใช้ในการพัฒนาทีมงานหรือองค์กร การจัดแผนการรองรับการเติบโตตามสายงาน Career Path
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 15 กันยายน 2566

จำนวนผู้เข้าชม 1054 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร