หน้าแรก หน้ารวมบทความ ปัญหาและอุปสรรคการประเมินผล

ปัญหาและอุปสรรคการประเมินผล


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 2839 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ส่วนใหญ่เมื่อประเมินผลทั้งองค์กร แผนก รายบุคคล มักกำหนดเกณฑ์ระยะเวลาการประเมินผลให้สำเร็จมากกว่าการประเมินหาปัญหาและอุปสรรคเพื่อให้การประเมินสำเร็จ ทำให้ระหว่างการประเมินไม่มีแนวทางแก้ปัญหารองรับ ระยะเวลาช่วงดำเนินการไม่มีการติดตาม ช่วงไตรมาสท้ายในการประเมินอาจแก้ไขไม่ทัน ตัวเลขที่ได้รับในช่วงท้ายการประเมินจึงไม่ใช่ตัวเลขที่สะท้อนผลการปฏิบัติงานจริง

    ระดับในการประเมินผลมี 3 ระดับ 

     1) การประเมินระดับองค์กร 

     พิจารณาจาก

  • ผลกำไร 
  • ยอดขาย
  • ส่วนแบ่งการตลาด
  • ผลสำเร็จโครงการระดับองค์กร
  • ยอดผู้รับบริการพึงพอใจ
  • การประเมินระดับหน่วยงาน

     พิจารณาจาก

  • เป้าหมายการผลิต
  • จำนวนผลสำเร็จผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • รายได้จากลูกค้าใหม่
  • ระยะเวลาความสำเร็จ
  • ร้อยละความพึงพอใจผู้ใช้บริการภายในภายนอก
  • ระดับความสำเร็จตาม Milestone/Hybrid

 

    2) การประเมินรายบุคคล

     พิจารณาจาก

  • เป้าหมายเชิงปริมาณ/ระดับความสำเร็จ(Milestone)ด้านการปฏิบัติงานตาม JD
  • เป้าหมายเชิงคุณภาพด้าน Competency 
  • การวัดผลระดับความรับผิดชอบด้าน Time Attendance

        โดยปัญหาและอุปสรรคการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น แบ่งออกเป็น 5 เรื่องใหญ่ๆ ตามรายละเอียด ดังนี้ คือ

  1. กลยุทธ์ (Strategy)
  • บุคลากรระดับบริหารจัดการขาดความเข้าใจในการแปลงกลยุทธ์สู่ภาคปฏิบัติหน่วยงานและภาคปฏิบัติรายบุคคล
  • เป้าหมายกลยุทธ์องค์กรเป็นไปได้ยาก ไม่อิงข้อมูลปัจจุบันที่สามารถทำได้จริง
  • การแปลงกลยุทธ์เป็นโครงการจริง ทำได้ค่อนข้างยาก ไม่ตั้งบนพื้นฐานหลักการตั้งเป้าหมายแบบ SMART

     2. กระบวนการ (Process)

  • ขาดการกำกับติดตามผลระหว่างปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชา 
  • ขาดการ Feedback ช่วงระยะเวลาระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ขาดการเก็บข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์เป้าหมายในปัจจุบัน

     3. คน (People)

  • มีการเปลี่ยนผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาบ่อยครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการทำระบบประเมินผล  โดยเฉพาะในส่วนงานราชการที่มีโอน/ย้าย/เปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งบ่อยครั้งในหน่วยงานนั้นๆ ทำให้เป้าหมายการประเมินผลขาดความต่อเนื่อง บางครั้งข้อมูลเดิมไปพร้อมกับบุคคลนั้น ทำให้ต้องเริ่มตั้งตัวชี้วัดใหม่ ตั้งค่าเป้าหมายใหม่
  • เป้าหมายระดับหน่วยงานไม่ตรงตามข้อมูลจริง ตัวเลขเป้าหมายเป็นไปตามผู้กำหนดอยากให้เป็น เนื่องจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้ากลัวเป้าหมายตนเองตก คะแนนน้อยมีผลต่อการปรับขั้นปรับเงินเดือน ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมีผลกระทบต่อผลงานจริงต่อการขับเคลื่อนขององค์กร วิธีการแก้ไขเรื่องนี้คือให้องค์กรจัดตั้งทีมบริหารที่มีความเป็นธรรมติดตามดูแลเรื่องตัวชี้วัด ช่วยตรวจสอบตัวชี้วัด เป้าหมาย ข้อมูลเดิมนำมาเปรียบเทียบข้อมูลปัจจุบัน
  • บุคลากรแต่ละระดับขาดความเข้าใจและความสำคัญในเรื่องการประเมินผล

     4. การเรียนรู้ (Learning)

  • ขาดการทำกลุ่ม/ประชุมเพื่อช่วยสนับสนุนให้เป้าหมายเป็นไปตามระยะเวลา
  • ขาดการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องแบบพี่เลี้ยง 
  • การตั้งเป้าหมายแต่ละระดับทั้งองค์กร หน่วยงาน รายบุคคลมีความแตกต่างกัน ความเข้าใจแตกต่างกัน ควรทำกลุ่มอบรมให้ความรู้ทุกระดับแยกตามกลุ่ม เช่น อบรมระดับผู้บริหาร อบรมระดับบริหารจัดการ อบรมระดับปฏิบัติงาน

     5. วัฒนธรรมองค์กร (Culture)

  • การประเมินผลเสมือนเป็นตัววัดการทำงาน อาจสร้างความกดดันให้ผู้ปฏิบัติงาน ควรปูพื้นฐานการับรู้การทำระบบประเมินผลให้เป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นการเก็บคะแนนความสำเร็จด้วยความตั้งใจ กระตุ้นแรงจูงใจในการทำงานและสร้างความร่วมมือร่วมใจทุกฝ่าย
  • ต้องสร้างความเข้าใจผู้บริหารทุกระดับให้ผู้บริหารพร้อมเป็นโค้ชในการประเมินผลในแผนกหรือหน่วยงานของตนเอง ไม่มองว่าการประเมินผลเป็นเรื่องส่วนเกินของการทำหน้าที่ ยุ่งยาก มีความคิดเห็นแนว Negative เพราะส่งผลให้ทีมงานขาดความเชื่อมั่นในการวัดประเมินผล

     ท้ายนี้ สิ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไม่ว่าระบบประเมินผล ปัญหา อุปสรรค สำคัญอันดับแรกที่ต้องสร้างการรับรู้ร่วมกันคือ การสร้างทัศนคติบุคลากรทุกระดับให้มีความเป็น Ownership & Growth Mindset ทำให้ทุกกิจกรรมที่องค์กรพัฒนาเป็นไปได้ตามเป้าหมายจริง 

     ดังนั้น องค์กรหรือฝ่ายพัฒนาบุคลากรต้องกลับมาตั้งโจทย์ใหม่ว่า จะทำอย่างไรมีเครื่องมืออะไรให้บุคลากรทุกคนคิดแบบ Ownership & Growth Mindset ???

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 2839 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance

การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ

ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI

ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม

ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้

จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว