หน้าแรก หน้ารวมบทความ พูดให้โดนใจผู้ฟัง

พูดให้โดนใจผู้ฟัง


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 452 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

            เตรียมข้อมูลนำเสนอในที่ประชุมอย่างดี พอเอาเข้าจริงตกหล่นไปหลายเรื่อง เซรงเป็ดเลยเรา!! เวลาพูดท่ามกลางมหาชนหมู่มาก ขาดความมั่นใจ ประหม่า ขาสั่น ทุกที ให้ได้อย่างนี้สิช้าน !! อยากพูดให้สนุก มีสาระ เป็นนักพูดกับเค้าบ้างอะไรบ้าง แต่ไม่เคยถึงฝั่งฝันสักหน !!   ต้องบอกว่าอาการดังกล่าวนักพูดหลายคนเคยผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มานับครั้งไม่ถ้วนก่อนก้าวมายืนถือไมค์ ไฟส่องหน้า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมๆกับทักษะนานับประการที่ถูกฝึกฝนมาอย่างมินิมาราธอนแต่ยังเยาว์ ย้อนดูตอนวัยเด็กเราหัดพูดเขียนภาษาไทยได้ ต่อมาครูก็เคี่ยวเข็นด้วยภาษาอังกฤษ ฟุด ฟิด ฟอ ไฟ เมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัยบางบริษัทก็ปฐมนิเทศอย่างหนักหน่วง ตั้ง Competency , KPIs ซะน้องใหม่แทบร้องไห้หาแม่ เมื่ออยากก้าวหน้าทั้งเงินเดือนและตำแหน่งก็ต้องฝึกบริหารให้เป็น พูดให้ถูกกาละเทศะ มิฉะนั้น ไม่มีใครอยากร่วมทีมทำงานด้วย

พูดให้โดนใจผู้ฟัง

          อย่าได้หวั่นค่ะ ในตอนนี้คุณมีอาวุธที่คมกริชอยู่กับกาย นั่นคือ คำพูด รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งแน่นอน นักพูดที่ดีคือผู้ที่สามารถสะกดคนฟังด้วยน้ำเสียงและประโยคแรกของคำพูด จำไว้!!! ในงานมอบรางวัลพนักงานดีเด่นประจำปี …สวัสดีค่ะ วันนี้ตื่นเต้นจริงๆที่ได้มาเป็นพิธีกรในงานประกาศมอบรางวัลพนักงานดีเด่นนี้  (บั่นทอนกำลังใจตนเองและสร้างความไม่มั่นใจให้ผู้ฟัง อย่างแรง!!) เปลี่ยนประโยคใหม่เป็น สวัสดีค่ะ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรษ  กว่าจะมาถึงค่ำคืนอันทรงเกียรตินี้ต้องบอกว่าคะแนนการคัดเลือกพนักงานของบริษัทเรา “เพชรตัดเพชร” เลยทีเดียว ….จะพูดอย่างไรให้ผู้ฟังประทับใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญกว่าการพูดให้ได้ตามเนื้อหาที่เตรียมมา

ขอแนะนำเทคนิคเบื้องต้น เพื่อให้โดนใจผู้ฟังแบบพอดิบพอดี

     1. อ่านบทความ หรือหนังสือ วันละ 1 เรื่อง ฝึกอ่านออกเสียงนะคะ สะกดตัว ร ล ตัวควบกล้ำ  ช้าๆชัดๆฝึกทุกวันให้เมื่อยลิ้นกันไปเลยทีเดียว การพูดชัด ฉะฉานถือเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของนักพูดเมื่อเจรจางานใดกับใครเป็นที่ประทับใจในน้ำเสียงที่คมชัด เปิดประชุมกี่ครั้งหัวหน้างานเราหรือผู้บริหารพูดได้ชัดเจนจับใจเหลือเกินต่างกับหัวหน้างานอีกแผนกพูดเบา ค่อย ฟังไม่ได้ศัพท์ ถามว่าเราจะภูมิใจใครมากกว่ากัน ??

    2. ฝึกเล่าเรื่อง ระหว่างสนทนาในกลุ่มเพื่อน กลุ่มทีมงาน หรือกลุ่มลูกค้า โดยฝึกลำดับใจความสำคัญของเรื่องง่ายๆคือ ใคร ทำอะไร ที่ไหนและอย่างไร ให้ผู้พูดนึกถึงตอนเราดูละครหรือภาพยนต์มีการดำเนินเรื่องและจบบริบูรณ์อย่างไร หากละครเรื่องนั้นจบแบบให้เรากังขาว่าตกลงจบแล้วหรือนั่น แสดงว่าการเล่าเรื่องไม่ประสบความสำเร็จ ที่สำคัญฝึกเน้นเสียง หนัก เบา สีหน้าไปพร้อมกับน้ำเสียง ที่สำคัญอย่าใส่อารมณ์ถึงพริกถึงขิงมากเพราะจะดูเรา เยอะไป !!!

     3. ฝึกใช้คำคม คำพังเพยเปรียบเทียบ ปรัชญาที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด ทำให้เราดูเป็นนักพูดที่มีดีกรี ยิ่งนักพูดในเส้นทางวิชาการต้องอ่าน ค้นคว้า วิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อนำมาอ้างอิงให้คำพูดมีน้ำหนัก น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่าง

• กรณีเราต้องการชื่นชมทีมงาน “แผนกขายเราเสมือนทำงานเข็นครกขึ้นภูเขา แต่น้องๆทุกคนสามารถทำงานที่ยากนี้มาแบบง่ายๆ พี่ชื่นชมพวกเราจากใจจริงๆ”

• กรณี มีการทำงานผิดพลาด  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวไว้ว่า “Anyone who has never made a mistake has never tried something new คนที่ไม่เคยผิดพลาดเลยคือคนที่ไม่เคยลองทำอะไรใหม่ๆ” แต่ต้องเรียนรู้จะแก้ไขนะน้องนะ

• ซุนวู ได้กล่าวไว้ว่า “ชมคนด้วยวาจายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ ทำร้ายคนด้วยวาจาสาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ”

      4. ฝึกนำประสบการณ์หรือฝึกยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย หรือที่ผู้สอนเรียก “Case study” แต่ควรระวังการนำแต่ละเรื่องมายกตัวอย่าง ให้จำไว้ว่า ตัวอย่างที่นำมาพูดประกอบที่ดีนั้น ควรมี จุดเด่น 3 จุด คือ 1.ความยาวของเนื้องหาไม่ควรเกิน 5 นาที เพราะหลังจากนั้นความสนใจจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง  2.เป็นเรื่องแปลก มีความพลิกผันเหตุการณ์ สอดคล้องกับเนื้อหา หักมุมได้น่าติดตามที่สำคัญเรื่องมีความทันสมัย 3.เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง แต่หากกลุ่มผู้ฟังมีความหลากหลายในอายุ ให้นักพูดเลือกใช้เรื่องที่ ปัจจุบันคนกำลังให้ความสนใจอยู่หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบเดือนนั้น

     5. ฝึกกิริยา ท่าทางสง่างาม ใช้มือและนิ้วแต่พอดี อย่ากรีดกรายยกมือเกินงามทำให้ผู้ฟังสนใจแต่มือเรามากกว่าเนื้อหาที่พูด หากต้องรับบทบาทวิทยากร ควรมีอารมณ์ขัน มุมสบายๆสอดแทรกให้ผู้ฟังผ่อนคลายและเปิดทรรศนะทางการแสดงความคิดเห็น สิ่งที่นักพูดหลายคนอยากเห็นคือผู้ฟังไม่นั่งหลับตลอดรายการอบรม

     สำหรับใครจะพูดยาว พูดสั้นนั้นก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหา ระยะเวลาที่ได้รับในการพูด หลังจากเมื่ออ่านเรื่องนี้จบแล้วให้คุณเริ่มหัดฝึกพูดเสียแต่วันนี้ ไม่แน่ พรุ่งนี้คุณอาจได้รับมอบหมายให้พูดท่ามกลางประชาชนหมู่มาก ยืนอยู่ระหว่างสายตาร้อยคู่ที่จับจ้อง ถ้าไม่เริ่มวันนี้แล้วจะมีความกล้าวันไหน ถึงเวลาแล้วที่คุณจะ “ปล่อยของ ….

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 21 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 452 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล