ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 08 มีนาคม 2566 จำนวนผู้เข้าชม 7027 คน
08 มีนาคม 2566สำหรับพนักงานใหม่ ไม่ว่าเพิ่งจบใหม่หรือเริ่มงานใหม่ที่นี่เก่าจากที่ไหน สิ่งสำคัญที่ฝ่ายบุคคลควรตระหนักต้องมีการประเมินวัดความสามารถที่เป็นรูปธรรมให้เขาเหล่านั้นทราบว่าตนเองต้องมีการพัฒนาในหัวข้อใดบ้าง งานจุดไหนที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม สิ่งใดบ้างในองค์กรที่เขาต้องปรับเปลี่ยนเพื่อการทำงานที่ดีในอนาคต แม้แต่หัวหน้างานเองเมื่อต้องประเมินพนักงานก่อนผ่านทดลองงานควรมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมในการ Feedback ทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นจะพูดเต็มปากเต็มคำไม่ได้ว่า “เห็นสมควรได้รับการพิจารณา……”
หลักการประเมินผ่านทดลองงานพนักงานใหม่เพื่อให้ได้พนักงานที่มีศักยภาพ ควรกำหนดหัวข้อในการประเมินอิงตามสมรรถนะความสามารถ (Competency) ดังนี้
1) ประเมินความรู้ในการปฏิบัติงาน (Knowledge Assessment)
2) ประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน (Skills Assessment)
3) ประเมินการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Teamwork Assessment)
4) ประเมินทัศนคติในการปฏิบัติงานต่อองค์กร (Attitude Assessment)
อธิบายแยกย่อยหัวข้อการประเมินดังรายละเอียด คือ
1) ประเมินความรู้ในการปฏิบัติงาน (Knowledge Assessment)
หัวข้อที่ใช้ประเมินต้องมาจากใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) ที่ดำรงตำแหน่ง แบ่งออกเป็นการวัดความรู้ทั่วไปและการวัดความรู้เฉพาะตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดซื้อโรงพยาบาล จากใบกำหนดหน้าที่งานต้องมีความรู้เรื่องชื่อผู้ผลิตสินค้า ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์
- วัดความรู้ทั่วไป คือ วัดความรู้ด้านการจดจำเรื่องชื่อ ฉลากยา ขนาด ปริมาณ
- วัดความรู้เฉพาะตำแหน่ง คือ วัดความถูกต้องเรื่องสิ่งที่ผู้สั่งซื้อต้องการได้ตรงปริมาณ
2) ประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน (Skills Assessment)
หัวข้อนี้เป็นการวัดด้านทักษะเฉพาะในงานที่ปฏิบัติ เช่น ทักษะความเข้าใจ ทักษะด้านการนำเสนอ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสังเคราะห์เบื้องต้น ทักษะการนำไปใช้ วิธีการวัดอาจเป็นแนว Checklist ให้ผ่าน ไม่ผ่านหรือ ให้คะแนนจากการสังเกตการลงมือปฏิบัติหน้างานจริง (On the job training : OJT)
3) ประเมินการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Teamwork Assessment)
ในหัวข้อนี้สำคัญสำหรับการประเมินพนักงานใหม่ ควรนำประเด็นนี้มาแจกแจงประเมินความสามารถ มุมมองการทำงานในอนาคตของพนักงานเพราะพนักงานต้องมีการประสานงาน อาศัยความร่วมมือจากทีมงาน งานจึงประสบผลสำเร็จ ยกตัวอย่างหัวข้อประเมิน เช่น ผลงานร่วมที่ทำได้ในแผนก ความร่วมมือช่วยเหลือทีม ความร่วมมือในกิจกรรม… เป็นต้น
4) ประเมินทัศนคติในการปฏิบัติงานต่อองค์กร (Attitude Assessment)
เป็นการวัดประเมินสมรรถนะตรงกับองค์กรหรือแผนกต้องการ หากมีตัวชี้วัดผลค่านิยมองค์กรให้ดึงหัวข้อนั้นมาสร้างแบบประเมินวัดระดับคะแนน เป็นการวัดเรื่องบุคลิกภาพภายในความรู้สึกนึกคิด ที่มองไม่เห็น เช่น การปรับตัว (Adaptability),ความกระตือรือร้น (Energetic),การรับฟัง (Listening),จิตสำนึกในคุณภาพงาน (Quality Awareness),ความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence),ความอดทนต่อภาวะเครียดในงาน (Stress Tolerance)
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 08 มีนาคม 2566
จำนวนผู้เข้าชม 7027 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร
กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD
ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?
Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI
คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)