หน้าแรก หน้ารวมบทความ จัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)

จัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 889 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     หลังจากผ่านกระบวนการ สรรหาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม ทั้งทางผลปฏิบัติงานและสมรรถนะความสามารถ เมื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) อาจกำหนดแนวทางพัฒนาที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ความจำเป็น ระยะเวลาและงบประมาณขององค์กร 


     รูปแบบที่จัดทำทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
  
      การเลือกจัดทำแผนพัฒนา เป็นระยะ 

       - จัดทำแผนพัฒนาระยะสั้น (Short Course) : อบรม(Training),มอบหมายให้ศึกษางานดังกล่าวแล้วมาสรุป (Reading-Briefing),ศึกษาดูงานในองค์กรตัวอย่าง (Best Practice),เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) 
       - จัดทำแผนระยะกลาง (Middle Course) : ระบบจับคู่เพื่อคอยดูแลงานอย่างใกล้ชิด(Buddy),พี่เลี้ยงคอยดูแลควบคุม (Monitoring),ผู้เชี่ยวชาญสอนงานใกล้ชิด (Expert Briefing),มอบหมายให้สังเกตรายงานเป็นระยะ (Observation) 
       - จัดทำแผนระยะยาว (Long Course) : มอบหมายโครงการให้จัดทำ (Project Assignment),ส่งศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (Continuing Education) 

ตัวอย่างแผนพัฒนารายบุคคล

          ตัวอย่างแผนพัฒนารายบุคคล(จากภาพ) ต้องลำดับการพัฒนาที่เร่งด่วนและสำคัญมากเป็นอันดับแรกๆ อาจแบ่งระยะเวลา พัฒนาแต่ละ GAP ที่พบแตกต่างกัน ไม่จำเป็นว่า แต่ละรูปแบบต้องพัฒนาระยะสั้นหรือพัฒนาระยะยาว มีการผสมผสานรูปการพัฒนาในหนึ่งตำแหน่งต่างกัน แต่เมื่อจบการพัฒนาแต่ละจุด ต้องมีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ และทำการ Feedback ให้พนักงานท่านนั้นรับทราบ เพื่อนำมาปรับปรุง ส่งเสริมศักยภาพ (High Potential) ต่อไป 

          แต่ละองค์กรต้องมีการวางแผนพัฒนาที่เป็นรูปแบบมาตรฐานตนเอง ไว้ก่อน หลังมี การประเมินผลปฏิบัติงาน (KPI) ประเมินสมรรถนะความสามารถ (Competency) ในงานปลายปีแล้ว ผู้จัดทำที่รับผิดชอบดูแลแผนพัฒนา ควรมีการประชุมส่วนที่เกี่ยวข้อง รวบรวม นำเสนอ วางรูปแบบ เสนองบประมาณ ที่เหมาะสมร่วมกัน เพื่อการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 

คำถามชวนคิด 

แผนพัฒนารายบุคคล (IDP) นั้น ควรใช้พัฒนาบุคคลกลุ่มใดในองค์กร ? 

1) กลุ่มหัวหน้างาน,ผู้จัดการ 

2) กลุ่มพนักงานทำงานเกรด A ,B 

3) กลุ่มพนักงานที่หัวหน้าแผนกคัดเลือกขึ้น 

4) พนักงานที่ทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน 

5) กลุ่มพนักงานดาวเด่น 

Cr.picture 

http://www.aussiecon4.org.au/read-books 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 889 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล