ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 02 มกราคม 2564 จำนวนผู้เข้าชม 485 คน
02 มกราคม 2564กิจกรรมที่นักจัดฝึกอบรม ดำเนินกิจกรรมตลอดทั้งปี ควรมีสัดส่วน KSA นั่นคือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะในงาน (Skill) คุณลักษณะความสามารถ (Attribute) ที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
โดยแต่ละกิจกรรมควรมี การประเมินติดตาม (Follow up) อย่างต่อเนื่อง ตามไตรมาสงาน
นอกจากการจัด โปรแกรมฝึกอบรม (Training) ในหน้าที่งาน และด้านทักษะในงานอื่นๆ ที่มักเรียกติดปากกันว่า Soft Skills แล้ว สิ่งหนึ่งที่นักจัดฝึกอบรมควรคำนึงถึง คือ กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพในงาน อาจเป็นกิจกรรมหรือโครงการใหม่ โครงการต่อยอดความรู้เดิม อยู่ที่ วัตถุประสงค์ (Objective) ของผู้จัดกิจกรรม ว่าต้องการเน้นในเรื่องใด
กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพในงานนี้ โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์สำคัญ ประเด็นแรกคือ การกระตุ้นแรงจูงใจ (Motivation) ให้พนักงานมีส่วนร่วมทำกิจกรรม เล็งเห็นความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน พร้อมพัฒนาคุณลักษณะความสามารถ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ การรวมกลุ่มทีมงาน
สิ่งที่เป็นแรงจูงใจ นั้นอาจมีของรางวัล คะแนนเพิ่มหรือเงินรางวัล เป็นการตอบแทน ยิ่งกระตุ้นความสนใจพนักงานได้มากมายทีเดียว ทั้งนี้
หลักการพิจารณาในการจัดกิจกรรม ขึ้นอยู่กับงบประมาณความเหมาะสมแต่ละองค์กร
กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพในงาน อาจจัดอยู่ในแผนการประเมินสมรรถนะความสามารถปลายปี จัดอยู่ในแผนแม่บทการฝึกอบรมประจำปี (Annual Training Plan) ถือว่ามีประโยชน์มากทีเดียว ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน การสร้างความสามัคคีในองค์กร
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพในงาน
บริษัท แมคไทย จำกัด
๐ โครงการ Mc Friendly Award : โครงการแข่งขันการสร้างความประทับใจ ให้ลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน โดยให้พนักงานทุกคนในบริษัทแมคเป็นผู้ลงคะแนนเสียง
๐ โครงการ Crew of The Month : โครงการประกวดเพื่อหา Crew ดีเด่นหรือเรียกว่าผู้มีฝีมือ มีผลการปฏิบัติงานในร้านดีเยี่ยม ได้รับการยอมรับจากเพื่อนในทีมงานและผู้จัดการร้าน
๐ โครงการ Mr /Miss Mc Smile : โครงการแข่งขันกันสร้างความประทับใจการบริการด้วยรอยยิ้ม โดยการส่งรูปถ่ายตนเองหรือรูปเพื่อนร่วมงาน ขณะยิ้มแย้มให้บริการลูกค้าในชุดยูนิฟอร์มของแมค
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
๐ โครงการ COP Project : โครงการรวมกลุ่มคนทำงาน เพื่อพัฒนาต่อยอด สานต่อ หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เป็นการรวมกลุ่มบุคคลไม่เกิน 4 คน มีระยะเวลาจัดทำโครงการเด่นชัด ผลงานนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง หากกลุ่มใดชนะเลิศได้รับเงินรางวัล คะแนนบวกเพิ่มด้านการประเมินปลายปีและนำเสนอผลงานลงวารสารขององค์กร
นักจัดฝึกอบรมที่ดีนั้น ก่อนการวางแผนฝึกอบรม ต้องสามารถประเมินแยกกลุ่ม ระดับความสามารถพนักงาน ทั้งองค์กร โดยคัดเลือก กลุ่มดาวเด่น (Talent) ให้เขาได้มีการพัฒนาทักษะที่ควรเป็น วางแผนการเติบโตในสายงานอย่างเป็นขั้นตอน
แต่หากถามผู้ขียนว่า แล้วกลุ่มดาวด้อยหรือบางองค์กรเรียก กลุ่มเด็กมีปัญหา นักจัดฝึกอบรมควรทำอย่างไร คำตอบคือคนมีปัญหาต้องมี เกณฑ์การวัด (Criteria) แบบการประเมินการปฏิบัติงาน (Evaluation Performance) ที่ชัดเจน ไม่ใช่การวัดตามทัศนคติ เพื่อนำสิ่งที่บกพร่องของกลุ่มนี้มาเปรียบเทียบกับ หน้าที่งาน ทักษะความสามารถ มองว่าเขาเหล่านั้นสามารถพัฒนาถึงจุดไหน ตามกรอบงานหรือไม่ ? อยู่ในระดับใด ? จัดโปรแกรมการพัฒนาเพิ่มสิ่งที่เขาขาดหายไป ความรู้ ทักษะ ความสามารถ เมื่อประเมินซ้ำไปมา พบว่า กลุ่มดาวด้อยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ควรนำกระบวนการทั้งหมด สรุปเป็นรายงานส่งผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายบริหารเห็นชอบ ควรโยกย้าย หมุนเวียน สับเปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนองค์กรทำงานดีไหม ?
องค์กรขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ สามารถจัดกิจกรรมเพิ่มคุณภาพในงานได้ทุกที่ อาจใช้เทคนิคอื่นๆ เข้ามาเป็นองค์ความรู้ในการจัด เช่น ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม หลังอบรมด้านการลดต้นทุน มี การทำโครงการลีน (LEAN) ในภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม จัดโครงการประกวดการลีน ในแต่ละแผนก
หากนักจัดฝึกอบรม ตั้งใจจริงในการทำโครงการ มีความเข้าใจหลักการ จัดกลุ่ม Workshop แนะนำกิจกรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทั่วถึง กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันด้านนวัตกรรมความคิด ผู้เขียนเชื่อแน่ว่า กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพในงาน คือ กิจกรรมแถวหน้าขององค์กร ที่สนุก สร้างสีสัน ไม่แพ้การไป OD แน่นอน
ขอบคุณภาพ wrike.com hotphotosfree.com |
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 02 มกราคม 2564
จำนวนผู้เข้าชม 485 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
ทฤษฎีตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการ
การเลือกใช้สินค้า และบริการนั้นเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เลือกใช้ อาจมาจากข้อมูลสื่อโฆษณาในช่องทางต่างๆ ประสบการณ์คำบอกเล่า ประสบการณ์ตรงที่ได้รับมาจากผู้ใช้บริการ
พฤติกรรมบริการต่อลูกค้าทั่วไป คลินิก โรงพยาบาล
การบริการไม่ใช่สินค้าที่สามารถคงรูปรส กลิ่น เสียงได้เมื่อเปลี่ยนผู้ให้บริการพฤติกรรมการส่งมอบบริการอาจเปลี่ยนไปตามลักษณะของบุคคลนั้น สิ่งที่ทำให้พฤติกรรมการบริการคงที่คงอยู่นั้นคือ การสร้าง Empathy
การสื่อสารแบบ AIDET Plus ทุกแผนกในโรงพยาบาลทำอย่างไร ?
ในอดีตผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหลักใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Descriptions) โดยปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่ตามขั้นตอนงาน (Work Instruction) ที่จัดทำขึ้นมาจากมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามหลักการความปลอดภัย
ความคาดหวังผู้รับบริการ 6 แบบ
อันดับแรกที่ผู้รับบริการทุกคนคาดหวังแน่นอนคือความสะดวกสบาย ความรวดเร็วปลอดภัย ความมั่นใจในการได้รับบริการ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้รับบริการคาดหวังนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของลูกค้าผู้รับบริการ
ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan
ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ
Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling
Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?