หน้าแรก หน้ารวมบทความ เทคนิค 1 - 3 – 5 - 1 ปฐมนิเทศพนักงาน

เทคนิค 1 - 3 – 5 - 1 ปฐมนิเทศพนักงาน


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 1079 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          การแนะนำรายละเอียดขององค์กร โครงสร้าง หน้าที่งาน วัฒนธรรมองค์กรคงไม่เพียงพอ ที่ทำให้ตัดสินใจทำงานหรือเดินจากไปแบบกู่ไม่กลับ หลายองค์กรพยายามเฟ้นหาคนเก่งมาทำงานพร้อมกับสูญเสียคน เก่งให้คู่แข่งไปแบบลอยละลิ่ว ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องเล็กๆสำหรับการจัดโปรแกรมปฐมนิเทศ (Orientation)พนักงานใหม่ ความสำคัญอยู่ที่ผู้จัดโดยฝ่ายพัฒนาบุคลากรมีความพร้อมในการวางแผนอย่างไร กำหนดวัตถุประสงค์เตรียมวางโปรแกรมเหมาะสม หรือไม่

เทคนิค 1 - 3 – 5 - 1 ปฐมนิเทศพนักงาน

          หลายท่านพบปัญหา เรื่อง ผู้เข้าปฐมนิเทศน้อยไป ไม่มีวิทยากรภายในอบรม รูปแบบการจัด ห้องประชุมงบประมาณจำกัด หรือแม้แต่ ระยะเวลาเร่งรีบ แผนกต้องการคนทำงานทันที พนักงานใหม่ที่นี่ เก่าที่อื่นหรือใหม่เอี่ยมแกะกล่อง ย่อมต้องการรับทราบข้อมูลที่จำเป็นขององค์กร เพื่อการทำงานที่มีความคล่องตัว ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร จึงจะสามารถ “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ได้

          ฝ่ายพัฒนาบุคลากรจึงควรให้ความสำคัญในการจัดโปรแกรมปฐมนิเทศ (Orientation) ควบคู่กับ โปรแกรมพัฒนาพนักงานใหม่ (Trainee Program) ด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนในการเป็นที่ปรึกษางานพัฒนาบุคลากร พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมพนักงาน

แนะนำสูตรสมการ การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ เรียก 1 - 3 - 5 – 1

จำนวนชั่วโมงการอบรม คิดเป็น (100%) ขึ้นอยู่กับการประมวลผลสมการข้างต้น โดยคิดดังนี้

               1.Policy คือ นำนโยบายและทิศทางองค์กรในปีนี้ โครงสร้างฝ่ายบริหาร แผนกงาน ส่วนงานที่ต้องประสานงานรวมถึงหน่วยงานให้คำปรึกษากรณีพนักงานใหม่พบข้อผิดพลาด หัวข้อนี้ทำให้พนักงานไม่ลอยเคว้งหรือหมดกำลังใจปฏิบัติหน้าที่ต่อ กรณีพบปัญหาในงานหรือหัวหน้างาน ที่สำคัญสร้างความน่าเชื่อถือต่อภาพลักษณ์แรกที่พนักงานเข้างาน

               2.Training Need Survey คือ ประมวลผลที่สำคัญด้านความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรมจากข้อมูลเดิมปีที่ผ่านมา ใช้เป็นหัวข้อฝึกอบรมพนักงานใหม่ ไม่ต้องลงรายละเอียดเชิงลึก ให้พนักงานเห็นภาพใหญ่(Big Picture)โดยสังเขป ลำดับความสำคัญแต่ละหลักสูตร ไม่เกิน 3 หลักสูตร เช่น หลักสูตรทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communications),หลักสูตรการบริหารเวลา (Time management) เป็นต้น

               3.JD คือ หน้าที่งานสำหรับพนักงานใหม่ แต่ละแผนกงาน ไม่ต้องลงรายละเอียดระบุเป็นรายบุคคล ควรชี้แจงภาพรวมของแต่ละส่วนงาน พนักงานต้องทำงานหรือประสานงาน ในหัวข้อนี้ ฝ่ายพัฒนาบุคลากรควรมีการ วางแผนจัด พี่เลี้ยง(mentoring)ผู้มีความชำนาญการทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ควรมีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป ไว้คอยดูแล ให้คำปรึกษาในเนื้องาน พร้อมจัดตารางชั่วโมงฝึกฝนอบรม ให้พนักงานเกิดความชำนาญ การจัดชั่วโมงฝึกมากหรือน้อยเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละหน้าที่งาน โดยนำ Competency มาใช้ในการเก็บชั่วโมงฝึกฝนได้ ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก

              4.Ice Breaking /workshop เป็นการจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อคลายความวิตกกังวลของพนักงานใหม่ ทำ ความรู้จักเพื่อนร่วมองค์กร เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน พร้อมผสมผสานการจัด workshop เปิดเวทีนำเสนอและสร้างสรรค์แนวคิดสำหรับพนักงานใหม่ต่อองค์กร การจัดกิจกรรมนั้นขึ้นอยู่กับสถานที่ ผู้จัดอาจปรับเปลี่ยนตามจำนวนคน ขนาดห้องประชุม มีการสรุปกิจกรรมโดยทีมวิทยากรหรือผู้จัด ผู้เข้ารับการปฐมนิเทศจะมี ความรู้สึกผูกพันต่อเพื่อนและองค์กรในระดับหนึ่ง ถือว่ากิจกรรมนี้ ต้องอาศัยทีมหรือผู้จัดที่มีความเป็นมืออาชีพมีความกระตือรือร้น การจัดโปรแกรมนี้จะมีประสิทธิภาพ

              เทคนิคการจัดอาจมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เหมาะสมตามขนาดองค์กร สิ่งที่ผู้จัดการอบรมพัฒนา ลืมไม่ได้เลย นั่นคือ เมื่อจัดการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่เรียบร้อยแล้ว ควรมีการประเมินผล (Evaluation) พนักงาน ใหม่รายเดือน 3 เดือน 6 เดือน และรายปี เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุง เสริมสมรรถนะความสามารถ พนักงาน ให้ตรงกับคุณสมบัติหน่วยงาน และเสริมรากฐานการพัฒนาสู่ความสำเร็จในอาชีพต่อไป

             ท้ายที่สุด หากองค์กรให้ความสำคัญ “ ก้าวแรกพนักงาน ” เชื่อแน่ว่า อย่างน้อยพนักงานที่คงอยู่หรือเดินจากไป จักเป็น “กระบอกเสียงสำคัญ” ต่อภาพลักษณ์องค์กรไม่ต้องเปลืองงบโฆษณา

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 27 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 1079 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance

การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ

ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI

ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม

ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว

ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus

ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร