ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 22 ธันวาคม 2563 จำนวนผู้เข้าชม 677 คน
22 ธันวาคม 2563วิวัฒนาการของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 20 ล้านปีกว่ามานี้ โดยเริ่มจากการเดินสองเท้า การหาอาหารล่าสัตว์ เครื่องปกปิดร่างกายกลายมาเป็นเครื่องนุ่งห่มและสร้างที่อยู่อาศัยจากเดิมอยู่ป่ามาสู่คอนกรีตหรูหรากลางกรุง รู้จักเรียนรู้การใช้ชีวิตการเป็นอยู่อย่างมีอารยธรรม (Civilization) ตามลำดับขั้นเวลา และเมื่อมีความเจริญรุ่งเรืองเข้ามาเพิ่มคุณภาพชีวิต ความวุ่นวายในสังคมต่างตามมาในรูปแบบหลากหลาย เหมือนอย่างที่ว่า บางท่านว่าไว้ “ปัญหามาปัญญาเกิด” จริงหรือไม่
คนเราหากมองปัญหาคือปัญญา เราจะพบทางออกของการแก้ด้วยตนเอง ผู้เขียนจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดศาสนิกชนทั่วโลก จึงทราบซึ้งตรึงใจกับหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายคำสอน ในเรื่องของ “ทุกข์กับการดับทุกข์ :อริยสัจ 4 นั่นคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค” ที่สามารถนำมาปรับใช้กับสถานะการณ์การทำงานแก้ไขการบริหารงานภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกฝืดเคือง นอกจากเรามองเห็นความจริงในชีวิต เรายังมองเห็นการแก้ปัญหาตามหลักการเกิดมากกว่าหนีปัญหาไปตายดาบหน้าเสียอีก
จากประสบการณ์การทำงานที่ปรึกษาองค์กรและวิทยากรที่ปรึกษา มองเห็นปัญหาหลายจุดที่เป็นช่องโหว่ของการพัฒนาหลายองค์กรมาจาก “คน” ทั้งสิ้น “คน” ล้วนต้องอาศัยการปรับปรุงแก้ไขแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เพราะคนจะมีแรงขับภายในที่กลั่นกรองระบบถ่ายทอดโดยสัญชาตญาณคือ “ปฏิเสธ” ไว้ก่อน บางองค์กรใช้หลัก “เชือดไก่ให้ลิงดู”ก็มี แต่หากขาดคนทำงานแล้วใครจะทำงานแทน “คน”
“ทุนมนุษย์(Human Capital)” ถือเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร ได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารหลายท่านในองค์กรแนวหน้าระดับประเทศจึงหันมาสนใจพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้นกว่าในอดีต การพัฒนาพนักงานในองค์กรให้เก่งเพื่อเป็นหัวหอกขององค์กร สร้างคนเก่งระดับแถวหน้าธุรกิจ ถือเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้บริหารมอบหมายแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาบุคลากรในทุกสาขาวิชาชีพ ส่วนใหญ่ระดมงบประมาณไปกับการฝึกอบรมทั้งในและนอกสถานที่โดยขาดการติดตามอย่างมีประสิทธิผล การฝึกอบรมถูกจำกัดด้วยชั่วโมงและระยะเวลาที่อบรม ดังนั้น งบประมาณที่ใช้จ่ายไปกับการฝึกอบรมเมื่อประเมินความคุ้มค่าในงาน แต่ไม่ได้นำมาใช้จริงอบรมไปตามข้อบังคับมีประโยชน์ต่อการพัฒนาน้อยมาก บางครั้งใช้การอบรมในหน้างานแบบ Hands -On Trainingหรือ อบรมแบบ On The jobs Training ใช้ไม่ได้ผลสำหรับงานทุกงาน ดังนั้น หากหัวหน้าไม่เก่งไม่เป็นบอนไซขององค์กรอย่างแท้จริง ลูกน้องจะเอาแบบอย่างที่ดีได้จากใคร ?
กลยุทธ์การบริหารคน ถือเป็นหมัดเด็ดในการทำงานครองคน ทำให้งานสำเร็จเป็นตามที่คาดหมายไว้ ในวรรณกรรมจีน เรื่องสามก๊ก “เล่าปี่นั้นถือเป็นแบบอย่างนักบริหารที่ดีมีกลยุทธ์ด้านการครองคนคือสามารถรวมใจคนเก่งมาช่วยงานให้สำเร็จแม้ไม่ได้สู้รบเก่งกาจที่สุด หากลองเอาไปเทียบกับโจโฉที่ใช้แต่อำนาจสั่งการ เล่าปี่จะเก่งกว่าทั้งวาทะศิลป์และศิลปะการบริหารคนโจโฉนั้นเอาชนะเล่าปี่ได้อย่างไม่เด็ดขาดจนทั้งคู่ตายจากกันไปเล่าปี่สามารถนำปัญญาอันชาญฉลาดของขงเบ้ง บังทอง สองอัจฉริยะแห่งยุค กวนอูเตียวหุย ขุนศึกที่ฝีมือเก่งกาจด้านการรบ ไม่รวมจูล่ง มาเฉียวและอีกมากมายหลายคน ที่มาร่วมรบด้วยความศรัทธาในตัวเล่าปี่เป็นทุนเดิม มากกว่าการใช้อิทธิพลสั่งการบังคับ” นี่คือตัวอย่างนักบริหารองค์กรที่สามารถครองคนและครองงานได้อย่างยอดเยี่ยม มีหลายท่านในมุมมองนักวิชาการบริหารถึงกับเอ่ยปากว่า “หากใครได้อ่านสามก๊กจบถึง 3 ครั้ง คบไม่ได้”
ได้อ่านบทสัมภาษณ์ หญิงเก่งท่านหนึ่ง รู้สึกประทับใจ ผู้หญิงตัวเล็กแต่บริหารงานด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่ น่าสนใจแนวคิดการแก้ปัญหาในยุคเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน โดยมองปัญหาคือโอกาส “เคยคิดจะเลิกกิจการไป …เพราะปัญหาเข้ามาเยอะมาก ธุรกิจส่งออกใบตองต้องใช้ต้นทุนสูงเพราะเป็นประเภท Frozen Foods..การทำใบตองมีขั้นตอนการทำงาน 3 ไลน์ แต่ละคนในไลน์ทำงานไม่เหมือนกันต้องเข้าไปศึกษาแต่ละไลน์ใครทำงานดีที่สุด เร็วสุด นำมาSet มาตรฐาน แรกๆคนจะรู้สึกว่าก็ทำงานดีอยู่แล้ว ยุ่งยาก แต่เมื่อเขาทำงานเร็วขึ้น ดีขึ้น ประสิทธิภาพงานก็ดีขึ้น” จึงเป็นที่มาของธุรกิจใบตองร้อยล้าน ของคุณ ผึ้ง ดร.นงนุช อธิพันธุ์อำไพ ที่ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ ขวัญเรือน ฉบับเดือน กรกฎาคม2558 ท่านไหนสนใจวิธีคิดแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยม อย่างเป็นระบบของคุณผึ้งคนสวย ลองไปหาอ่านดูนะคะ
หากการทำงานพบปัญหามากมาย เราควรจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (อ่านได้ในบล็อกบทความของผู้เขียน www.ophconsultant.com)รับรองว่าจากกองเท่าภูเขาเหลือเล็กเท่ากองทราย จัดการได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม ที่สำคัญคุณดูเป็นมืออาชีพด้านการทำงานที่สุด ให้พึงจำไว้ว่า “ปัญหามีไว้แก้ ไม่ได้มีไว้หนี” ค่ะ
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 22 ธันวาคม 2563
จำนวนผู้เข้าชม 677 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร