ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 25 กันยายน 2566 จำนวนผู้เข้าชม 1735 คน
25 กันยายน 2566“คนคือตัวแปรสำคัญส่งมอบและทำลายการบริการ พฤติกรรมการบริการไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เมื่อผู้ให้บริการเปลี่ยนคน ความพึงพอใจผู้ได้รับบริการอาจเปลี่ยนไป”
ทำอย่างไร? ให้ควบคุมคุณภาพการบริการให้ดี พึงพอใจ ประทับใจและเกินคาดหวัง …
หนึ่งในกลยุทธ์การจัดการพัฒนาระบบบริการที่มีประสิทธิผล (Effectiveness) อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม คือ การควบคุมมาตรฐานบริการ (Service Standard)
กลยุทธ์การควบคุมมาตรฐานบริการ (Service Standard)
ประกอบด้วย 5 ข้อ คือ
1. การควบคุมดูแลจากผู้บังคับบัญชาในสายงาน (Direct Supervisor Controlling)
: หัวหน้าในสายงานวางนโยบายการให้บริการหน่วยงานสอดคล้องกับนโยบายองค์กรโดยระบุเป็นข้อ เข้าใจง่าย จำไปใช้ง่าย พร้อมรับผิดชอบดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ จัดตารางประชุมประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ติดตามแก้ปัญหาการบริการอย่างใกล้ชิด ใช้ กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจพนักงานแบบ 4S* กระตุ้นการให้บริการมากกว่าการรอคอยบริการ
หากหัวหน้าหมั่นดูแลควบคุม ให้คำปรึกษาช่วยแก้ปัญหา ทำให้ลูกน้องรู้สึกอุ่นใจ เกิดความกระตือรือร้น ยำเกรง เน้นการทำงานที่ผลลัพธ์ความใส่ใจงดใส่อารมณ์
2. สร้างค่านิยมหลักองค์กรให้เป็นมาตรฐาน (Standardization of Core Value)
: โดยนำเรื่องการบริการด้วยใจเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ทุกคนในองค์กรต้องมีและขับเคลื่อนไปด้วยกัน พร้อมเป็นต้นแบบวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร ทุกคนล้วนมีแบบอย่างการทำงานรุ่นสู่รุ่นในเรื่องค่านิยมด้านการบริการ
ค่านิยมในองค์กร หมั่นทบทวนเป็นค่านิยมหลักในหน่วยงานทำงานด้วยความเห็นอกเห็นใจเอาใจใส่อย่างไร้ข้อแม้
3. สร้างกระบวนการทำงานให้มีมาตรฐาน (Standardization of Work Process)
: การเขียนรายละเอียดกระบวนการบริการ Service Storyboard ทุกขั้นตอนในงานหรือจาก Work Instruction ช่วยให้การบริการมีมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร หน่วยงาน โดยนำ WI เป็นต้นแบบกระบวนการทำงาน ลำดับขั้นการ
บริการ จากจุดแรกถึงจุดสุดท้ายของการทำงาน สิ่งที่ผู้ให้บริการส่งมอบ ทั้งการเปิดรับแรกรับ บุคลิกภาพ พฤติกรรม ท่าทาง การสื่อสาร การทักทาย เส้นทางการส่งมอบการบริการ รวมถึงการป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะให้บริการ
ควรจัดหมวดหมู่แยกแต่ละแผนก ส่วนงาน ซึ่งการเขียนกระบวนการทำงานบริการ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เมื่อนโยบายหลักการบริการขององค์กรเปลี่ยนไป
4. สร้างทักษะงานบริการให้มีมาตรฐาน (Standardization of Service Skills)
: การสร้างทักษะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การพัฒนาความรู้ทักษะด้านบริการและการกำหนดมาตรฐานผู้ให้บริการ
ทั้งหลักความรู้ความเข้าใจผู้รับบริการ ทักษะการบริการ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การติดตามแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ แบ่ง 5 ช่วงระดับ
เช่น Basic (พื้นฐาน) , Doing (ทำตามหน้าที่) , Developing (แก้ปัญหาได้มีการพัฒนาเป็นลำดับ) , Advanced (แก้ไขข้อตำหนิร้องเรียนได้ไม่เกิดปัญหา) , Expert (มีความเชี่ยวชาญเป็นวิทยากรที่ปรึกษาในองค์กร)
5. สร้างผลลัพธ์ให้มีมาตรฐาน (Standardization of Outcomes)
: การบริการเป็นงานที่ไม่มีผลผลิต(Output) เชิงปริมาณ จำนวนวัดได้ชัดเจนทันทีในขณะนั้น เช่น จำนวนผู้ใช้บริการ ยอดขายสินค้า จัดส่งของครบรายการ ทำงานทันตามกำหนดเวลา
งานบริการเป็นการวัดผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการทำงานตั้งแต่เริ่มการให้บริการถึงจุดสุดท้ายการบริการ มีผลที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นทันทีหรือระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นกระทบต่อตัวบุคคล สังคม ทรัพยากรงบประมาณและภาพลักษณ์องค์กร
สร้างผลลัพธ์ให้มีมาตรฐานเป็นการนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาหรือมีโอกาสเกิดขึ้น มากำหนดมาตรฐานแต่ละตำแหน่งงานหรือแผนกงาน นำ Pain points มาสร้างมาตรฐานการบริการ เช่น จำนวนการกลับมาใช้บริการลูกค้าเดิม การบอกต่อการใช้บริการ ขั้นตอนงานความซ้ำซ้อนยุ่งยากการบริการ คะแนนความพึงพอใจการบริการ ความสำเร็จในการติดต่อประสานงาน เป็นต้น
ปัญหาที่พบบ่อยด้านการร้องเรียนหรือพฤติกรรมการบริการ
เหล่านี้ มีผลให้ภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย มีโอกาสผู้รับบริการบอกปากต่อปากในทางลบ เกิดการกระจายข้อความเป็นวงกว้าง กรณีองค์การภาครัฐบางแห่งอาจไม่ได้ส่งผลกระทบด้านรายได้รายรับมากนัก เนื่องจากการดำเนินงานขององค์การภาครัฐมีเงินงบประมาณอุดหนุนส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่มาจากรัฐบาล นโยบายการทำงานการจัดการขององค์การภาครัฐ เน้นการพัฒนากระบวนการ (Process-Oriented) มากกว่าผลลัพธ์ที่ผู้รับบริการพึงได้รับอย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย
ในองค์กรเอกชนจำนวนผู้รับบริการ รายได้นั้นมาจากการดำเนินธุรกิจ เน้นเพิ่มลูกค้าใหม่รักษาฐานลูกค้าเดิม ผู้รับบริการทั้งด้านอุปโภคบริโภคมีสิทธิ์เลือกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองตามงบประมาณพึงมี องค์กรภาคเอกชนตระหนักถึงการพัฒนาระบบบริการเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น เชื่อใจ ให้ผู้รับบริการกลับมาใช้บริการซ้ำ การทำงานการจัดการภาคเอกชนเน้นวางเป้าหมายเพื่อผลงาน (Target-Oriented) ลดกระบวนการที่ซ้ำซ้อนยุ่งยาก เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งวัสดุอุปกรณ์ เวลา บุคลากรและเพิ่มความสะดวกให้ผู้รับบริการ
เมื่อพบปัญหาด้านบริการเกี่ยวกับการสื่อสาร พฤติกรรม บุคลากร ที่เกิดขึ้นทุกครั้งหลังจบ การจัดฝึกอบรม (Training) ควรต่อยอดการวางแผนจัดทำ “กลยุทธ์การควบคุมมาตรฐานบริการ (Service Standard)” วางแผนแบ่งเป็นระยะหรือไตรมาส เพื่อควบคุมติดตามการบริการอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 25 กันยายน 2566
จำนวนผู้เข้าชม 1735 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD
ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?
Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI
คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)
อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?
อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง
ทฤษฎีตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการ
การเลือกใช้สินค้า และบริการนั้นเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เลือกใช้ อาจมาจากข้อมูลสื่อโฆษณาในช่องทางต่างๆ ประสบการณ์คำบอกเล่า ประสบการณ์ตรงที่ได้รับมาจากผู้ใช้บริการ
พฤติกรรมบริการต่อลูกค้าทั่วไป คลินิก โรงพยาบาล
การบริการไม่ใช่สินค้าที่สามารถคงรูปรส กลิ่น เสียงได้เมื่อเปลี่ยนผู้ให้บริการพฤติกรรมการส่งมอบบริการอาจเปลี่ยนไปตามลักษณะของบุคคลนั้น สิ่งที่ทำให้พฤติกรรมการบริการคงที่คงอยู่นั้นคือ การสร้าง Empathy
การสื่อสารแบบ AIDET Plus ทุกแผนกในโรงพยาบาลทำอย่างไร ?
ในอดีตผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหลักใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Descriptions) โดยปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่ตามขั้นตอนงาน (Work Instruction) ที่จัดทำขึ้นมาจากมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามหลักการความปลอดภัย