ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 07 สิงหาคม 2566 จำนวนผู้เข้าชม 1031 คน
07 สิงหาคม 2566“ลูกค้าที่ไม่พึงพอใจการบริการมีไม่กี่คนที่เดินมาตำหนิต่อว่าทันที ส่วนใหญ่เก็บความคับอกคับใจไว้ บอกต่อคนอื่นและหันหลังไม่กลับมาใช้บริการอีกเลย”
พบว่าการทำงานด้านการให้การบริการช่วยเหลือ ย่อมมีความผิดพลาดจากความไม่ตั้งใจได้ง่าย โดยผู้รับบริการมีความคาดหวังการให้บริการในระดับพึงพอใจเสมอ
ซึ่ง ระดับความพอใจความคาดหวังแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย คือ
1. ประสบการณ์เดิมที่ลูกค้ามี
: ผู้รับบริการเคยใช้บริการในลักษณะการบริการแบบเดียวกันและได้รับการบริการในระดับดีมาก่อน ทำให้คาดหวังในครั้งนี้อยู่ในระดับที่พึงพอใจขึ้นไป เช่น ลูกค้าเคยพักโรงแรมริมทะเลอากาศดี พนักงานต้อนรับพูดเพราะสนใจช่วยเหลือทุกขั้นตอน อาหารเช้ามีหลากหลายรสชาติอร่อย ห้องพักสะอาดมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน นี่ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่เคยได้รับเดิมในขั้นที่เป็นบรรทัดฐานการเลือกรับบริการครั้งถัดไปต้องดีเทียบเท่าหรือดีกว่า
2. คำบอกเล่า
: ปัจจัยในข้อนี้ค่อนข้าง มีอิทธิพลต่อลูกค้ามาก เพราะคือคำบอกเล่า เกิดจากการได้รับรู้ประสบการณ์จริงจากบุคคลอื่น อาจมาจากการบอกเล่าตัวบุคคลหรือการบอกเล่าส่งข้อมูลทางออนไลน์ เผยแพร่สู่วงกว้างขวางส่งผลต่อภาพลบในการเลือกเข้ามารับบริการในระยะยาว เช่น การบอกเล่าเรื่องราวผ่าน Google ให้คะแนนรีวิวความพึงพอใจ จาก 5 คะแนนเต็ม หากได้คะแนนรีวิวดีถือว่าส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนผู้รับบริการแต่หากคะแนนรีวิวน้อย ส่งผลต่อความหวาดระแวงการเข้ารับบริการ กลัวการได้รับบริการไม่ดีอย่างคำบอกเล่านั้นๆ
3. การโฆษณาประชาสัมพันธ์
: เกิดจากการได้รับรู้ข้อมูลจากสื่อโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆ ทำให้ผู้รับบริการสนใจต้องการใช้บริการ เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์ วารสารนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ออนไลน์ Facebook Line Youtube เป็นต้น
4. ชื่อเสียงแบรนด์
: ผู้รับบริการเคยได้รับเสียงชื่นชมจากผู้มีชื่อเสียงที่เคยใช้บริการ หรือแบรนด์เคยได้รับรางวัลเกียรติยศ บางครั้งชื่อเสียงอาจเกิดจากที่สถานที่หรือแบรนด์นั้นเป็นหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนระดับประเทศ ทำให้ดูน่าเชื่อถือ
5. ความพอใจส่วนตัว
: ปัจจัยข้อนี้เกิดจากที่ตัวบุคคลผู้รับบริการมีความต้องการ ความพอใจในการเข้ารับบริการโดยไม่มีปัจจัยอื่นมีผลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรียกว่า ความชอบส่วนบุคคล
ดังนั้น ผู้ให้บริการควรมีการเตรียมตัวในการป้องกันปัญหาการเกิดความไม่พึงพอใจ โดยควรมีวิธีการตั้งรับคำตำหนิข้อร้องเรียนที่ดี ป้องกันการเกิดปัญหาหรือทำงานเชิงรุกทำอย่างไรให้ผู้รับบริการอยู่ในระดับพึงพอใจและประทับใจ
เทคนิคตั้งรับคำตำหนิเรื่องร้องเรียน (Complaints Handling) เรียก Seven C (7Cs)
|
การทำงานนอกจากมีความรู้ในงาน ในวิชาชีพแล้วจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา การตัดสินใจอื่นๆ เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาและมีความสุขในการทำงาน
โดยเฉพาะพนักงานบรรจุใหม่ พนักงานจบใหม่จำเป็นต้องฝึกอบรม(Training)และฝึกปฏิบัติ(Workshop)ทักษะการทำงานแก้ปัญหาเชิงรุกไว้ป้องกันการเกิดปัญหา สามารถหาทางออกที่เหมาะสมไม่ตื่นเต้นตกใจเกินพอดีหรือทำอะไรไม่ถูกเมื่อเกิดเหตุ
“เพราะการบริการหยิบจับไม่ได้คือพฤติกรรมการทำงานแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของลูกค้าที่แตกต่างกัน ”
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 07 สิงหาคม 2566
จำนวนผู้เข้าชม 1031 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้
จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร