ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 22 ธันวาคม 2563 จำนวนผู้เข้าชม 718 คน
22 ธันวาคม 2563หลายบริษัทที่กังขาอยู่ระหว่างการใช้งบประมาณเพื่อการฝึกอบรมพนักงาน ใช้เท่าไรดี?หรือแค่ปฐมนิเทศพนักงานใหม่ อบรมคนเก่าบ้างพอหอมปากหอมคอ สำหรับนัก HRที่ดีนั้นต้องมองพนักงานในองค์กรตั้งแต่แรกเข้าแบบ 360 องศา (ทำอย่างไรให้เขาอยู่ได้ตั้งแต่วันแรกถึงวันเกษียณแบบสบายใจได้ทำงานเต็มความสามารถ)บางคนจบใหม่มาแบบป้ายแดง ต้องการเข้ามาทำงานเพื่อหาประสบการณ์จริงและยืนอยู่คู่องค์กรแต่เมื่อเจอเรื่องเล็กๆสะกิดความคับข้องใจน้องก็ตัดสินใจลาออกไปแบบไม่ร่ำลา บางคนพนักงานเก่าที่อื่นแต่ใหม่ที่นี่อาจมาแบบเก๋าเกินเรียน ป้อนข้อมูลเท่าไร ดูน้องจะรู้ไปกว่าพี่และบางคนเก๋าแบบเซียนทำงานแท้จริง พร้อมรับข้อมูลในองค์กรแต่ได้รับการสอนงานไม่เป็นน้องก็ลาออกอย่าง “น่าเสียดาย” แต่ละคนไม่ว่าจะมาจากที่ใดเมื่อเริ่มงานใหม่ถือว่า”เป็นพนักงานใหม่”ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างองค์กร นโยบายที่แตกต่างกันไป
สิ่งที่นัก HR และ HRD ลืมไม่ได้คือ ทำอย่างไรให้เขาเหล่านั้น “หล่อหลอมเป็นรากแก้วขององค์กร ” (Roots of Organization) ตั้งแต่แรกเข้าพร้อมเตรียมสร้างพิมพ์นิยมที่ดีให้เป็นรุ่นพี่ที่ดี รับและส่งต่อวัฒนธรรมที่ดีให้เกิดต่อเนื่องแก่รุ่นต่อไป แต่รุ่นพี่ที่อยู่นี่สิ ?? จะทำอย่างไร เคี่ยวเข็นอย่างไรให้เป็น “ดาวเด่น”
หลายบริษัท นัก HR ได้เปลี่ยนแปลงระบบการพัฒนาคนอย่างขั้นบันไดและประสบความสำเร็จมาแล้ว หากบริษัทของท่านประสบปัญหาสอนงานไม่เป็น ? เป็นที่ปรึกษาไม่เก่ง?ทำอย่างไรให้พนักงานใหม่เก่งเท่ากับตลาดแรงงาน ? ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป การสอนงาน (Coaching)และการเป็นที่ปรึกษา(Consulting) จะช่วยสร้าง Brand Royalty แก่องค์กรอย่างถาวร
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 22 ธันวาคม 2563
จำนวนผู้เข้าชม 718 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ
เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป
เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus
เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร