หน้าแรก หน้ารวมบทความ เลือกวัคซีนโควิดชนิดไหนดี ?

เลือกวัคซีนโควิดชนิดไหนดี ?


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 339 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          วัคซีนป้องกันโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) จะใช้ฉีดจริงในประเทศไทย โดยฉีดกลุ่มแรกในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์พื้นที่เสี่ยงสูงสุดก่อนต่อมาจึงจัดสรรตามลำดับ

      แน่นอน!! คำถามของใครหลายคนคือ

     แล้วคนทั่วไปจะได้มีสิทธิ์ฉีดวัคซีนนี้เมื่อไร ? 

     เราจะได้ใช้วัคซีนของบริษัทอะไร ?

     โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งประกาศมีความความพร้อมในการจัดหา นำเข้าวัคซีนป้องกันโควิด มาเพื่อให้บริการกลุ่มลูกค้าแฟนคลับประจำของโรงพยาบาล แต่แล้วต้องแตะเบรกรอไว้ก่อนด้วยรายละเอียดหลายๆประเด็นทั้งประเด็นข้อกฎหมายที่ข้องเกี่ยวด้านวัคซีนฉุกเฉิน ประสิทธิภาพวัคซีน ระยะการวิจัยทดลอง 

     รวมถึงการนำเข้าวัคซีนต้องได้รับการยื่นรับรองจาก อย. พร้อมเอกสารการวิจัย ทดลองอื่นๆในเนื้อหารายละเอียดชี้แจงจากบริษัทต้นสังกัดผู้ผลิตวัคซีนซึ่งทราบว่าแตะหมื่นหน้าทีเดียว แต่ที่แน่นอนคืออย่างไรทางภาครัฐบาลต้องดำเนินการนำเข้ามาเพื่อใช้ในการฉีดป้องกันแน่นอน ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนหลายๆประการ

     ก่อนอื่นเราควรทราบก่อนการตัดสินใจเลือกรับบริการ ว่าวัคซีนที่ผลิตแต่ละแบรนด์นั้น มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร  

     ข้อดีข้อเสียของวัคซีนในแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ณ ปัจจุบันในสถานการณ์สภาวะฉุกเฉินช่วงมีการแพร่ระบาดโควิด  มีการทดลองวัคซีนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

      1. วัคซีนชนิด mRNA (Messenger ribonucleic acid) เป็นวัคซีนที่ห่อหุ้มด้วย Lipid nanoparticle ฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อโปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดีเป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด 19  ตัวอย่างเช่นวัคซีนจากสหรัฐฯ บริษัท Pfizer,Moderna

วงจรชีวิต mRNA ของยูคาริโอต (อ้างอิงข้อมูล From Wikipedia https://en.wikipedia.org/wiki/Messenger_RNA)

      ข้อดี : วัคซีนชนิดนี้สร้างภูมิต้านทานได้สูง

      ข้อเสีย : มีอาการข้างเคียงจากผู้ได้รับวัคซีนแล้ว เช่นอาการไข้ ปวดเมื่อยครั่นเนื้อตัว

      ในระยะยาวต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม

      2. วัคซีนชนิดไวรัส Vector เป็นวัคซีนที่นำสารพันธุกรรมไวรัสเข้าไปไว้ในไวรัสที่เป็นVector เพื่อให้ไวรัสVectorส่งสารพันธุกรรมโควิดเข้าไปในเซลล์มนุษย์ เข้าไปถอดรูปพันธุกรรม มีการเข้าไปในนิวเคลียสลอกแบบและเปลี่ยนmRNA ออกมาในไซโทพลาสซึม mRNAเข้าไปในไลโบโซมสร้างโปรตีนส่งผ่านนอกเซลล์ เพื่อสร้างแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต้านทานโรคโควิด 19  ตัวอย่างเช่นวัคซีนจากอังกฤษ บริษัท AstraZineca , จากรัฐเซีย Spuknic V

Life Cycle of the cell

(อ้างอิงข้อมูล From Wikipedia https://en.wikipedia.org/wiki/Cell_cycle )

      ข้อดี: วัคซีนชนิดนี้เก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศา ราคาถูก

      ด้วยที่วัคซีนนี้เป็นการทดลองวัคซีนชนิดใหม่ ซึ่งในขั้นตอนการผ่านนิวเคลียสของเซลล์ ยังไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัวกับนิวเคลียสของเซลล์หรือไม่ ต้องศึกษา ติดตามผลต่อไปในระยะยาว

     3. วัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ วัคซีนป้องกันโปลิโอ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น ทำการเพาะเลี้ยงบน Vero cell เมื่อเพาะได้จำนวนมากจึงนำมาทำลายฆ่าเชื้อให้ตาย แล้วนำมา Formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน ตัวอย่างเช่นวัคซีนจากประเทศจีนเช่น Sinovac,Sinopharm

    ข้อดี : ปลอดภัยสำหรับคนภูมิต้านทานต่ำเหมาะสำหรับคนมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง  เชื้อจะไม่ไปกระตุ้นภูมิต้านทานไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง

    ข้อเสีย : ผลิตได้ครั้งละไม่มาก ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากต้องเพาะเชื้อในห้องชีวนิรภัยระดับสูง

     ในวันข้างหน้าปลายปีหรือปีถัดไป หากประชาชนสามารถเลือกรับการฉีดวัคซีนได้ตามโรงพยาบาลเอกชน ที่เขาเลือก ก็เป็นจุดดีข้อหนึ่งทำให้เกิดช่องทางการเลือกรับบริการที่หลากหลาย ไม่แออัดรับบริการเฉพาะโรงพยาบาลภาครัฐ เพราะแค่ลำพังรับดูแลรักษาพยาบาลโรคทั่วไปงานนี้โรงพยาบาลรัฐบาลก็เหนื่อยมากโขพอตัวอยู่แล้ว จะต้องมารับบริการฉีดวัคซีนอีก!!

    คำถาม คือ…แล้วราคาวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชนจะพุ่งสูงลิ่วไหม? ในกลุ่มผู้มีกำลังซื้อเป็นแฟนคลับพันธุ์แท้ 90 % ขึ้นไปของโรงพยาบาลคงไม่หวั่นไหวสะทกสะท้าน แต่ในกลุ่ม % ประชาชนผู้สนใจทั่วไปจะจ่ายสูงไหวไหม ? 

    คำตอบ คือ ถึงวาระนั้น ราคาค่าบริการคงแปรผันไปตามกลไกทางการตลาดแน่นอน ! 

     นั่นคือ ถ้าปริมาณวัคซีนน้อย ประชาชนต้องการมากราคาย่อมสูงแต่ขณะนั้นถ้าปริมาณวัคซีนมาก ต้องการมากการแข่งขันทางราคาไม่น่าต่างกันมากเท่าไร ? ต้องแข่งขันทางราคาและวัดกันด้วยระดับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการบริการ (Excellence Service Behaviors :ESB) 

     เรื่องการบริการนี้สำคัญ!!  ทำให้ผู้อุปโภคบริโภคมีอำนาจในการตัดสินใจได้เร็วขึ้น ต่อให้ราคาสูงแค่ไหนแต่บริการดีประทับใจเสมอมา ย่อมธำรงรักษาลูกค้าเดิม (Brand Loyalty) ไว้ได้  ดังนั้น การแข่งขันทางการตลาดในสถานการณ์ฉุกเฉินปัจจุบัน อย่าเพิกเฉยต่อการติดตามกระตุ้นอบรมพฤติกรรมการบริการเชิงบวกซึ่งส่งผลเพิ่มและลดผู้รับบริการไปเป็น FC คู่แข่งโดยไม่รู้ตัว

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 339 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร