หน้าแรก หน้ารวมบทความ วิธีเรียนรู้แบบโต๊ะโตะจัง

วิธีเรียนรู้แบบโต๊ะโตะจัง


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 697 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     การเรียนรู้ในวัยทำงานต่างจากการเรียนการสอนในวัยเรียน เพราะวัยผู้ใหญ่ได้รับการเรียนรู้มาระยะหนึ่งแล้ว วัยผู้ใหญ่ต้องการอบรมเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการทำงานเป็นหลัก เช่น  กลยุทธ์ (Strategic),ทักษะ (Skills),เทคนิค (Techniques),วางแผน (Plan)

     ไม่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ช่วยกระตุ้นให้ผู้รับการอบรมเรียนรู้จดจำง่าย สนใจ แสดงพฤติกรรมการมีส่วนร่วม

     ขอหยิบยกเนื้อหาบางส่วนของ หนังสือโต๊ะโตะจังเด็กหญิงข้างหน้าต่าง (คุโรยานางิ เท็ดสิโกะ) แปลโดยผุสดี นาวาจิตร,2535  เล่าถึงวิธีการสอนของครูเพื่อฝึกเรียนรู้วัยเด็กได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

     ทำให้เราเห็นภาพการอบรมไม่ได้อยู่แต่ในห้องเรียนหรืออยู่ในกรอบเดิมๆ ผู้เรียนสนุกสนาน สร้างจิตนาการและมีส่วนร่วมอย่างตราตรึง

     “เรียนประกอบจังหวะ…”  

     ..ที่โรงเรียนโทโมเอ นอกจากการเรียนการสอนจะต่างจากโรงเรียนอื่นแล้ว ยังมีชั่วโมงดนตรีมากว่าโรงเรียนอื่นด้วย มีการเรียนดนตรีหลายอย่างและชั่วโมงที่มีทุกวันคือ การเรียนประกอบจังหวะ ซึ่งเป็นวิธีการสอนแบบพิเศษ คนชื่อ “ดัลโครซ” เป็นผู้คิดค้นในปี ค.ศ.1905 มีผู้สนใจกันมากทั้งยุโรปและอเมริกา มีโรงเรียนสอนดนตรีของเขาในประเทศต่างๆ และเหตุที่การสอนแบบนี้มีขึ้นในโรงเรียนโทโมเอ ก็เนื่องจากก่อนที่จะตั้งโรงเรียนโทโมเอ คุณครูโคบายาชิ ได้ไปดูงานด้านการศึกษาในยุโรป ท่านได้ไปดูงานด้านประถมศึกษาหลายแห่ง พบปะพูดคุยกับนักศึกษาหลายคนและได้พบนักแต่งเพลงซึ่งเป็นนักศึกษาด้วยชื่อ เอมิล จ๊าคส์ ดัลโครซ

     ดัลโครซ คิดมานานที่จะสอนดนตรีเด็กอย่างลึกซึ้ง ด้วยความรู้สึกและจิตใจ ไม่พึ่งหูเพียงอย่างเดียว เขาอยากให้มีการสอนที่มีชีวิตชีวา  ซึ่งสามารถทำให้ประสาทต่างๆของเด็กๆได้ตื่นตัว ได้สังเกตการสอนแบบใหม่ ด้วยการสังเกตเห็นการกระโดดโลดเต้นของเด็กๆ 

     คุณครูโคบายาชิ อธิบายเกี่ยวกับวิชา “การเรียนประกอบจังหวะ” นี้ว่า 

     “เป็นการเล่นที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว ได้อย่างกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว ทำให้ร่างกายและจิตใจสามารถเข้าใจจังหวะต่างๆ ถ้าฝึกด้วยวิธีนี้ จะทำให้เป็นคนที่มีจังหวะการเคลื่อนไหวที่สวยงาม เข้มแข็ง และเข้ากับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติได้ดี”

     ในชั้นประถมหนึ่งของโต๊ะโตะจัง เริ่มเรียนวิชานี้ด้วยการฝึกให้ร่างกายคุ้นเคยกับจังหวะต่างๆ คุณครูโงคบายาชิจาดีดเปียโนซึ่งอยู่บนเวที เด็กๆเดินตามจังหวะเพลง โดยจะเริ่มออกจากจุดใดจุดหนึ่งในห้อง เดินอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าเดินสวนทางกับคนอื่นจะชนกัน หรือไม่ก็ทำให้รู้สึกเวียนศีรษะจึงมักจะเดินไปทิศทางเดียวกันเหมือนวงกลม 

     แต่ไม่ได้เป็นวงเดียวเท้านั้น เด็กๆมักเดินตามสบายอยู่ตรงโน้นตรงนี้ในขณะฟังเพลงไปด้วย ท่าเดินไม่ใช่การกระทืบเท้าหรือเขย่งปลายเท้าเหมือนบัลเล่ต์ แต่คุณครูใหญ่ให้ลากนิ้วหัวแม่เท้าไปกับพื้น โคลงตัวเล็กน้อย เด็กๆจะเดินอย่างไรก็ได้ เท่าที่รู้สึกว่าถนัดที่สุดเพราะคุณครูใหญ่อยากให้ท่าเป็นธรรมชาติ

      เมื่อเพลงเปลี่ยนเป็นเพลง 3 จังหวะ ก็จะเปลี่ยนท่าให้จังหวะมือ เปลี่ยนจังหวะการเดินให้ช้าลง หรือเร็วตามจังหวะเพลง เพลงที่ใช้มี 6 จังหวะ เปลี่ยนท่าการทำมือต่างๆกันไป 

“มือต่ำ งอศอก มาข้างๆ ยกขึ้น สำหรับเพลง 4 จังหวะ”

“มือต่ำ งอศอก ยื่นไปข้างหน้า มาข้างๆยกขึ้น สำหรับเพลง 5 จังหวะ”

“มือต่ำ งอศอก ยื่นไปข้างหน้า งอศอกอีกที มาข้างๆ ยกมือขึ้น สำหรับเพลง 6 จังหวะ”

     เมื่อเปลี่ยนจังหวะไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนท่าจึงดูยาก และที่ยากกว่านั้นคือคุณครูใหญ่จะบอกว่า

“ถึงเพลงจะเปลี่ยน แต่อย่าเพิ่งเปลี่ยนท่านะ ! ” 

     สมมุติว่าเพลง 2 จังหวะเปลี่ยนเป็นเพลง 3 จังหวะ เด็กๆจะต้องทำท่า 2 จังหวะไปก่อน ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก แต่คุณครูใหญ่คิดว่าวิธีนี้ฝึกให้เด็กเกิดสมาธิและมีความตั้งใจแน่วแน่ในสิ่งที่ทำอยู่

    พอคุณครูบอก “เปลี่ยนท่าได้แล้ว”

      เด็กๆจะดีใจและเปลี่ยนเป็น 3 จังหวะ แต่ตอนนี้จะทำพลาดไม่ได้แล้ว สมองต้องบังคับให้ร่างกายปรับเข้าท่า 3 จังหวะได้ทันที ประเดี๋ยวเดียวเพลงก็จะ

      เปลี่ยนเป็น 5 จังหวะ ทีแรกเด็กๆจะทำท่าไม่ถูก และร้องบอกคุณครูว่า

     “เดี๋ยวค่ะ อย่าเพิ่ง อย่าเพิ่ง !” 

     แล้วพยายามทำท่าจังหวะต่างๆ แต่เมื่อเกิดความเคยชินก็ทำได้คล่อง ..

     บางครั้งแม่ของเด็กมาดูการเรียนการสอนอยู่นอกห้อง จะได้เห็นการกระโดดโลดเต้นตามจังหวะเพลงอย่างสนุกสนาน ความเป็นอิสระเสรีของเด็ก เป็นภาพน่าดูมากเลยทีเดียว….

     นี้คือตัวอย่างการทำความเข้าใจธรรมชาติผู้เรียนรู้และวิเคราะห์หาแนวทางการสอนอย่างเข้าใจธรรมชาติ จูงใจกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเข้าใจ

     ไม่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่การเรียนรู้นั้นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการในรูปแบบที่แตกต่างกันไปทั้งกระตุ้นพัฒนาการ ความคิด ความรู้ ทักษะปัญญา ปรับบุคลิกภาพ ความสนใจใฝ่รู้มากขึ้น

     โดยทั่วไป แรงจูงใจในการเรียนรู้อบรมจะเพิ่มมากขึ้น หากผู้เข้าอบรมนั้นมีความเชื่อเป็นที่ตั้งก่อนว่าตนเองสามารถจะเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างดี  เรียกความเชื่อนั้นว่า “ความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตน (Self -efficacy belief)”  เป็นความเชื่อว่าตนเองสามารถทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้สำเร็จ (Bandura,1986)

     มีงานวิจัยด้านฝึกอบรมได้กล่าวว่า “ผู้มีความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตนสูงตั้งแต่ก่อนและระหว่างอบรม สามารถเรียนรู้การอบรมได้ดีกว่าผู้มีความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตนต่ำ” (Gist,1989)

     หากจัดการเรียนการสอนครั้งใด ผู้จัดอบรมหรือครูผู้สอนจึงควรทำการวิเคราะห์หาธรรมชาติ สร้างประสิทธิภาพแห่งความเชื่อความศรัทธาการเรียนรู้ ในแต่ละช่วงวัยกลุ่มผู้เรียน หาวิธีการสร้างศรัทธาในตนเองของผู้เรียน

     จากนั้นจึงทำการสอนเนื้อหารายละเอียดลงไป เพราะหากทำเนื้อหาการเรียนการสอนมาดีเพียงใด อธิบายอย่างละเอียดแค่ไหนแต่กลุ่มผู้รับการเรียนรู้มีความเชื่อในประสิทธิภาพแห่งตนเองต่ำ การเรียนการสอนก็ขาดสัมฤทธิ์ผลค่ะ ..

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 697 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผลKPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ มอบหมายผู้รับผิดชอบ

Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร