หน้าแรก หน้ารวมบทความ นำเสนอสะกดใจแบบ A-R-T Storytelling

นำเสนอสะกดใจแบบ A-R-T Storytelling


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 223 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     “คำพูดแค่เสี้ยววินาที ช่วยสร้างโอกาสดีในอนาคต” หากคุณต้องการสร้างมิติใหม่ในการนำเสนอ ไม่ว่าคุณจะเริ่มสนทนา นำเสนองานขาย ประชุมประจำเดือน นำเสนอโปเจคใหม่ๆ เทคนิคการเล่าเรื่องให้น่าสนใจช่วยดึงผู้คนมารับฟังเข้าร่วมกิจกรรมอย่างตั้งใจ พร้อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่คุณตั้งใจไว้อย่างไม่มีคำว่า “เสียดายที่ไม่ได้พูด” 

     วันนี้ ผู้เขียนนำเสนอเทคนิคการพรีเซนต์แบบง่ายๆ ให้คุณนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

     นั่นคือ A-R-T Storytelling  เป็นเทคนิคการเปิดสนทนากับคู่สนทนาที่ไม่เหมือนเดิมที่คุณเคยทำมา ยกตัวอย่างเช่น ในการเข้าสัมภาษณ์งานผู้สัมภาษณ์ ให้ผู้สมัครงานนั้นเล่าประวัติครอบครัว ประวัติการทำงานรวมถึงความเชี่ยวชาญในการทำงาน แต่การเล่าแบบ A-R-T Storytelling   กลับตรงกันข้ามเป็นการนำเสนอในรูปแบบนี้กลับให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว้าว! 

     ผู้นำเสนอเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตและสิ่งที่ตนเองมีความมั่นใจในการทำงานครั้งนี้ สร้างทักษะนำเสนอนอกกรอบ ความมั่นใจรวมถึงการสร้างจุดสนใจให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ

     ซึ่งเป็นทักษะการ Pitchingที่หลายคนให้ความสนใจในช่วงแรกๆคนอาจจะรู้จักการ Elevator Pitch คือการนำเสนอนักลงทุนในลิฟต์ทำอย่างไร? แต่วันนี้เรามาเปิดประเด็นที่น่าสนใจ เรียนรู้หลักการ Pitchเปิดเรื่องสนทนาให้น่าสนใจ มีความแปลกใหม่ ดึงดูดผู้ฟังตั้งแต่เริ่มจนจบการนำเสนอ

     ปกติเวลาเล่าเรื่องเรามักลำดับเหตุการณ์แบ่งเป็น 3 ตอน คือ

     - ต้นเรื่อง เรามักแนะนำตนเอง เกริ่นที่มาของสิ่งที่พูด

     - กลางเรื่อง เราจะเล่าถึงหลักการสำคัญสิ่งที่ทำอยู่และแนวทางการทำงาน

     - ปิดท้ายเรื่อง เป็นการสรุปใจความสำคัญและขอบคุณผู้ฟัง 

     หลักการนำเสนอแบบ Pitch ไม่ได้สร้างสรรค์ปรุงแต่งเส้นทางการพูดแบบเดิมๆนั้น ในทางกลับกัน Pitching เป็นหลักการเปิดประเด็นดึงความสนใจในเสี้ยววินาที โดยวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง ไม่จำเป็นต้องเปิดประเด็นใน 15 วินาทีนั้นให้คนจดจำ แต่เป็นการนำเสนอที่แตกต่าง ฉีกออกจากเส้นวงกลมเดิม แบบ ART Storytelling

      A - Adversity   นำเสนอเรื่องจากเนื้อเรื่องการโฆษณาหรือภาพยนต์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง  คุณลองนึกถึงสินค้าโฆษณาบางตัวมีวิธีการเล่าเรื่องให้ผู้ชมรู้สึกอินไปกับเรื่องราวที่ถ่ายทอด ทั้งที่สินค้านั้นไม่ได้เกี่ยวกับตัวสินค้า แต่คนดูกลับจดจำโฆษณานั้นได้แม่นยำ เช่น โฆษณาขายประกันแต่กลับเล่าเรื่องความรักระหว่างแม่กับลูกมีความพิการแต่กำเนิด โฆษณาสายการบินชั้นประหยัดเล่าเรื่องผู้หญิงวัยกลางคนสนทนากับพนักงานหญิงชั่งน้ำหนักกระเป๋า “แม่ มันกินที่คนอื่น”  สะท้อนจริยธรรมและการอยู่ร่วมกันในสังคมแบบเอื้อเฟื้อ

เหมาะสำหรับการนำเสนอเช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาการสูญพันธุ์สัตว์ทะเล  ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน ปัญหาขยะล้นโลก ปัญหาเชื้อโรค เป็นต้น

     R - Rejection Vaccine การนำเสนอแบบนี้เรียกว่า ฉีดวัคซีนเข้าไปให้กินใจผู้ฟัง เป็นการนำเสนอแบบเชิงอุปมาอุปไมย พูดสะกดใจผู้ฟัง มีประโยคที่ฟังแล้วสะกิดความรู้สึก “เออ !! มันใช่แบบเราเลย ”   เหมาะกับการนำเสนองานขาย นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้โดนใจผู้ฟัง การนำเสนอเรื่องราวให้สะกดใจประทับใจผู้ฟัง

     T -Take Home  Point คือ การกล่าวเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริงในอดีตของคุณ ในแผนก ในองค์กร ทำให้คุณต้องมีการนำเรื่องราวนี้มาแก้ไข ปรับปรุงอีกครั้ง  เทคนิคข้อนี้ เสมือน Key Point สำคัญหากสามารถเปิดประเด็นที่เชื่อมโยงที่มาที่ไปแบบสั้นๆง่ายๆได้ดี ย่อมทำให้ผู้ฟังเปิดใจมากขึ้น

     เหมาะสำหรับการนำเสนอโปรเจค การนำเสนอผลงานใหม่ๆของตนเองของแผนก  การนำเสนอเพิ่มผลผลิตกำไร รายได้ของบริษัท เป็นต้น

     - Storytelling คือ เรื่องราวที่คุณเล่า บอกต่อ นำเสนอแก่ผู้ฟังหรือกลุ่มผู้ฟัง

    แล้วเราจะฝึกอย่างไร ? ในการฝึกนั้นมีเทคนิคการฝึกง่ายคือ

     1. Setting ตั้งเป้าหมายตัวเอง เสมือนตั้งตัวชี้วัดให้ตัวเองในทุกวัน เช่น ในแต่ละวันคุณจะเริ่มอ่านหนังสือด้านบริหารจัดการหรืองาน เรื่องราวสาระความรู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้สัปดาห์ละ 1 เล่ม เดือนละ 4 เล่ม ปีละ 48 เล่ม  คุณตั้งใจฝึกการฟังนักเล่าเรื่องสัปดาห์ละ 2 เรื่อง เป็นต้น

      2. Record Detail บันทึกกิจกรรมที่คุณทำได้และทำไม่ได้ในแต่ละวันลงในสมุดบันทึกแบ่งกระดาษเป็นสองด้าน ด้านซ้ายสิ่งที่ทำได้ ด้านขวาสิ่งที่ทำไม่ได้ เพื่อนำสิ่งที่ทำไม่ได้มาวิเคราะห์แต่ละเดือน

     3. Dialogue  วางไดอะล็อกสิ่งที่คุณจะทำให้สำเร็จเป็นข้อๆ เป็นเรื่องๆ  เช่น   การแต่งกาย ,น้ำเสียงการพูด ,ท่าทาง,เนื้อเรื่อง,การปิดประโยค,การกล่าวขอบคุณ  และทบทวนสิ่งที่ทำไปแล้วไม่สำเร็จตามลำดับคะแนนที่คุณตั้งไว้

      จากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณฝึกฝนการนำเสนอ หาพื้นที่ในการนำเสนอออกสู่สาธารณะชนย่อมทำให้เกิดความชำนาญ อีกทั้งเป็นการลดความประหม่าในทุกสถานการณ์ในการนำเสนอ ลองนำไปใช้ดูนะคะ ใช้พื้นที่ในบ้านเป็นโซนนำเสนอคนเดียวก็ได้ค่ะ เช่น หน้ากระจก ในสวนข้างบ้าน ในห้องรับแขก แต่ทุกครั้งคุณต้องวางไดอะล็อกว่าต้องการพูดเรื่องอะไร มีอะไรต้องแก้ไขอีกทั้งบันทึกเสียงพูดของตนเองไว้เพื่อปรับระดับโหมดเสียงให้ชวนฟัง

     ครั้งต่อไปจะมาเล่าวิธีการเล่าเรื่องระหว่างทางการเล่าเรื่องเราควรเตรียมข้อมูลพูดอะไรบ้างทำให้ไม่น่าเบื่อ ชวนสนใจและการปิดประเด็นให้มัดใจผู้ฟัง

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 223 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร

แนวทางขับเคลื่อน AIDET สู่ภาคปฏิบัติ

ทำอย่างไรให้กระบวนการสื่อสารแบบ AIDET ในโรงพยาบาล ขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติมากกว่าการท่องจำไปใช้ ซึ่งแนวทางการศึกษาของสถานพยาบาลและวิทยาลัยทางการแพทย์ในต่างประเทศ ได้นำกระบวนการ AIDET

AIDET สร้างภาพลักษณ์ในงานบริการ

ในงานบริการทางการแพทย์หรือสายงานด้านการให้การพยาบาล น่าจะได้ยินคำว่า “AIDET” หรืออ่านภาษาไทยว่า “เอเด็ต” มาแล้วพอควร เป็นกระบวนการสื่อสารซึ่งสร้างความพึงพอใจความเข้าใจอันดีด้วยหลัก Waiting Time