หน้าแรก หน้ารวมบทความ บริหารคนแบบซุนวู

บริหารคนแบบซุนวู


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 416 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ในด้านศิลปะแห่งการนำทัพ ซุนวูเสนอให้ผูกใจด้วยพระคุณ สร้างเอกภาพด้วยพระเดช ปกครองด้วยระเบียบวินัย ในด้านยุทธวิธี ซุนวูเน้นการจู่โจมฉับพลัน เผด็จศึกฉับไว ในด้านยุทธศาสตร์ซุนวูเสนอการวางแผนอย่างเหนือชั้น ชนะข้าศึกโดยมิต้องรบ ในด้านการบัญชาการ ซุนวูเสนอให้ผ่อนคล้อยตามสภาวการณ์ รู้เขารู้เรารบในแบบและนอกแบบเลี่ยงจุดแข็งตีจุดอ่อน… 
      นี้คือ ตัวอย่างของหลักการวางแผน การปกครองคนหมู่มาก เพื่อการรบและเพื่อชัยชนะของการทำสงครามต่างเมือง มีไม่น้อยที่หลายท่านได้อ่านหนังสือฉบับ 3 ก๊ก แล้วอ่านพิชัยสงครามซุนวู พบว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในการทำสงคราม 


       ตำราซุนวูสอนให้ผู้อ่านวางแผนแบบแยบยล รู้เขารู้เรา เอาชนะโดยไร้ซึ่งการเสียเลือดเสียเนื้อ รู้จักยุทธวิธีการวางแผนการศึก ในตอนหนึ่งของหนังสือ พิชัยสงครามซุนวู โดยนักแปลฝีมือดี คุณอธิคมและคุณอดุลย์ 
      หากอ่านแล้วนำหลักการยุทธ์พลิกแพลงกลับมาใช้ในการดูแล บริหารบุคลากรในองค์กร นับว่ามีประโยชน์มากโขทีเดียว หนังสือตำราซุนวูกล่าวถึงหลักการเลี้ยงคนและบริหารคนในกองทัพ ตอนหนึ่ง ว่า .. 


      “การทำสงครามต้องเผด็จศึกโดยเร็ว ถ้ายืดเยื้อกองทัพอ่อนล้า ขวัญสู้รบตกต่ำ กองทัพกะปลกกะเปลี้ย ผู้สันทัดในการทำสงครามจึงไม่เกณฑ์พลซ้ำสอง ไม่เกณฑ์เสบียงซ้ำสาม พึงยึดทรัพย์สินแคว้นอริ แย่งเสบียงจากข้าศึก 
       ดังนั้น หากต้องการให้นักรบไพร่พลเข่นฆ่าสังหารข้าศึก ต้องปลุกเร้าความเคียดแค้น หากต้องการให้นักรบแย่งยึดเสบียงและยุทธปัจจัยของข้าศึก จะต้องตกรางวัลเป็นทรัพย์สินเงินทอง 
       อันรถศึก ถ้ายึดรถศึกได้ 10 คัน ต้องตกรางวัลให้ผู้ยึดคนแรกให้อย่างงาม เชลยนั้น ต้องปฏิบัติต่อด้วยดีและช่วงใช้ตามควร จึงกล่าวได้ว่า ยิ่งชนะศึก ยิ่งทำให้ฝ่ายตนเข้มแข็ง” 


       ท่านจะเห็นว่า การบริหารคนในองค์กร ไม่ต่างอะไรจากพิชัยสงครามซุนวู หากหวังจะให้ธุรกิจเติบโต ได้เปรียบคู่แข่ง สิ่งสำคัญคือการคงไว้ซึ่งการบริหารทรัพยากรในองค์กร งบประมาณ บุคลากร อยากให้คนเก่งมีใจทำงานเพื่อองค์กรอย่างเต็มที่ ท่านผู้บริหารต้องวางยุทธ์ในการเลือกคนทำงาน การขับเคลื่อนผลักดันศักยภาพคน จำแนกและระบุบุคคลแต่ละประเภทในองค์กรให้ได้ 
       คนเก่งในองค์กรมีหลายแบบ หากต้องมีวิธีการจูงใจแบบคู่ขนาน How To Reward ? การจูงใจบางอย่างต้องใช้ทรัพย์สิน เงินทอง ของรางวัล แต่การจูงใจบุคคลบางประเภทกลับไม่ต้องใช้ทรัพย์มากมายก่ายกอง มีเพียงการวางกลยุทธ์การผลักดันศักยภาพที่เขามี ให้นำมาใช้พัฒนาอย่างเต็มที่ ต่อเนื่อง เขาเหล่านั้นกลับทำประโยชน์ได้อย่างมหาศาล คงอยู่เคียงข้างองค์กร 
        ดังนั้น หากองค์กรไม่มีงบประมาณมาจัดสรร กระตุ้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่เกิดการจัดทำโครงการ การพัฒนาใดๆก็ตาม ผู้เขียนแนะนำว่า ให้ใช้การให้รางวัลแบบไม่ใช่ข้าวของเงินทอง แต่นั่นคือ รางวัลทางใจและรางวัลทางกระตุ้น ส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่ 
        บางครั้ง บางท่านมองเพียงมุมเดียว ว่าเขาเหล่านั้นในองค์กร แท้จริงต้องการขั้นเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินรางวัล แต่หากใช้การสำรวจ( Survey) เพื่อหาจุดที่ต้องการ เหมาะสม ท่านจะพบเรื่องที่ไม่คาดคิดจากความรู้สึกที่แท้จริงของเขาเหล่านั้น ลองนำกลยุทธ์ซุนวูไปปรับใช้ดูนะคะ
 

Cr. Picture 

http://www.independent.co.uk 
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 416 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร