ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 03 มกราคม 2564 จำนวนผู้เข้าชม 1640 คน
03 มกราคม 2564การจัดทำ KPI และการประเมินผล ในวันนี้ ผู้เขียนขอแนะนำการจัดทำ ในกรณี ต้องการประเมินผลแบบที่เที่ยงตรงอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือ กรณีที่ผู้บริหารองค์กรต้องการนำเอาการควบคุมเกณฑ์การจ่ายโบนัสและเพิ่มเงินแก่พนักงาน เรียกกันว่า ประเมินแบบกราฟรูประฆังคว่ำ (Bell Curve)
ส่วนใหญ่ จะกำหนดระดับผลการประเมินให้พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานดีที่มีจำนวนน้อยกว่าพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับกลางๆ หรือพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐาน เรียกกันทั่วไปว่า การนำเอาหลักการแบบ Force Ranking มาใช้นั่นเอง
โปรแกรมที่นำมาใช้ในการประเมิน อาจมีหลากหลาย แต่ที่ใช้กันได้ดี ไม่ต้องซื้อหาเสียเวลาศึกษาโปรแกรมให้ยุ่งยาก นั่นคือ ประเมินผ่าน โปรแกรม MS-Excel เมื่อผลแสดงออกมาจะเป็นในรูปแบบกราฟเส้นโค้ง จะเบ้ซ้ายหรือเบ้ขวานั้น ผู้ทำการประเมินต้องสามารถระบุแนวทางการตอบคำถาม แนวทางแก้ไขแก่ผู้บริหารให้ได้ว่า มีความเที่ยงตรงหรือไม่ ?
ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อสรุป KPI แต่ละหน่วยงานออกมา แล้วตัดเกรด มีการแบ่งระดับเกรด เป็น 4 ระดับ เช่น A B C D ความหมายคือ A หมายถึง ดีมาก , Bหมายถึงดี , C หมายถึงพอใช้ , D หมายถึงต้องปรับปรุงแก้ไข (มีเกณฑ์คะแนนต่ำกว่ามาตรฐาน) ให้สร้างตารางการแสดงผลและกราฟควบคุมลงในเซล ต่อมาสร้างเซลคะแนนจริงที่ได้ ยกตัวอย่างการสร้างเซลหัวข้อลง MS-Excel
แต่ละเวอร์ชั่น MS-Excel มีความแตกต่างกัน ผู้ทำการประเมินต้องศึกษาแต่ละฟังก์ชั่น เช่น ในเวอร์ชั่น MS-Excel 2007 เมื่อเข้าสู่ฟังก์ชั่น Format Data Series ให้คลิกที่ Line Style แล้วคลิกไปเลือก Smoothed Line แล้วทำวิธีการเดียวกันกับกราฟอีก 1 เส้นที่เหลือจะได้กราฟเส้นโค้งรูประฆังคว่ำ เมื่อได้กราฟดังกล่าว นำมาเปรียบเทียบระหว่างผลประเมินที่ได้รับจริงของพนักงานและผลประเมินตามนโยบายองค์กรกำหนดขึ้น
ซึ่งผลที่ได้รับ กราฟแสดงภาพระฆังคว่ำจะสามารถทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการจ่ายโบนัสและเพิ่มเงินแก่พนักงานที่ ไม่เกินงบประมาณ (Over Budget) ที่ฝ่ายบริหารได้กำหนดไว้ในแต่แรกเริ่มค่ะ ทั้งนี้ผู้เขียนขอแนะนำว่า หลักการประเมินนั้น แต่ละองค์กรเลือกศึกษา แนวทางประเมินผลที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไปก่อน ยิ่งองค์กรใดเพิ่งเริ่มใช้ KPI หรือ ประลองฝีมือปีแรกๆ ควรแสวงหาแนวทางประเมินแบบไม่ซับซ้อนมาก มีพร้อมทุกคำตอบ แก่ผู้บริหารเสมอทุกขั้นตอนว่า “ทำไมจึง….?” รับรองว่าการ “จัดทำ KPI และการประเมินผล” เป็นเรื่องไม่ยากอย่างที่คิด
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 03 มกราคม 2564
จำนวนผู้เข้าชม 1640 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare
การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว
ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus
ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร
หลักสูตรการสื่อสาร AIDET Plus communications สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ยุค MK6.0 การจัดอบรมสำหรับบุคลากรสายงานสุขภาพทุกตำแหน่งในงานด้าน Healthcare เปลี่ยนไปในรูปแบบเน้นการสื่อสาร(Communication)กับผู้รับบริการให้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงทั้งด้านการสัมผัสด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ
กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD
ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?
Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI
คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)
อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?
อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง