หน้าแรก หน้ารวมบทความ มี Roadmap ธุรกิจประสบความสำเร็จ

มี Roadmap ธุรกิจประสบความสำเร็จ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 278 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          หลายท่านคงคุ้นกับคำว่า Roadmap เพราะช่วง 1 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย รวมถึงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีแผนกลยุทธ์ระยะยาวด้วย Roadmapหรือยุทธศาสตร์ที่กำหนดการทำงานร่วมกัน ทำไปแล้วมีกี่โครงการใช้ระยะเวลาเท่าไร วิธีการดำเนินการมีกี่รูปแบบ คาดการณ์แล้วเสร็จเมื่อใด

มี Roadmap ธุรกิจประสบความสำเร็จ

          ในบางครั้งพบว่าระยะเวลาอาจมีการยืดหยุ่นไปตามสภาพปัญหา สิ่งแวดล้อมณ ขณะที่ดำเนินงาน จึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานกาณ์ที่พบในปัจจุบัน

          การวาง เส้นทางการทำงาน(Roadmap) นั้น ในช่วงหลายปีก่อนนัก HR ใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นตัวกำหนดเส้นทางหรือทิศทางการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร เมื่อนำมาใช้งานจริงหลายบริษัทไม่ได้นำแผนดังกล่าวมาใช้พัฒนา เก็บพับไว้บนโต๊ะ หน้าจอคอมพิวเตอร์แทนบางองค์กรเดินตามแผนความคิดผักชีโรยหน้าก็มี ปัญหาก็คือ พนักงานในองค์กรไม่เกิดการ พัฒนา คนเก่งลาออกไปเติบโตที่อื่น คนใหม่ทำงานไม่นานก็ออก แล้วทำอย่างไรให้พนักงานเก่ง?? อยู่กับองค์กรนานๆ

         การกำหนดเส้นทางพัฒนาบุคลากรนั้น ควรเริ่มตั้งแต่พนักงานใหม่ ก้าวเข้ามาทำงาน แต่วันแรกถึงวันเกษียณ ต้องกำหนดเส้นทางทำงานอย่างชัดเจน เขาต้องเริ่มอะไร ตลอดระยะเวลาทำงานมีใครเป็นที่ปรึกษา อีกกี่ปีได้เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนไปแล้วต้องฝึกอะไรเพิ่มทำงานดีผลงานเด่นมีรางวัลตอบแทนหรือไม่ ทำงานนานๆได้รับการพัฒนาทักษะด้านใด

         “..อีก 3 เดือน มีโปรแกรมเดินทางไปปฎิบัติกรรมฐานและแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดียไปกับใคร สายการบินใด ที่พัก อาหาร ต้องเตรียมของใช้จำเป็นอะไรบ้าง ยาประจำตัว หากเกิดเจ็บป่วยมีโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดตั้งอยู่ที่ไหน ในยามฉุกเฉินควรโทรแจ้งใคร วางแผนการ เดินทางกลับเมื่อใด ”

         …นี้คือตัวอย่างการวางเส้นทางแสวงบุญ ที่เพื่อนผู้ขียนต้องวางแผนขณะที่อยู่ต่างแดนในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งไม่ต่างอะไรไปกับการวางเส้นทางพัฒนาบุคลากร อะไรที่พนักงานต้องเจอ หน้าที่ที่ต้องเติบโต สวัสดิการการพัฒนาความรู้ที่จำเป็นในวิชาชีพ

         การวางโรดแม๊ปช่วยเรามองเห็น ภาพใหญ่ (Big picture) ร่วมกัน เดินไปในทิศทางเดียวกัน ยิ่งในยุคการแข่งขันทางการตลาดสูง กลยุทธ์มากมายที่เกิดขึ้นแต่ละบริษัทต่างงัดไม้เด็ดมาชูศักยภาพ หากบริษัทเรานิ่งเงียบ ยึดติดกับภาพเดิมๆ ไม่ปรับกลยุทธ์การตลาดและ การพัฒนาบุคลากร อีกไม่นาน เราจะถูกกลืนองค์กรไปจากโลกมนุษย์

         การตลาดยุค 1.0 นั้นคิดถึงแต่เรื่องการผลิตเป็นหลัก ธุรกิจเกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการผลิต การเงินและวิศวกรรมเป็นเรื่องสำคัญมาก พอการผลิตล้นตลาด ยุคการตลาด 2.0 งานดีไซน์ต้องดีกว่า สินค้าต้องให้อารมณ์ความรู้สึก สอดรับกับความต้องการผู้บริโภค ธุรกิจต้องทำความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ โดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (consumer centric) ไม่ว่าฐาน การผลิตจะตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม ต่อมายุคการตลาด 3.0 สินค้าและบริการต้องมอบ ประสบการณ์ใหม่ๆ แก่ลูกค้า มีความโดดเด่น และดีไซน์แปลกใหม่

        จะเห็นได้ว่า การวางเส้นทางหรือโรดแมป เป็นกระบวนการที่สำคัญอันดับแรกทีเดียว หากองค์กรก้าวหน้า พนักงานยังล้าหลัง การพัฒนากลายเป็นภาพ “เต่าเดินตามกระต่าย”

        จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับองค์กร ที่กำลังมองหาเครื่องมือพัฒนาคนเก่ง อยู่ที่ว่า คุณมีความตั้งใจจริงหรือแค่คิดเพียงวูบหนึ่ง แล้วแวบ!!หายไป

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 26 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 278 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล

วิธีปรับเงินเดือนค่าตอบแทนหลังประเมินผล KPI

หลังประเมินผลการปฏิบัติงานหรือประเมินผล KPI แล้วนำผลคะแนนที่ได้มาคำนวณเพื่อพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการบริหารผลงานมีแนวทางในการปรับค่าตอบแทนหลายแบบแตกต่าง

เทคนิคการสร้างทัศนคติเชิงบวกผู้ให้บริการ

งานบริการคืองานที่ต้องพบปะกับผู้คนที่หลากหลายอารมณ์ ทั้งเข้ามาใช้บริการ ติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถควบคุมอารมณ์จัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

กำหนด KPI ตามกรอบ BSC และMBO

การจัดทำระบบประเมินผลงานกำหนด KPI ตามกรอบ BSC หรือ MBO มีความแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนเหมาะสมกว่ากัน ? ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicators :KPIs) เป็นเครื่องมือ