หน้าแรก หน้ารวมบทความ Training Roadmap จัดทำอย่างไร? (How to Create a Training Roadmap)

Training Roadmap จัดทำอย่างไร? (How to Create a Training Roadmap)


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 1188 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

“การทำแผนที่เส้นทางการฝึกอบรม (Training Roadmap) ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการพัฒนาบุคลากร ทำให้ทุกหลักสูตรการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์แท้จริงและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร”

      แผนงานฝึกอบรม (Training Roadmaps) ที่นิยมมี 3 แบบ คือ

     1. แผนการฝึกอบรมพัฒนาตามสายงาน (Career Development)

     : เป็นแบบแผนการจัดการฝึกอบรมในมิติที่หลากหลาย ตามระดับตำแหน่งงาน ตามการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งและตามความจำเป็นในการฝึกอบรม(Training Needs) เริ่มตั้งแต่แรกรับเข้าทำงานกระทั่งเกษียณอายุงาน เป้าหมายเพื่อรองรับการเติบโตบนเส้นทางการทำงานในองค์กร พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ธำรงรักษาคนเก่ง สร้างแรงจูงใจในการทำงาน 

     2. แผนการฝึกอบรมสำหรับลูกค้า (Customer Training)

     : เป็นการวางแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในรายละเอียดสินค้าและการบริการ เพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้า ทั้งยังเป็นการรักษาฐานลูกค้า บางธุรกิจไม่จำเป็นต้องให้ความรู้ลูกค้า วัตถุประสงค์การจัดทำแผนการอบรม เพื่อสร้างความมั่นใจเพิ่มองค์ความรู้สร้างการรับรู้ผู้บริโภคอุปโภค แทรกไว้ด้วยการประชาสัมพันธ์องค์กรไปในตัวเอง ส่วนใหญ่ธุรกิจที่นิยม เช่น

  • สถานประกอบการด้านสุขภาพโรงพยาบาล คลินิก
  • ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ความงามผิวพรรณ
  • ธุรกิจขายสินค้าประเภทรIT  อุตสาหกรรมSoftware
  • ธุรกิจด้านการธนาคาร การลงทุน
  • ธุรกิจประกันชีวิตประกันภัย
  • ธุรกิจด้านโรงแรมและการท่องเที่ยว
  • ธุรกิจด้านสินค้าอุปโภคบริโภค
  • ธุรกิจด้านสื่อ สิ่งพิมพ์           

     เป็นต้น ฯลฯ

     3. แผนงานสำหรับคู่ค้า พันธมิตร (Partner Leadership)

     : แผนงานนี้มีความสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจ เป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานร่วมกันอย่างยั่งยืน แผนงานนี้ใช้เฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงหรือผู้จัดการที่ต้องพบปะพันธมิตรทางธุรกิจ ใช้เป็นเส้นทางแนวทางในการดำเนินการติดต่อทำสัญญา ประสานงานการพูดคุยชี้แจงประชุมหรือขอบคุณ โดยส่วนใหญ่ธุรกิจที่มีคู่ค้าพันธมิตรใหม่เก่าจะยึดแนวทางการดำเนินงานตามแผนงานนี้ ดังที่ระบุไว้ในแผน

Training Roadmap จัดทำอย่างไร? (How to Create a Training Roadmap)

สำหรับมือใหม่ในการวางเส้นทางการฝึกอบรม ออกแบบในการเขียนรายละเอียดให้ครอบคลุมมีขั้นตอนรายละเอียด  แนวทางการทำ Training Roadmap ดังนี้

     1) ตั้งวัตถุประสงค์

     : เมื่อเลือกหัวข้ออบรมตามหลักการเลือก คือ อิงนโยบาย(Policy) อิงขีดสมรรถนะความสามารถ (Competencies) อิงความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs) แล้ว ระบุวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับแต่ละหัวข้ออบรมลงไป(ทำทุกหัวข้ออบรม เป็นไปได้ว่าหลักสูตรอาจมากถึงหลัก 10 – 100หลักสูตรขึ้นไป ) โดยแนวทางตั้งวัตถุประสงค์แต่ละหัวข้อที่อบรม มี ลำดับขั้นการตั้งวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

1. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  

2. จิตพิสัย (Affective Domain)  

3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) 

=>

=>

=>

5 ด้าน ความรู้ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ การนำไปใช้ และการสังเคราะห์

ลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมองค์กร 

พฤติกรรมที่บ่งชี้ด้านการเรียนรู้และทักษะความสามารถ

ไม่จำเป็นว่าทุกหลักสูตรที่อบรมต้องมีการตั้งวัตถุประสงค์ครบ 3 ด้าน (พุทธิพิสัย จิตพิสัย  ทักษะพิสัย ) ทุกหลักสูตรต้องมีวัตถุประสงค์ด้านพุทธิพิสัยเป็นหลัก การเลือกขึ้นอยู่กับดุลยพินิจผู้กำหนดและผลลัพธ์ที่ต้องการ

2) ลำดับหัวข้อ

ลำดับความสำคัญแต่ละหัวข้อไล่ระดับจากสำคัญมากก่อนและลงรายละเอียดระยะเวลาที่ดำเนินการในปฏิทินการอบรม เช่น 

     พนักงานใหม่

  • ในช่วง 3 เดือนแรก ต้องเรียนรู้แต่ละสัปดาห์แต่ละเดือนหัวข้ออะไรบ้าง
  • ในช่วง 6 - 12เดือน  หลังการผ่านการทดลองงาน หัวข้อที่ต้องเรียนรู้และฝึกทักษะแต่ละด้านเพิ่มเติม

     พนักงานเก่า

  • ในช่วงรอบ 1 ปี(12เดือน) หัวข้อที่ต้องอบรมแต่ละตำแหน่งตามระดับ(Position Levels) มีอะไรบ้าง การจัดระดับตามตำแหน่งขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงานแต่ละองค์กร บางองค์กรมีจำนวนพนักงานมาก อายุงานในองค์กรนับหลายสิบปี มีระดับขั้นมาก ใส่รายละเอียดค่อนข้างเยอะกว่าองค์กรอื่น
  • กรณีภาครัฐ ระบบราชการเรียกกลุ่มบริหาร ระดับ ขั้นหรือC  ส่วนภาคเอกชน เรียกกลุ่มบริหาร ระดับ ตำแหน่ง เช่น L3 คือ Level 3 เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงานสามารถเป็นพี่เลี้ยงในหน่วยงานได้ หรือพนักงานใหม่มีความรู้เฉพาะทาง มีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 5 ปีในด้านที่ดำรงตำแหน่ง

     3) ใส่ข้อมูลWorkshopหรือกิจกรรมในแต่ละหัวข้อ

      : ก่อนลงข้อมูลแต่ละการอบรมต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง ผู้กำหนดต้องทราบลักษณะพื้นฐานทั้งความรู้ การศึกษา ความสนใจ พฤติกรรม ลักษณะนิสัยของกลุ่มผู้เรียนรู้ก่อน เป็นไปได้ว่าแม้หัวข้อการเรียนรู้เดียวกันแต่ละกลุ่มการรับรู้อาจไม่เท่ากัน สามารถปรับเปลี่ยนลักษณะWorkshopเฉพาะกลุ่ม หรือเพิ่มกิจกรรม สื่อเรียนรู้ ทัศนวัสดุ(ทัศนวัสดุ คือสื่อเพื่อการรับรู้ เรียนรู้เช่น ภาพ วีดีโอ คู่มือ ป้าย ตัวอย่างจริง )ที่แตกต่างกัน

     4) ดำเนินการลงรายละเอียดในแผนงาน

     : ใส่ข้อมูลทั้งหมดลงในแผนการดำเนินงานและปฏิทินการฝึกอบรม โดยบริหารการจัดการเรียนรู้การฝึกอบรมแบบ LMS (Learning Management System) เช่น Classroom ,Workshop ,Onsite ,Online 

  • สร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการให้รางวัล (Rewards) เช่น ใบประกาศนียบัตร(Certificate) , รางวัลผู้เข้าร่วมกิจกรรม ,คะแนนการเข้าร่วมกิจกรรม

     5) สรุปการวางแผนงานและนำไปพัฒนา

     : ทุกการจัดกิจกรรมอบรมต้องมีการสรุป ประเมินผลติดตามอย่างเป็นรูปธรรมทั้งแบบเชิงคุณภาพ (Quality) หรือเชิงปริมาณ (Quantity) เช่น

     เชิงคุณภาพ(Quality)

      การประเมินผลแบบสอบถามการอบรม , การประเมินความพึงพอใจจากลูกค้าภายนอก

     เชิงปริมาณ(Quantity)

      การทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)  การทดสอบหลังเรียน (Post-Test)  การประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง (On The Job Training) การประเมินตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Indicators)  ประเมินขีดสมรรถนะ (Competencies) ปลายปี  เป็นต้น

     รายละเอียดด้านบนคือขั้นต้นของการเตรียมตัวการจัดทำ Training Roadmap เมื่อกำหนดรายละเอียดแผนการฝึกอบรมลงไปในแผนงานแล้ว กลไกที่ซ่อนอยู่ในการวางเส้นทางการฝึกอบรมนั้นคือ “ใช้เครื่องมืออะไรในการพัฒนาบุคลากร” (Development Tools) ? 

      ผู้กำหนดจึงต้องวางเส้นทางแต่ละขั้นให้รอบคอบตามรูปแบบวงจรคุณภาพ PDCA มิเช่นนั้นอาจทำให้เสียเวลาการอบรม เสียงบประมาณ ไม่สามารถสร้างคนเก่งในองค์กรได้จริง

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 02 สิงหาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 1188 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร

กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจพนักงานแบบ4S (Strategies for Motivating Employees)

นอกจากการให้สวัสดิการที่ดี การขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้น การมีโบนัสปลายปีอาจไม่ได้ตอบโจทย์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานสำหรับทุกคน องค์กรที่ต้องการธำรงรักษาคนเก่ง คนมีฝีมือไว้ได้ องค์กรวางกลยุทธ์

Training Roadmap จัดทำอย่างไร? (How to Create a Training Roadmap)

การทำแผนที่เส้นทางการฝึกอบรม (Training Roadmap) ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการพัฒนาบุคลากร ทำให้ทุกหลักสูตรการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์แท้จริงและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

Competency มีประโยชน์ต่อองค์กร?

การจัดทำขีดสมรรถนะความสามารถแบบ Competency มีประโยชน์ทั้งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนารูปแบบองค์กรให้มีประสิทธิภาพเท่าทันสถานการณ์ การมุ่งหมายบริหารบุคลากรไปที่การประเมินผลปฏิบัติงาน