ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 13 กันยายน 2566 จำนวนผู้เข้าชม 708 คน
13 กันยายน 2566การจัดทำระบบบริหารผลงานอย่างต่อเนื่องแบบ Objectives and Key Results (OKRs) ให้สำเร็จขึ้นอยู่กับการวางแผนดำเนินงานAction Planแต่ละไตรมาส ในการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือค่าเป้าหมายที่ตั้งและตัวชี้วัดผลลัพธ์ความสำเร็จ (Key Results) ที่กำหนดขึ้น จะสามารถบรรลุผลงานเชิง Output & Outcomeได้อย่างไร ไม่จำเป็นว่าเคยจัดทำการประเมินผลมาก่อนหรือไม่ เพราะตามหลักการการจัดทำ OKRs นั้นปลายทางมองที่ “การพัฒนาองค์การและพัฒนาบุคลากร” มิใช่การประเมินแบบ KPI จัดทำเพื่อการปรับเลื่อนขั้นตำแหน่งงานการขึ้นเงินเดือนให้โบนัส
สิ่งที่น่าตั้งคำถามเมื่อเริ่มเก็บตัวเลขผลลัพธ์ในรูปแบบ OKRs คือ
ดังนั้น สิ่งสำคัญอันดับต้นที่องค์กรต้องคำนึงถึง ในช่วงปีแรกของการจัดทำOKRsหลังจากทำการอบรมให้ความรู้(Training) ประชุมหารือการดำเนินการ (Meeting) ควรมีการวางแผนการโค้ชกระตุ้นผลงานเรียก “OKRs Coaching” ให้การจัดทำ OKRsบรรลุได้ตามเป้าหมายงานที่ตั้งไว้ในแต่ละไตรมาส
โค้ชจะทำการค้นหาสิ่งที่ผู้ได้รับการโค้ชให้แสดงออกมาทั้งรูปแบบความคิด วิธีการ แสวงหาเครื่องมือที่เหมาะสมช่วยผลักดันแนวคิดผู้ได้รับการโค้ชเรียกว่า “โค้ชชี่” ให้บรรลุผลที่คาดหวัง
โค้ชนั้นคือใคร ?
วิธีการโค้ช T-A-P มี 3 แบบ
1. Telling (T) คือการโค้ชโดยการสอนชี้แนะด้วยเครื่องมือ(Tools)การให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์นั้นๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย กรณีศึกษา โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการชี้แนะ(โค้ชชี่)ได้มีความรู้(Knowledge) ทักษะ(Skills) คุณลักษณะ(Attribute)ที่ตรงกับนโยบายองค์กรต้องการ
เหมาะสำหรับการโค้ชพนักงานใหม่ เริ่มโครงการใหม่ ปฏิบัติงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่การจัดทำระบบจัดการใหม่ในองค์กรนั้นๆ
2. Asking (A) คือการที่โค้ชตั้งคำถามเกริ่นนำ เพื่อให้โค้ชชี่ตอบคำถามในประเด็นที่โค้ชตั้งคำถามไว้ โดยโค้ชจะไม่สอดแทรกความคิดเห็นตนเองเข้าไปในช่วงโค้ชชี่เล่าเรื่องชี้แจง โค้ชทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดีกระตุ้นการแสดงความสามารถ การแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้คำตอบ การตั้งคำถามเพื่อดึงศักยภาพโค้ชชี่จึงเป็นลักษณะคำถามปลายเปิดมากกว่าคำถามปลายปิดเว้นเสียแต่ต้องการพิจารณาหาความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมจะใช้คำถามแบบปลายปิดเท่านั้น
เหมาะสำหรับ การโค้ชระดับผู้บริหาร สร้างทีมงาน พัฒนาภาวะผู้นำ หรือโค้ชเพื่อเพิ่มสมรรถนะความสามารถเฉพาะเรื่อง
*ส่วนใหญ่ ปัจจุบันในวัยผู้ใหญ่ วัยทำงานนิยมการโค้ชแบบ Asking
3. Presenting (P) คือการที่โค้ชโดยการนำเสนอถ่ายทอดต้นแบบ (Model) ให้โค้ชชี่ได้ศึกษาตามรายละเอียดที่เตรียมไว้ อาจมีทั้งเสียง เนื้อหา ภาพประกอบ โดยกำหนดช่วงระยะเวลาในการศึกษาและนำมาสนทนาประเด็นที่ศึกษาโค้ชรับฟังรวบรวมข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ให้ครบประเด็นด้วยคำถามปลายเปิด การโค้ชในแบบนี้ข้อสำคัญคือต้นแบบที่นำมาต้องได้รับการยอมรับในวงกว้าง มีมาตรฐานเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ ได้รับการเชิดชูหรือผลงานรางวัลระดับสากล
เหมาะสำหรับ การโค้ชริเริ่มโครงการ พัฒนาระบบ พัฒนาการบริหารจัดการ
ในการทำ OKRs Coaching จะเลือกการโค้ชแบบใดขึ้นอยู่กับความพร้อมของกลุ่มโค้ชชี่นั่นคือจะเลือกโค้ชแบบ T-A-P ดูที่ปัจจัยดังนี้
สุดท้ายการจัดทำ OKRsจะสำเร็จไม่สำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่คนใดคนหนึ่งแต่เกิดจากการเข้าใจการร่วมใจพัฒนาองค์กร ตั้งแต่ระดับบนกระทั่งระดับล่างสุด แม้ระบบบริหารผลงานแบบOKRsเป็นการตั้งเป้าหมายผลสำเร็จโดยผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ใช่ผู้บังคับบัญชากำหนดขึ้นอย่าง KPI
แต่ในทางการดำเนินงาน OKRsยังต้องการแรงขับเคลื่อนติดตามจากระดับผู้บังคับบัญชาตลอดทุกไตรมาส หัวหน้าจึงเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงช่วยแนะนำ ชี้แนะ หาทางออกให้ลูกน้องสามารถทำงานได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายแต่ละไตรมาส ลูกน้องดึงศักยภาพตนเองที่ซ่อนอยู่มาใช้ในการพัฒนางานจริงมากกว่าทำงานไปวันๆรอรับเงินเดือนแต่ละเดือน
องค์การที่ริเริ่มทำ OKRsย่อมได้ประโยชน์สองต่อแบบWIN-WIN องค์การได้ผลกำไรได้คนทำงานเก่งขึ้น ส่วนบุคลากรที่ทำงานมีความรู้ ได้รับการเรียนรู้พัฒนาต่อยอดมีความสุขต่อผลลัพธ์ที่ทำสำเร็จ ยิ้มแย้มคนละจุดที่ยืนแต่ยิ้มแฉ่งมาจากใจ…
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 13 กันยายน 2566
จำนวนผู้เข้าชม 708 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan
ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ
ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET
ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน
จิตวิทยาบริการ
หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล
เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ
คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด
ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล
อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล
แนวทางขับเคลื่อน AIDET สู่ภาคปฏิบัติ
ทำอย่างไรให้กระบวนการสื่อสารแบบ AIDET ในโรงพยาบาล ขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติมากกว่าการท่องจำไปใช้ ซึ่งแนวทางการศึกษาของสถานพยาบาลและวิทยาลัยทางการแพทย์ในต่างประเทศ ได้นำกระบวนการ AIDET