หน้าแรก หน้ารวมบทความ ฝึกพูด “คำไหน?” สร้างพลังบวกให้สมอง

ฝึกพูด “คำไหน?” สร้างพลังบวกให้สมอง


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 542 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     รู้หรือไม่ ? ปกติแล้วสมองผู้ชายมีน้ำหนักประมาณ 1,380 กรัม ผู้หญิงสมองมีน้ำหนักประมาณ 1,250 กรัม แต่ขนาดและน้ำหนักสมองมิได้มีผลต่อความสามารถ ปัญญา ไหวพริบ แต่ความฉลาดขึ้นอยู่กับ “ ร่องลึกและรอยคดของร่องในสมอง” ต่างหาก !! 

     ดังนั้นคนหัวโต หัวเล็ก ไม่ได้มีผลต่อการคิด การกระทำหรือความฉลาดหลักแหลม !!

อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาของ …

     รูดอร์ฟ แว็กเนอร์ (Rudolf Wagner) ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษาข้อมูลด้านสมอง พบว่าสมองของโยฮัน คาร์ล ฟรีดิช เกาส์ (Johann Carl Friedrich Gauss) นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้ได้รับการยอมรับในฉายา “เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์ (Prince of Mathematics)” 

  • มีน้ำหนักสมอง 1,492 กรัม 
  • รอยหยักและร่องลึกสมองจำนวนมากกว่าคนปกติทั่วไป

     สมอง(Encephalon/Brain)ของเรานั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

  1. สมองส่วนหน้า (Forebrain/Prosencephalon)
  2. สมองส่วนกลาง (Midbrain/Mesencephalon)
  3. สมองส่วนล่าง (Hindbrain/Rhombencephalon)

     ในวันนี้จะมาพูดถึงสมองส่วนหน้า คือ สมองใหญ่ (Cerebrum) ทำหน้าที่ควบคุมความทรงจำ ความคิด ไหวพริบ ความรู้สึก การมองเห็น การได้ยิน รู้สึกตัว การเคลื่อนไหวและคำพูด 

     สมองใหญ่ประกอบด้วยสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาที่เชื่อมต่อกันโดยเส้นใยนับล้านๆเส้น สมองซีกซ้ายเราทำหน้าที่ควบคุมการทำงานอวัยวะของร่างกายซีกขวา ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมอวัยวะร่างกายซีกซ้ายเช่นกัน 

     สมองซีกซ้ายจะทำงานเกี่ยวกับตัวเลข การคำนวณ การวิเคราะห์แยกแยะ ตรรกวิทยา ลำดับข้อมูลอย่างมีเหตุผล ประมวลข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ประมวลรวบรวมเรียบเรียงข้อมูล  รับฟังส่งสารเป็นรูปแบบคำพูด 

     สมองซีกขวาจะทำงานด้านภาพ ความนึกคิด จินตนาการ รวบรวมภาพใหญ่ๆ มโนภาพ เรียงลำดับกระบวนการการรับรู้หลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน 

     เมื่อเกริ่นเรื่องสรีรวิทยาสมองให้ผู้อ่านทราบพอควรแล้ว ผู้เขียนขอพูดถึงคำพูดที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองกันเถอะ ! 

      หลายคนอาจรับประทานอาหาร วิตามินบำรุงสมอง ฝึกเกมพัฒนาทักษะสมอง

     วันนี้จะพามารู้จักกับอาหารเสริมสำคัญที่อยู่กับสมอง ต้องฝึกใช้ให้เคยชินไม่มีขายที่ไหน

      นั่นคือ  “คำพูด” ที่ช่วย “เปิด-ปิดกั้นการทำงานการเรียนรู้ของสมอง” ซึ่งคุณเองอาจไม่เคยสนใจคำเหล่านี้เลย !! 

เคยสงสัยไหมว่า “ทำอย่างไรให้คิดบวก” ที่ฝึกคิดบวกน่ะ ควรเริ่มฝึกจากข้อไหนก่อนดี ?

  1. คำพูด 
  2. ความคิด
  3. การกระทำ

          … ฝึกเริ่มมาจากการฝึกการคิด ---> เพื่อเปิดประตูสมองก่อนเลย

          …. ต่อมาจึงฝึกการพูด  ---> เพื่อเปิดพฤติกรรมยอมรับ

          …. สุดท้ายฝึกการกระทำ ---> เพื่อปฏิบัติจนเกิดความเคยชิน

     ตัวอย่าง คำพูดที่ส่งผลต่อการปิด-เปิดกั้นการเรียนรู้สมอง หากเปลี่ยนคำพูด ความคิด การกระทำเป็นคำพูดช่องขวา (จากตารางข้อมูลด้านล่าง) ย่อมส่งผลให้สมองเปิดรับเพื่อนใหม่ โครงการใหม่ เกิดทักษะที่แตกต่าง  ฝึกขัดเกลาสมองเปิดรับความท้าทายที่เข้ามาใหม่ๆ มีมวลมิตรภาพเพิ่มขึ้น ใจกว้างและคิดบวก (Positive Thinking)

คำพูดปิด-เปิดกั้นการเรียนรู้สมอง

 โจทย์ศึกษา  

(ลองฝึกทดสอบว่าคุณมีพลังบวกของสมอง? เมื่ออ่านคำถามคำตอบจบ ตอบคำถามภายใน 3 วินาทีแรกเท่านั้น จึงจะเป็นคำตอบที่มาจากความรู้สึกที่แท้จริงจากตัวคุณเอง)

  1. เย็นวันนี้ใกล้เลิกงาน หัวหน้างานโยนแฟ้มงานลงบนโต๊ะคุณอย่างแรง !! เอกสารกระจายออกจากแฟ้ม พร้อมพูดว่า“ช่วยเอารายงานที่คุณสรุปไปแก้ใหม่ด้วย ทำข้อมูลผิดเยอะมาก ไม่ละเอียดพรุ่งนี้มาส่งใหม่”

คุณจะแสดงท่าทางเมื่อหัวหน้ากระทำใส่เช่นนี้ อย่างไร ?

  1. ยืนงง นิ่งรับ 
  2. ก้มพยักหน้า มองสบตาหัวหน้า
  3. ขมวดคิ้วสงสัย สอบถามทันที
  4. โครงการเมกะโปรเจคที่ส่งให้แผนกคุณทำเร่งด่วนและไม่เคยทำมาก่อน ในฐานะคุณเป็นหัวหน้าโปรเจคคิดว่ามีโอกาสไม่สำเร็จ ไม่ทัน ดูยากมาก และดูแล้วลูกทีมไม่ค่อยอยากทำ 

คุณจะเอ่ยคำแรกหลังได้รับทราบข้อมูลโปรเจคกับลูกน้องว่าอย่างไร ? 

  1. คิดว่าไม่น่าทำทันนะ มันเร่งด่วนไป
  2. คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิดจริงๆ
  3. ลองร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำสักตั้ง
  4.  เมื่อคุณได้รับการโปรโมทจากผู้บังคับบัญชาให้เลื่อนตำแหน่งงานจากพนักงานทำงานมา 5 ปี เป็นระดับผู้จัดการเพราะผู้จัดการเดิมลาออกไป “คุณทราบดีว่าวัฒนธรรมองค์กรแบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย คุณต้องทำงานหนักขึ้นในแผนกเดิม คุณไม่มีทักษะการบริหารจัดการ ลูกน้องในสายงานบางคนคุมยาก การทำงานที่ผ่านองค์กรยังไม่มีระบบ ”

เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณจะคิดในใจว่าอย่างไร ?

  1. โอ้โหต้องลอง แต่งานนี้ไม่ใช่เรื่องหมูๆนะ ?
  2. เราจะทำไหวไหมนะ ปัญหาสะสมมันเยอะ ?
  3. ถ้าเรารับตำแหน่งนี้ จะเหนื่อยเกินตัวไหม ?

เฉลยคำตอบ

ข้อ 1    ตอบ  B  (ประเมินการกระทำ)

ข้อ 2    ตอบ C    (ประเมินคำพูด)

ข้อ 3    ตอบ  A    (ประเมินความคิด)

คำแนะนำ

  • หากตอบถูกต้องทั้งหมด 3 ข้อ แสดงว่าคุณมีพลังบวกในการทำงาน
  • หากตอบข้อหนึ่งข้อใดผิด ควรได้รับการโค้ช ฝึกทักษะนั้นๆเพิ่มเติม
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 542 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Put The Right Man On The Right Job At The Right Time

เลือกคนให้ตรงงานถูกที่ถูกเวลา คือแนวทางการสรรหาบุคลากรทุกตำแหน่งหน้าที่ หากได้บุคคลที่มีคุณภาพตรงหน้าที่งานช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มความสำเร็จงาน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง

จัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT (4MAT Learning Model)

หากผู้สอนเลือกใช้เทคนิคจัดการเรียนการสอนได้ตรงใจผู้เรียน ย่อมเกิดการเปิดใจเรียนรู้ ทำให้การเรียนน่าสนใจ คนเรียนมีความรู้ คนสอนมีความสุข 4MAT คือ รูปแบบการสอนที่สร้างกระบวนการเรียนรู้

ฝึกทักษะการนำเสนอด้วยคีย์เวิร์ด (Keyword)

ทุกงานทั้ง นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร นักเรียนนักศึกษาเสนองานหน้าชั้นเรียน Trainer สอนผู้เข้าอบรม หัวหน้างานฝึกอบรมลูกน้อง ฝ่ายขายเสนอข้อมูลสินค้า นางงามตอบคำถามในรอบห้องดำ แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน

หกท่าภาษากายเสนองานที่มีเสน่ห์ (Presenting Body Language)

การเตรียมภาษากายจึงมีความสำคัญมาก เป็นภาพลักษณ์แรก (First Impression) ที่ผู้ร่วมสนทนา เกิดการรับฟังพบเห็นและอาจกล่าวได้ว่า ผู้ร่วมสนทนารับรู้การแสดงออกตลอดในช่วงระยะเวลาที่นำเสนอ

เคล็ดลับลดความตื่นเต้นเมื่อพูดในที่ประชุม ?

การพูดในที่ประชุมที่ค่อนข้างเป็นทางการ โดยเฉพาะการประชุมที่ผู้ฟังมีตำแหน่งหน้าที่อาวุโสในองค์กร ผู้ฟังหลายส่วนงาน หลากหลายกลุ่มอายุ การเตรียมตัวเตรียมข้อมูลในการพูดถือเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์

เทคนิคสัมภาษณ์งานให้ได้คนเก่ง

หลังผู้สมัครงานผ่านระบบการทดสอบ (Test/Exam) ความสามารถตามแนวทางที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลวางระบบการทดสอบไว้แล้ว เช่น สอบข้อเขียนทักษะหลักในงาน สอบวัดพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ประเมิน MBTI วัดคุณลักษณะบุคคล