หน้าแรก หน้ารวมบทความ จัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT (4MAT Learning Model)

จัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT (4MAT Learning Model)


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 3847 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          “หากผู้สอนเลือกใช้เทคนิคจัดการเรียนการสอนได้ตรงใจผู้เรียน ย่อมเกิดการเปิดใจเรียนรู้ ทำให้การเรียนน่าสนใจ คนเรียนมีความรู้ คนสอนมีความสุข”  

     4MAT คือ รูปแบบการสอนที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนผ่านไปทีละขั้นตอน เป็นการบูรณาการสอนจัดการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น “ศูนย์กลาง”

     ในการจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT สามารถนำมาใช้ได้ทั้งนักเรียน นักศึกษาและวัยผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น ในหลักสูตรที่มีการจัดอบรมแบบ Workshop หรือ On the Job Training (OJT) เริ่มการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ทำให้หลักสูตรอบรมมีการคิดวิเคราะห์ การตีความ การแก้ปัญหา เกิดการนำไปใช้ในงานได้จริง

     ในการจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT (4MAT Learning Model) มีแนวคิดมาจากรูปแบบการเรียนรู้ของ David Kolb โดย Kolb กล่าวว่าจัดผู้เรียนนั้นแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามรูปแบบที่เขาชอบคือ

  • แบบที่  1  : ชอบเรียนรู้โดยนำแนวคิดและประสบการณ์มาเชื่อมโยง (Converger)
  • แบบที่  2  :ชอบเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ นำผลลัพธ์ที่ได้มาคิดทบทวน (Diverger)
  • แบบที่  3  : ชอบเรียนรู้โดยทำความเข้าใจกับหลักการเหตุผลตามทฤษฎี (Assimilator)
  • แบบที่ 4 : ชอบการเรียนรู้จากการปฏิบัติและนำสิ่งที่เรียนรู้มาทดสอบ (Accommodator)

     โดย 4MAT Model นั้น Bernice McCarthyได้พัฒนาขึ้นมาจากการทำวิจัยและจัดการสอนให้กับโรงเรียนอนุบาล 4MAT Model ใช้พื้นฐานการเรียนรู้ของ Kolb เรื่องการเรียนรู้ 4 แบบของมนุษย์และแนวคิดการทำงานของสมอง 2 ซีกในมนุษย์ทั้งซ้ายขวามีการทำงานต่างกัน กล่าวคือ สมองซีกซ้ายใช้เพื่อคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ส่วนสมองซีกขวาใช้เพื่อจินตนาการ จดจำแบบแผน รูปภาพ 

     4MAT Learning Model 

     นั้นประกอบด้วย 4 ส่วน หรือ 4 Quadrant แบ่งเป็น 8 ขั้นตอนย่อย คือ

     ส่วนที่ 1 Meaning : ให้ความหมาย

     1.1) เชื่อมโยงสิ่งที่เรียน (Connect) เป็นขั้นตอนที่กระตุ้นนำประสบการณ์ของผู้เรียนมาเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเล่าสู่กันฟัง

     1.2) สนใจเรื่องที่เรียน (Attend) เป็นขั้นที่กระตุ้นให้มอง คิด ออกนอกกรอบความคิดเดิม ผู้สอนต้องกระตุ้นให้พยายามจับประเด็นที่เข้าใกล้เนื้อหาแต่ละประเด็นให้มากที่สุด

  • ส่วนที่ 2 Concepts : แนวคิด

     2.1) สร้างจินตนาการให้เกิดภาพ (Image) พยายามดึงข้อมูลที่หลากหลายนำมาให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นอาจแสดงในรูปแบบแผนภาพหรือแผนที่ความคิด (Mapping)

     2.2) บอกสิ่งที่เรียนรู้ (Inform) แจ้งสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ขมวดจากแนวคิดแผนภาพที่เสนอแนะและประสบการณ์ที่ได้เสนอแนะ ให้ผู้เรียนทราบถึงสิ่งที่ต้องเรียนรู้ไปศึกษาเพิ่มเติม

  • ส่วนที่ 3 Skills  : ฝึกฝนทักษะ

     3.1) ฝึกปฏิบัติ (Practice) ในขั้นตอนนี้เป็นการนำรายละเอียดที่ได้รับมาฝึกปฏิบัติ โดยรูปแบบการสอนเป็นการทำ Workshop  ให้ลองฝึกปฏิบัติจริงหรือทดลองทำงานจริง

     3.2) ขยายขอบเขตความรู้ (Extend) เมื่อผู้เรียนได้ลองฝึกปฏิบัติแล้ว ผู้สอนจึงมอบหมายงานหรือโครงการให้ผู้เรียนได้นำความรู้จากการปฏิบัตินี้ไปต่อยอด ในขั้นนี้ผู้สอนเสมือนโค้ชช่วยแนะนำ กระตุ้นให้แนวคิด 

  • ส่วนที่ 4 Adaptations : การนำไปใช้

     4.1)กลั่นกรอง (Refine) ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ปัญหา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การแก้ปัญหาที่อาจเกิด

     4.2) การนำไปใช้ (Perform) เป็นขั้นตอนของการสรุป ประเมินสิ่งที่เรียนรู้ การนำไปใช้

     จากที่ผู้เขียนได้ใช้ 4MAT ในการสอนนักเรียนนักศึกษาในรั้วโรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นการเรียนการสอนที่สนุก แต่ละหัวข้อที่สอนผู้สอนได้เตรียมเครื่องมือในการสอนที่หลากหลาย ฝึกผู้เรียนตั้งคำถาม รวบยอดแนวคิด 

     ซึ่งในปัจจุบัน สามารถนำแนวคิด 4MAT ตามลักษณะ 8 ขั้นตอนการสอนมาใช้จัดการอบรม (Training) ให้แก่กลุ่มวัยทำงานให้เข้ากับแต่ละ Generations  

     การจัดอบรมแบบ 4MAT Model คืออีกหนึ่งแนวทางการสอนของวิทยากรทั้งภายในองค์กรและวิทยากรภายนอก มีประโยชน์ในทุกกลุ่ม ทำให้เกิดบรรยากาศการจัดอบรมที่ดีในองค์กร แต่ละกลุ่มวัยได้แสดงออกทางความคิดเห็นร่วมกัน

      ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนช่วยสร้างอรรถรสการเรียนรู้ ผู้เรียนได้มีการนำความรู้ไปคิดต่อยอดนำไปใช้ นำประสบการณ์ผู้เรียนแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน การจัดการอบรมแบบนี้เรียก “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” ใช้อบรมได้ทุกหลักสูตร ครั้งต่อไปหากมีเวลาสะดวกผู้เขียนจะนำตัวอย่าง รูปแบบจริงการจัดการสอนแบบ 4MAT ในวัยผู้ใหญ่ นำมาเป็นตัวอย่างให้เป็นแนวทางค่ะ 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 29 สิงหาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 3847 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร