หน้าแรก หน้ารวมบทความ เทคนิคสัมภาษณ์งานให้ได้คนเก่ง

เทคนิคสัมภาษณ์งานให้ได้คนเก่ง


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 934 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     หลังผู้สมัครงานผ่านระบบการทดสอบ (Test/Exam) ความสามารถตามแนวทางที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลวางระบบการทดสอบไว้แล้ว เช่น สอบข้อเขียนทักษะหลักในงาน สอบวัดพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ประเมิน MBTI วัดคุณลักษณะบุคคล สอบวัดทักษะ MS-Office 

     อีกกระบวนการถัดไปคือ การสัมภาษณ์งาน (Interview) เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานในองค์กร ทำให้ได้คนเก่งเหมาะกับงาน อยู่คู่องค์กร ไม่ปฏิเสธคัดเลือกผิดคน 

    เทคนิคการสัมภาษณ์งานสำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ ฝ่ายงานหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้น

     เริ่มจาก…

  1. ทดสอบด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เบื้องต้น ตามที่องค์กรนำมาใช้อย่างเหมาะสมเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการพิจารณาผ่านสัมภาษณ์งาน ตัวอย่างเช่น
  • แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) โดย Isabel Briggs Myers & Katharine C.Briggs ต่อยอดมาจากทฤษฎีของ Carl Jung เป็นการวัดบุคลิกภาพ 16 แบบของคน ตามตัวแปรอักษร 8 ตัว E I P S T F N J จัดเป็นชุดๆละ 4 ตัวอักษรซึ่งแบบวัดแบ่งคนเป็น 4 มิติ คือ
  • เปิดเผยแสดงตัว (Extroversion) เก็บตัว (Introversion)
  • ใช้ประสาทสัมผัส (Sensing) หยั่งรู้ (Intuition) 
  • ใช้ความคิด (Thinking) ใช้ความรู้สึก (Feeling)
  • ตัดสิน (Judgement) รับรู้ (Perception)

     ** ทดลองทำแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ MBTI ได้ที่ https://www.16personalities.com/free-personality-test

     *นิยมใช้ทดสอบในองค์กร

  • แบบทดสอบวัดพฤติกรรมความเป็นผู้นำ/บุคคลแบบ DISC * จากแนวคิดของ William Marston นิยมใช้ทดสอบในองค์กร เป็นการวัด 4 รูปแบบในบุคคล เรียกย่อๆว่า DISC มาจากคำว่า Dominance Influence Steadiness Conscientious
  • แบบทดสอบ Enneagram วัดนพลักษณ์ 9 แบบวัดจากแรงจูงใจ
  • แบบทดสอบ Big Five วัด 5 สิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น
  • แบบทดสอบ Chronotype วัดเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆตามนาฬิกาชีวิต

     2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการสัมภาษณ์

  • ขั้นตอนการสัมภาษณ์
  • ใครคือผู้สัมภาษณ์
  • เกณฑ์คะแนนที่ผ่าน
  • ระยะเวลาสัมภาษณ์
  • แบบฟอร์มประกอบการสัมภาษณ์พิจารณา
  • กรอบ/หลักเกณฑ์เพื่อตั้งคำถาม

     3. กำหนดแนวทางคำถาม-ตอบคำถาม

  • คำถามทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพื่อประเมินการรับรู้การมีส่วนร่วมความใส่ใจ
  • คำถามเฉพาะในงาน เพื่อประเมินความรู้ความสามารถในงาน
  • คำถามคุณลักษณะเฉพาะบุคคล เพื่อประเมินสมรรถนะที่องค์กรคาดหวัง ทัศนคติของผู้รับการสัมภาษณ์ ความเป็นผู้นำ ความร่วมมือ เป็นต้น

     4. ตัวอย่างคำถามเพื่อสัมภาษณ์

  • คำถามทั่วไปในชีวิตประจำวัน 
  • วันหยุด/ช่วงเวลาว่างคุณสนใจทำกิจกรรมอะไร
  • ข่าวล่าสุดที่สังคมให้ความสนใจคือเรื่องใด 
  • คุณสนใจข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สังคมเรื่องใดบ้าง ช่วยเล่าให้ฟัง 
  • คุณทราบหรือไม่บริษัทของเรามีผลิตภัณฑ์ใดได้รับรางวัลระดับประเทศ
  • คำถามเฉพาะในงาน
  • คุณมีประสบการณ์ด้านตำแหน่งนี้มากี่ปี 
  • อะไรที่ทำให้คุณพึงพอใจในการทำงานตำแหน่งนี้
  • ช่วยเล่าอุปสรรคในงานตำแหน่งนี้ ที่คุณเอาชนะมันมาได้เพราะอะไร
  • คำถามคุณลักษณะเฉพาะบุคคล
  • คุณชอบงานที่ทำด้วยตนเองสำเร็จหรืองานทำเป็นทีม เพราะอะไร 
  • คุณชอบอ่าน/ศึกษาเรื่องใดเป็นพิเศษ เพราะอะไร
  • ข้อดีและข้อเสียในตัวคุณ คืออะไรบ้าง

     จากแผนภาพ กระบวนการสัมภาษณ์องค์กรต้องมีการวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีรูปแบบประเมินได้ทุกขั้นตอน 1.มีความเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ ค่านิยม คุณลักษณะที่องค์กรต้องการ 2.ผู้สัมภาษณ์มีความชัดเจนในการสรรหาคัดเลือกให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความสามารถ 3.ผู้รับการสัมภาษณ์ตรงความคาดหวังองค์กร ไม่ใช่แค่สัมภาษณ์พอเป็นพิธีการและเลือกตามความพึงพอใจส่วนตัวผู้สัมภาษณ์

      หากตระหนักในตรงนี้ จะได้มาซึ่งบุคคลมีความสามารถตรงตามเป้าหมายแผนกและองค์กร ทำให้ “เลือกคนถูกใจ เลือกคนถูกงาน” ได้คนเก่งมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 934 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

บุคลิกภาพท่ายืนเดินนั่งที่สง่างาม

“อิริยาบถท่าทางที่สง่างามช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ชวนมอง ไม่ว่าท่านทำงานในตำแหน่งใด ควรได้เรียนรู้พื้นฐาน 3 เรื่องนี้ไว้ทั้งการยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นบุคลิกพื้นฐานที่ฝึกฝนให้ดูดีได้ไม่ยาก ”

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน