หน้าแรก หน้ารวมบทความ หกท่าภาษากายเสนองานที่มีเสน่ห์ (Presenting Body Language)

หกท่าภาษากายเสนองานที่มีเสน่ห์ (Presenting Body Language)


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 866 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     “การล้มเหลวในการเสนอเกิดจากการไม่ได้พูดแต่คือการแสดงออกทางกาย….. จริงหรือ?” 

     ความสำเร็จของการนำเสนองาน การเสนอขาย การขอทุน การขอร่วมระดมทุน การขอความร่วมมือ อย่ากังวลเตรียมข้อมูลอย่างเดียวแบบจุกๆ พอแล้ว การนำเสนอนั้นเกิดจากบุคคลเป็นผู้ให้ข้อมูลในด่านแรก เราจะทำอย่างไรให้ตลอดการนำเสนอน่าสนใจ น่าฟัง เกิดการซักถาม เกิดการต่อยอด

     การเตรียมภาษากายจึงมีความสำคัญมาก เป็นภาพลักษณ์แรก (First Impression)ที่ผู้ร่วมสนทนา เกิดการรับฟังพบเห็นและอาจกล่าวได้ว่า ผู้ร่วมสนทนารับรู้การแสดงออกตลอดในช่วงระยะเวลาที่นำเสนอ ภาษากาย (Body language)  ทำให้คู่สนทนาเห็นด้วย พึงพอใจ ประทับใจหรือเบื่อหน่าย

      เริ่มต้น 6 ท่าภาษากายก่อนและระหว่างการนำเสนอตามลำดับดังนี้

      1. รอยยิ้ม

     : แรกเริ่มเมื่อพบเจอ ยิ้มยกมุมปากทั้งสองข้างแต่พอดี ไม่ยกมุมปาก เบ้ปากข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เสียบุคลิกภาพดูไม่มั่นใจไม่จริงใจ ไม่จำเป็นต้องยิ้มกว้างหรือหุบยิ้มเพื่อสร้างความน่าเกรงขาม การยิ้มเป็นการเปิดรับแรกพบที่ดีมาก สื่อสารถึงความจริงใจน่ามองสร้างสัมพันธไมตรีแรกพบ รวมถึงแสดงการมีความมั่นใจในการนำเสนอ

     2. คิ้วและตา

     : คิ้วสองข้างเลิกขึ้นหรือยกขึ้นขณะทำการมอง ขณะนำเสนอ สายตามองตรงไม่เหล่เอียง สื่อสารถึงการเปิดรับการสอบถาม มีความสนใจผู้ฟัง ที่สำคัญคือทุกครั้งที่ยิ้มนั้นสายตาต้องส่งออกทางริมฝีปากอย่างสัมพันธ์กัน ไม่ใช้สายตาบังคับจ้องมองเขม็งดุดัน แต่รอยยิ้มหวานละมุน ตรงนี้ดูออก มองแล้วไม่จริงใจ แสดงออกได้ว่าคล้ายเป็นการแสร้งยิ้มกลบเกลื่อน ทำให้ผู้สนทนาด้วยรับรู้ถึงการปิดบังความรู้สึกในใจทางลบอยู่

     3. ศีรษะ

      : ในช่วงการนำเสนอศีรษะต้องตั้งตรง เคลื่อนไหวตามทิศทางการเคลื่อนตัว เอนหน้าเล็กน้อยได้ ต่อเมื่อมีการตอบซักถามข้อสงสัยไม่แนะนำการทำศีรษะเอียงซ้าย เอียงขวาหรือโยกไปมาด้านหลัง การตั้งศีรษะตรงพอดีสื่อสารถึงความสมดุลด้านความคิด ความสมบูรณ์แบบในการนำเสนอสร้างความน่าเชื่อถือ

     4. ลำตัว

      : ลักษณะการทรงตัว ลำตัวตรงแต่ไม่แข็งเกร็งเสมือนยืนเข้าแถวหน้าชั้นเรียนหรือฝึกทหาร   พยายามยืนตัวตรงปล่อยจังหวะการเคลื่อนไหวของลำตัวอย่างธรรมชาติ สัมพันธ์ไปตามจังหวะการเคลื่อนไหวของสายตา มือและการยืน  การยืนลำตัวตรงพอดีส่งผลต่อการสื่อสารทางกายแบบผู้นำให้ผู้ฟังรู้สึกสบายตา มีความตั้งใจในสิ่งที่ผู้นำเสนอต้องการส่งสาร

     5. มือ

      : ระหว่างการนำ การผายมือช่วยให้ผู้พูดดูผ่อนคลาย เนื้อหาน่าฟังมากขึ้น แต่ลักษณะตำแหน่งที่ผายมือนั้น หากมือข้างหนึ่งต้องถืออุปกรณ์การพูด มืออีกข้างควรผายออกตามลักษณะสิ่งที่นำเสนอหากเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงบวกมือผายระยะช่วงเอวขึ้นไปไม่เกินไหล่ ข้อมูลในทางลบมือผายออกกดลง 

      กรณีผายมือสองข้างสื่อสาร กับคู่สนทนาระยะไม่เกินหนึ่งเมตร มือสองข้างผายอยู่ระหว่างเข็มขัดกับใต้อก ถ้าข้อมูลที่พูดต้องการสื่อสารแบบย้ำให้จดจำ มือสองข้างผายเท่ากันและเสมอกัน

     กรณีต้องการอธิบายทั่วไปผายมือสองข้างไม่สม่ำเสมอเท่ากัน

     6. ขา

      : ท่ายืนในการนำเสนอ ยืนตรงพอดีผู้ชายยืนปลายเท้าสองข้างแบบตัววี(V) ผู้หญิงยืนปลายเท้าสองข้างแนบแบบตัววาย (Y) เคลื่อนไหวการเดินได้สัมพันธ์ตามสายตาศีรษะ หากต้องการนำเสนอเฉพาะบุคคลหรือตอบคำถามบุคคลใด ปลายเท้ายืนตรงไปตามตำแหน่งบุคคลนั้น ไม่แนะนำให้ยืนโยกเยก ไปมา ยืนไขว้ขา หรือนั่งพักไขว่ห้าง การสื่อสารด้วยการยืนเป็นการส่งผลถึงการเปิดรับฟัง ความสนใจในคู่สนทนา

     หกท่าภาษากายการนำเสนอเบื้องต้นนี้ เป็นท่าทางการนำเสนอในอีกหลายๆท่าภาษากายที่ผู้เขียนได้สอน และ Workshop จริง ใช้ได้ผลมาแล้วในหลากหลายสถานการณ์ของผู้เรียน เช่น ภาษากายเมื่อสัมภาษณ์งาน ภาษากายในการประเมินผลปฏิบัติงานประจำปี ภาษากายในภาวะผู้นำ ภาษากายในการพูดในที่สาธารณะ

      ซึ่งเพิ่มความสำเร็จของการงานอาชีพ ภาษากายที่มีเสน่ห์ ส่งผลต่อการประมวลผลในทางบวกของผู้รับฟังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากผู้อ่านนำไปฝึกฝน ฝึกปฏิบัติใช้ในการนำเสนอจริงในการทำงาน เชื่อแน่ว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจนำไปลองฝึกใช้ค่ะ 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 16 พฤษภาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 866 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


บุคลิกภาพท่ายืนเดินนั่งที่สง่างาม

“อิริยาบถท่าทางที่สง่างามช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ชวนมอง ไม่ว่าท่านทำงานในตำแหน่งใด ควรได้เรียนรู้พื้นฐาน 3 เรื่องนี้ไว้ทั้งการยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นบุคลิกพื้นฐานที่ฝึกฝนให้ดูดีได้ไม่ยาก ”

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางขับเคลื่อน AIDET สู่ภาคปฏิบัติ

ทำอย่างไรให้กระบวนการสื่อสารแบบ AIDET ในโรงพยาบาล ขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติมากกว่าการท่องจำไปใช้ ซึ่งแนวทางการศึกษาของสถานพยาบาลและวิทยาลัยทางการแพทย์ในต่างประเทศ ได้นำกระบวนการ AIDET

AIDET สร้างภาพลักษณ์ในงานบริการ

ในงานบริการทางการแพทย์หรือสายงานด้านการให้การพยาบาล น่าจะได้ยินคำว่า “AIDET” หรืออ่านภาษาไทยว่า “เอเด็ต” มาแล้วพอควร เป็นกระบวนการสื่อสารซึ่งสร้างความพึงพอใจความเข้าใจอันดีด้วยหลัก Waiting Time

การบริการเชิงรุก (Proactive Service ) ทำอย่างไร?

การบริการเชิงรุกไม่ใช่การกระตือรือร้นการบริการหรือเสนอการบริการให้ลูกค้าก่อน แต่เป็นรูปแบบการวางระบบบริการไว้ล่วงหน้าด้วยเทคนิค “สร้าง Brand loyalty & Brand Personal” ทุกขั้นตอนตั้งแต่แรกรับ

การบริการขั้นพื้นฐานตามหลัก ESB

ลำดับแรกเพื่อให้ลูกค้าผู้รับบริการประทับใจคือ การไม่พูด นี่คือเทคนิคขั้นพื้นฐาน สำหรับการบริการทุกระดับ ใช้การส่งสารด้วยท่าทาง อวัจนภาษา (Body Language) ลำดับแรกอย่างเป็นมิตรเพียงไม่กี่วิ