หน้าแรก หน้ารวมบทความ พูดอย่างไรให้มีจังหวะสะกดคนฟัง

พูดอย่างไรให้มีจังหวะสะกดคนฟัง


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 249 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     การสื่อสารที่ใช้ในแต่ละวันทั้งการเขียน การพิมพ์ข้อความ การใช้ท่าทาง การพูดถือเป็นการสื่อสารที่ทรงอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมากทีเดียว นอกจากการรู้จักวิธีการพูด การทักทาย การเรียกชื่อ สรรพนาม การใช้คำประโยคเรียกได้ถูกต้องแล้ว การใช้น้ำเสียงในการสื่อสารถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพูดการเจรจาให้ประสบความสำคัญในทุกสถานการณ์

     “น้ำเสียง หมายถึง ความดัง จังหวะและระดับเสียง” ส่งผลให้ผู้ตอบรับการสื่อสารมีปฏิกิริยาทั้งเชิงบวกหรือเชิงลบ 

     ดังนั้น น้ำเสียงจึงมีผู้สนใจเรียนรู้ฝึกฝนกันอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถ ในบางครั้งน้ำเสียงยังส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในสายอาชีพได้อีกด้วย

     ตัวอย่างในสมัยก่อนเราฟังบทละคร นิทานทางวิทยุเป็นส่วนใหญ่ ทุกครั้งที่ฟังทำให้เกิดจินตนาการภาพผู้พูด ความสวยงามของตัวละครเหล่านั้น เกิดอรรถรสความบันเทิง

     หากท่านสนใจฝึกการใช้น้ำเสียงด้วยตนเอง ข้อแนะนำคือ ให้ฝึกดังนี้

     1. ความดัง : ฝึกเปล่งเสียงไต่ระดับความดังตาม dB ที่เหมาะสมตามสถานการณ์และระดับเสียงที่เหมาะสม บางท่านจึงฝึกอ่าน/ร้องเพลงโดยอัดเสียงตนเองไว้เพื่อฟังความดัง-เบาของเสียง

  • ระดับเบามาก (0-20 dB)  : เสียงลมหายใจ  เสียงกระซิบ เสียงหัวใจเต้น
  • ระดับเบา (30-40 dB) : เสียงพูดคุยเบาๆในห้องสมุด/ในห้องประชุม เสียงกรน(เบาๆนะ)
  • ระดับปานกลาง (50-60 dB) :  เสียงพูดคุยทั่วไป(เสียงธรรมดา)  เสียงฝนตกกระเซ็น เบาๆ เสียงกรน(ดัง) เสียงบรรยาย พิธีกร เล่าเรื่อง เสียงครูสอน เสียงร้องเพลง
  • ระดับดัง (70-80 dB) : เสียงเครื่องเป่าลม เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงเป่านกหวีด เสียงทำกิจกรรมTeam Building กิจกรรมOD 
  • ระดับดังมาก (90-100 dB) : เสียงเครื่องตัดไม้ เสียงเครื่องดายหญ้า เสียงอุตสาหกรรมในโรงงาน 
  • ระดับดังสุดๆ (110-140 dB) เช่น เสียงดนตรีในผับ/บาร์ เสียงคอนเสิร์ต เครื่องเสียงแสดงงานวัด  เสียงเครื่องบิน  

     2. จังหวะ : ฝึกเว้นวรรคประโยคคำพูด อักขระควบกล้ำให้ถูกต้องเช่น ร เรือ  ล ลิง

           ตัวอย่างฝึกอ่าน ร ล คำควบกล้ำและเว้นวรรค

แบบที่ 1 (ร ล คำควบกล้ำ)

     กระโดดลงกระได ลิงวิ่งไวไปไกวเปล

     กวัดแกว่งไม่ลังเล รีบร้อนรนกระวนกระวาย

    ฟักแฟงลงแปลงปลูก ล้วนออกลูกผลเริ่มใหญ่

    ตำลึงลอดรั้วไม้ ร่วงหล่นไร้ใครเหลียวแล

แบบที่ 2 (เรื่องย่อลิลิตตะเลงพ่าย)

     … พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชสมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปดินแดนอยุธยา เป็นการเตือนสงครามไว้ก่อน ถ้าเหตุการณ์เมืองอยุธยาไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที 

     ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรินั้น พระเจ้าหงสาวดี จึงตรัสให้พระมหาอุปราชเตรียมทัพ ร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชากราบทูลพระบิดาว่า โหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก

     สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า พระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก ผิดกับพระองค์และให้พระมหาอุปราชาไปเอาภัสตราภรณ์สตรีมาทรงเสีย พระมหาอุปราชาทรงอับอายและหวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีอยุธยา

      ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชาเป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานอยุธยาหลายครั้งระหว่างที่อยุธยาติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย

     ฝ่ายพระมหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลรบ 5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่ำครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก

      ต่อจากนั้น ก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่าย 

     เมื่อทรงทราบว่าพม่าส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ จึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาท แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชาทำยุทธหัตถีและทรงได้รับชัยชนะ โดยทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดคาคอช้าง พระแสงของ้าวนั้นได้รับการขนานนามในภายหลังว่า พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ทางด้านสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร

    เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา แล้วจึงเสด็จเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา…

 

     3. ระดับเสียง : มนุษย์มีระดับเสียง 5 ระดับ คือ ธรรมดา สูง1 สูง2 ต่ำ1 ต่ำ2 ฝึกประโยคการใช้ระดับเสียงตามสถานการณ์ ตามตัวอย่าง ดังนี้

  • ใช้ระดับเสียงกับหัวหน้า เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา : ใช้โทนเสียงทุ้ม  หนักแน่น เสียงดังสม่ำเสมอ เสียงธรรมดาและเสียงต่ำ1 
  • ใช้ระดับเสียงกับลูกค้า ผู้รับบริการ : ใช้โทนเสียงธรรมดาและโทนเสียงสูง 1 น้ำเสียงกระตือรือร้น มีสีสัน น้ำเสียงธรรมชาติไม่แนะนำให้แปลงเสียงเล็กเบาหรือทำครึ่งเสียง
  • ใช้ระดับเสียงการประชุม พิธีกร : ใช้โทนเสียงสูง 1 เสียงดังสม่ำเสมอ มีจังหวะสูงต่ำ จังหวะเงียบหยุดฟัง จังหวะนำเสนอขึ้นสูง 1 ระดับเรียกความสนใจในการฟัง 
  • ใช้ระดับเสียงผ่านโทรศัพท์ : ควบคุมโทนเสียงให้เป็นเสียงธรรมดาสูงต่ำสม่ำเสมอ ไม่ทุ้มหรือแหลมไป ทำให้ฟังแล้วแสบหู คล้ายกราฟคลื่นจังหวะเต้นของหัวใจ กรณีพูดโต้ตอบคำควบกล้ำชัดถ้อยชัดคำ จะทำให้ผู้สื่อสารได้รับข้อความสมบูรณ์ชัดเจน 

     คนที่รู้จักพูดหรือเรียกว่าพูดเป็น เป็นเสมือนมิตรไมตรีแรกที่ยื่นให้แก่ผู้ฟังทั้งเห็นหน้าหรือไม่เห็นหน้า ทำให้ดูน่ารัก ฉลาดและมีเสน่ห์ สร้างจุดสนใจแรกให้คนสื่อสารด้วยอยากร่วมงาน อยากประสานงานครั้งต่อไป

    ดังนั้น ต้องฝึกอ่านให้มาก ฝึกพูดตามสถานกาณ์ต่างๆ ยิ่งใครยื่นไมค์ให้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ต้องรับไว้พร้อมพูดอย่างมั่นใจ  การพูดให้มีจังหวะสะกดคนฟังจึงเป็นทั้งพรสวรรค์และพรแสวงที่นำมาซึ่งความสำเร็จได้ในอาชีพการงาน

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 249 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร