ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 04 มกราคม 2564 จำนวนผู้เข้าชม 577 คน
04 มกราคม 2564 หากคุณ คือ ผู้นำในวันนี้ ต้องอ่านบทความนี้ เพราะบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ที่ดี จะนำพาคุณไปสู่เป้าหมายที่วางไว้หรือตกม้าตายก่อนจบเรื่องก็เป็นได้ ยิ่งหากดำรงตำแหน่งอยู่ในระดับหัวหน้างานแล้วล่ะก็ หน้าตา ท่าทางและคำพูด สำคัญมากในการบริหารงาน เพราะสิ่งเหล่านี้ จะสะท้อนความเป็นตัวตนของตัวคุณเอง ดูสุขุม สุภาพ น่าเกรงขาม เกรี้ยวกราด หยาบกระด้างหรือทำให้คนเกลียดเพราะคำพูด ทำให้คนรักเพราะท่าทาง มีให้เห็นมามากแล้ว
วันนี้ผู้เขียนจึง นำมาบอกเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพสู่ผู้นำที่สง่างาม
ภาษากายแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ภาษากายเชิงบวกและภาษากายเชิงลบ กล่าวคือ หากหัวหน้าไม่อยากให้ผู้คนรอบข้างมองในแง่ลบ เราเป็นหัวหน้าที่ยิ่งทะนง ยโสโอหัง ควรฝึกภาษากายในเชิงบวกไว้ เพราะภาษาในด้านลบย่อมส่งผลต่อความเคารพ ศรัทธาของผู้คนรอบข้าง สื่อถึงการดูถูกบุคลิกภาพภายในตัวหัวหน้า
ภาษากายที่คุณต้องห้าม
- การสั่งงาน ห้ามใช้นิ้วชี้สั่ง ไม่ว่ากรณีใดๆ ควรผายมือ 45 องศา ลงไปในตำแหน่งที่ต้องการสั่ง หรือหากต้องการชี้ตำแหน่งสำคัญในกระดาษให้ลูกน้องเห็น อาจใช้ปากกาทาบวางไปบนตำแหน่งดังกล่าว ทำมุม 45 องศา
- การใช้น้ำเสียง หลายครั้งที่ลูกน้องทำงานได้ไม่น่าพึงพอใจ หรือทำงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน หัวหน้ามักใช้สีหน้าเคร่งเครียด คิ้วขมวด เสียงแข็ง นั้นคือ สิ่งที่ผิดพลาดอย่างแรง สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยน คือ หัวหน้าทำน้ำเสียงจริงจัง สั่งงานพูดคุย กดเสียงโทนต่ำ สีหน้านิ่ง มองตรงที่ลูกน้อง พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมไปหลายโค้ง เพราะการพูดอ้อมไปเรื่อยก่อนเข้าสู่ประเด็น ลูกน้องจะพาลเหมารวมว่าคุณดูเสแสร้ง ไม่จริงใจ
- การใช้น้ำเสียงสูงปรี๊ดหรือด่าประจาน ใช้อารมณ์โกรธลงไปที่ใบหน้าทั้ง คิ้ว ตา จมูก ปาก นั่นแหละ คือคุณแพ้พ่ายการกระทำของลูกน้อง คุณมีอารมณ์ไม่มั่นคงพอที่จะควบคุมใคร หากเจอปัญหาแบบนี้บ่อยๆ เชื่อเถอะอีกหน่อย ลูกน้องขวัญกระเจิงหนีหายไปกันหมด แล้วคราวนี้ คุณจะหาทีมที่ดีมาร่วมงานได้อีกเมื่อไร วิธีแก้ไข คือ ฝึกควบคุมการตั้งสติ นั่งสมาธิก่อนนอนทุกคืน
- ท่าทางการนั่ง เคยไหมที่คุณเตรียมข้อมูลในการพูดคุยงาน อย่างดี นั่งในท่าที่สบาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าหลายชั่วโมง อิริยาบสเดิมๆคุณกลับมาอีกครั้ง คือ นั่งหลังงอ มือเท้าคาง นั่งเอนหลังบ้าง มือกอดอกฟังลูกน้องพูดเหล่านี้ คือ ท่าทางที่แสดงถึงความไม่มืออาชีพ เสียบุคลิกภาพ ดังนั้น ผู้นำหรือหัวหน้างานที่ดีต้องรักษาท่าทางในการนั่งแบบมืออาชีพ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในงาน นั่งหลังตรง เอนตัวได้เล็กน้อย มือวางพนักเก้าอี้ได้บ้าง ไม่กอดอก เท้าสลับวางแตะพื้นเป็นรูปตัววี มือวางทาบบนโต๊ะฟัง
ภาษามือสื่อความหมาย
+ เอามือถูหู แสดงถึงการเบื่อ ไม่อยากฟัง อยากมีส่วนร่วมในการพูดบ้าง
+ เอามือเกาคอ ลูบคอ แสดงถึง ความไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ
+ เอามือเท้าคาง แสดงถึง อาการเบื่อหน่าย อยากจบการสนทนา
+ เอากำปั้นเท้าคาง แสดงถึง อาการครุ่นคิด มีข้อสงสัย
+ เอามือปิดปาก แสดงถึงการปิดบังอำพรางบางสิ่ง หรือการปกปิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้
+ เอามือกอดอก แสดงถึงการปิดกั้นไม่รับข้อมูลใดๆ
+ เอามือเสยผม แสดงถึงความไม่มั่นใจ ไม่พร้อม
+ เอามือเกาศีรษะ แสดงถึง มีข้อสงสัย ไม่เข้าใจ ไม่พึงพอใจ
ที่ผู้เขียนเล่ามาทั้งหมดนี้ คือส่วนหนึ่งของภาษากายที่หัวหน้าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมและฝึกตนเอง ให้ปฏิบัติตนแบบหัวหน้ามืออาชีพ เป็นกิจนิสัย เพราะบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ที่ดี ไม่ได้เป็นพรสวรรค์แต่กำเนิด แต่สามารถฝึกให้เกิดขึ้นได้ด้วยพรแสวงแห่งตน
ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนได้รับการปรึกษาจากฝ่ายบริหารองค์กรหนึ่ง เรื่องรักพี่เสียดายน้อง “การปรับเลื่อนตำแหน่งหัวหน้างาน 2 คน” คือ A และ B ให้เลือก 1 คนเป็นผู้จัดการฝ่าย
ดูจากผลการปฏิบัติงาน ความสามารถในงาน ทั้ง A และ B นั้นดีเยี่ยมเท่ากัน ประสบการณ์ทำงานนานเท่ากัน อีกคนจบจากต่างประเทศ อีกคนทำงานจากต่างประเทศ แต่ในที่สุด ผู้บริหารตัดสินใจเลือก B เนื่องจาก B มีความมั่นคงทางอารมณ์ พูดจาฉะฉาน บุคลิกภาพการแต่งตัวดี ส่วน A ค่อนข้างเจ้าอารมณ์ ใจร้อน ภาพลักษณ์ที่หลายคนพบภาพแรก คือ ดูหน้าตาดุ คิ้วขมวด พูดน้อย
ดังนั้น บุคลิกภาพ ท่าทาง การพูดมีความสำคัญมิใช่น้อย หากหัวหน้าท่านใดประเมินตนเองแล้ว ดูบุคลิกภาพเริ่มย่ำแย่ อารมณ์ปรวนแปร ต้องฝึกรับผลการ Feedback พฤติกรรมหัวหน้า จากลูกน้องมาใช้เป็นกระจกสะท้อน คุณไม่อยากรู้หรือลูกน้องคิดอย่างไรกับคุณ ? ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ดีเสียอีกเพราะปรับตัวได้ทัน มีแต่ลูกน้องปรบมือให้รัวๆ
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 04 มกราคม 2564
จำนวนผู้เข้าชม 577 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI
คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)
อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?
อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง
Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling
Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?
บุคลิกภาพท่ายืนเดินนั่งที่สง่างาม
“อิริยาบถท่าทางที่สง่างามช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ชวนมอง ไม่ว่าท่านทำงานในตำแหน่งใด ควรได้เรียนรู้พื้นฐาน 3 เรื่องนี้ไว้ทั้งการยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นบุคลิกพื้นฐานที่ฝึกฝนให้ดูดีได้ไม่ยาก ”
จิตวิทยาบริการ
หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล
เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ
คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด