ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 29 ธันวาคม 2563 จำนวนผู้เข้าชม 717 คน
29 ธันวาคม 2563การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ฝ่ายจัดกิจกรรมย่อมประเมินงบประมาณที่เกิดขึ้น ผลดี ผลเสียในการจัดแต่ละครั้ง ไม่ต่างไปจากการประเมินความคุ้มค่าในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งในองค์กร การปฐมนิเทศถือเป็นแผนสำคัญในการปลุกพลังบุคลากรใหม่ ให้มีความตื่นตัว มีความรู้พื้นฐาน ก่อนลงมือปฏิบัติงานจริง รวมทั้งช่วยส่งเสริมกำลังใจในการทำงาน
หากผู้รับผิดชอบในการ Orientation มีการประเมินผลกิจกรรมแต่ละครั้ง มีการติดตาม (Follow up) พนักงานใหม่อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ทราบถึงแต่ละขั้นของการทำงานพนักงานใหม่ ทราบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานหรือร่วมงาน
หลายกลุ่มที่ทำงานด้านการปฐมนิเทศ มักมองการจัดตารางอบรมพนักงานใหม่เป็นหน้าที่งาน ต้องมีการอบรมทุกครั้ง มีหัวข้อการอบรมตามที่เคยมีมา แต่ไม่มีการปรับเปลี่ยน อิงตามนโยบาย เศรษฐกิจ ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ทำให้การจัดแต่ละครั้งมีรูปแบบเดิมๆ ลักษณะการบรรยาย
ซึ่งผู้เขียนได้แนะนำ วิธีการ Orientation แบบ 1 3 5 1 ไปแล้วในบทก่อนหน้านี้ สามารถนำมาพัฒนา แต่งเติมให้เหมาะสมกับรูปแบบงาน รูปแบบองค์กร โดยเน้นผู้เข้ารับการปฐมนิเทศให้มีการกิจกรรมแบบลงมือทำ โดยผู้จัดกิจกรรมมีการติดตามผล P D C A หลังจบกิจกรรมไปแล้วอย่างต่อเนื่อง
ไม่กำหนดระยะเวลา ขึ้นอยู่กับ การตีกรอบความจำเป็นที่ผู้จัดเห็นควร เช่น ติดตามรายสัปดาห์ รายเดือน ทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือน จนกระทั่งครบปี เป็นต้น
กิจกรรมที่ควรเลือกใช้ในการจัดปฐมนิเทศ ควรมีเกมและกิจกรรมพัฒนาทีมงาน เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยปลุกพลังการทำงาน สู่ความเป็นทีมเวิร์ก ในอนาคต
วันนี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนำมาใช้ในการปฐมนิเทศได้ 1 กิจกรรม
กิจกรรม “คลิปเป็นห่วง”
ประโยชน์
เป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรม เสริมความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความสามัคคีในทีม เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
อุปกรณ์
คลิปหนีบกระดาษคนละ 2 ตัว
กระดาษขาวสี่เหลี่ยม
ปากกาเขียนชื่อ
แบ่งทีม
3-5 ทีม เท่าๆกัน ทีมละ5-10 คน
จำกัดเวลา
5 นาที
สถานที่
ที่โล่งหรือห้องประชุม ตามขนาดสมาชิก วิธีเล่น
1. แบ่งสมาชิกให้เท่ากันทุกทีม โดยสมาชิกที่เหลือคอยช่วยเชียร์ให้กำลังใจ
2. แต่ละทีมยืนเรียงแถว แจกคลิปหนีบกระดาษคนละ 2 ตัวและกระดาษขาวขนาด 3x3 นิ้วคนละ 1 แผ่น ให้เขียนชื่อเล่นตนเองไว้ในกระดาษ
3. เมื่อได้รับสัญญาณนกหวีด ให้คนแรกในทีมเริ่มร้อยคลิปแต่ละคนต่อกันให้เป็นห่วงโซ่ จนถึงคนสุดท้ายของทีม ให้ยาวที่สุด
4. โดยมีข้อแม้ว่า จะต้องมีกระดาษที่เขียนชื่อเล่นของแต่ละคนอยู่ในห่วงโซ่นั้นด้วยทุกแผ่น (ห้ามกระดาษขาด) แต่ไม่ระบุว่าต้องร้อยกระดาษอย่างไร
5. ทีมใดร้อยเสร็จก่อน ให้ยกมือขึ้นพร้อมพูด “คลิปเป็นห่วงแล้ว”
6. ทีมที่ชนะคือทีมที่ร้อยคลิปเป็นห่วงโซ่ได้สมบูรณ์แบบและยาวที่สุด
7. กรรมการใช้ไม้บรรทัดหรือตลัปเมตรวัดและบันทึกลงกระดาน
8. มอบรางวัลผู้ชนะ
ผลลัพธ์จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้ทำให้เพื่อนที่คอยเชียร์ช่วยลุ้น ถือเป็นการกระตุ้นให้กำลังใจ อีกทั้งส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ ทำให้ผู้เล่นเกมมีความสนุกสนาน รู้จักกันมากขึ้น ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร สามารถเก็บคลิปไว้จัดครั้งต่อไปหรือนำไปใช้หนีบกระดาษได้ดังเดิม
ประยุกต์กิจกรรม
สามารถประยุกต์การใช้คลิปเปลี่ยนเป็นยางวง หรือเปลี่ยนกระดาษได้ตามความเหมาะสม จำนวนผู้เล่นยิ่งมาก ยิ่งทำให้เพิ่มความสนุกสนาน แต่ไม่ควรเกินกลุ่มละ 20 คน
คำถามชวนคิด ......................................................... |
ขอบคุณภาพจาก www.Parents.com www.123rf.com |
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 29 ธันวาคม 2563
จำนวนผู้เข้าชม 717 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ
การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร
การบริการเชิงรุก (Proactive Service ) ทำอย่างไร?
การบริการเชิงรุกไม่ใช่การกระตือรือร้นการบริการหรือเสนอการบริการให้ลูกค้าก่อน แต่เป็นรูปแบบการวางระบบบริการไว้ล่วงหน้าด้วยเทคนิค “สร้าง Brand loyalty & Brand Personal” ทุกขั้นตอนตั้งแต่แรกรับ
หลักการทำงานแบบ Teamwork
กิจกรรม OD อาจไม่ใช่การแก้ไขที่สาเหตุแบบยั่งยืนหรือไม่ ? เมื่อองค์กรพบปัญหาสมาชิกในองค์กรขาดความสามัคคีจึงมองหาการจัดกิจกรรม OD นอกสถานที่ ทั้งกิจกรรม Teamwork หรือกิจกรรม Teambuilding
เครื่องมือพัฒนาคนเก่ง 5 ประการ (People Development Tools)
เคยได้ยินประโยคนี้มาแล้วอึดอัดใจนิดๆ “ หัวหน้าไม่ได้เรื่อง คนที่นี่ไม่เก่ง” ฟังผิวเผิน ไม่ได้ใกล้ชิดอยู่ด้วยทุกวัน คิดว่าเป็นประโยคบอกเล่าผ่านๆ และเราอาจ “หือ อือออตามแบบปลงๆ” แต่เผอิญต้องใช้ชีวิต
เตรียมปฐมนิเทศพนักงานใหม่มีประสิทธิภาพ ?
เตรียมปฐมนิเทศพนักงานใหม่มีประสิทธิภาพ? (Effective New Employee Orientation) ใครกันคิดว่าการปฐมนิเทศเป็นเรื่องไม่สำคัญ แค่พูดคุยทั่วไปน่าจะเพียงพอ สะดวกไม่เปลืองเวลางาน วันแรกให้เขาลงปฏิบัติหน้างานทัน
ขั้นตอนจัดทำ Succession Plan
การจัดทำแผนนี้ เน้นการสรรหาบุคลากรจากภายในมากกว่า เพราะใช้เวลาในการจัดเตรียม ฝึกฝน พัฒนาในระยะหนึ่งก่อนผู้ดำรงตำแหน่งงานเดิม จะพ้นสภาพตำแหน่งงานนั้น มิใช่นำเข้ามาจากภายนอก และเรียนรู้งานนั้นในทันที