หน้าแรก หน้ารวมบทความ เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ของ “มหาตมะ คานธี”

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ของ “มหาตมะ คานธี”


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 594 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          “อาจเป็นไปได้ ที่ในยุคต่อไป จะไม่มีใครอยากเชื่อว่า บุคคลเช่นนี้ ก็เคยมีชีวิตชีวา เดินเหินอยู่บนโลกนี้” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าว
          ครั้งหนึ่ง ดิฉันได้ไปเยือนอินเดีย ในฐานะที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ดิฉันเห็นภาพการเติบโต การพัฒนา สาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมทั้งเศรษฐกิจหลายด้านของอินเดีย ที่มีพัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างน่ามหัศจรรย์ ต่างจากในวัยเด็กที่ผู้ใหญ่เคยพูดถึงอินเดียในแง่ของความยากจน มีขอทานจำนวนมาก ทำให้ดิฉันคิดถึงบุคคลท่านหนึ่ง
          หนังสือพิมพ์ นิวยอร์ค ไทมส์ เคยกล่าวถึง “เขาเป็นบุคคลที่ไม่มีวันตาย เขาได้ทิ้งพลังทางใจ ไว้ให้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง ซึ่งสักวันหนึ่งในกาลข้างหน้า จักต้องมีอำนาจเหนือกำลังรบและอาวุธยุทธภัณฑ์ และเหนือลัทธิประหัตประหารกัน อันหฤโหด” นั่นคือ “มหาตมะ คานธี” Mahatma Gandhi 

          ผู้เขียน ขอหยิบยกหนังสือ “ชีวประวัติของข้าพเจ้า โดย มหาตมา คานธี” (สมัยนั้น เขียน มหาตมา คานธี) เป็นหนังสือแปลโดย กรุณา กุศลาสัย แปลจากภาษาฮินดี ตีพิมพ์ครั้งที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ.2518 จำได้ว่าอ่านซ้ำหลายครั้งแล้ว ทุกครั้งยังคงให้ความรู้สึกแตกต่าง น่าสนใจในการนำมาปรับใช้ทางการบริหารคน ท่านเป็นบุคคลที่เกิดมาเพื่อการพิทักษ์ทุกสิทธิ์ ชื่นชมผู้แปลที่ใช้ใจและความสามารถอันเต็มเปี่ยม ในการแปลภาษาฮินดี ซึ่งขณะผู้แปลดำรงชีพอยู่ในที่ ถูกจำกัดสิทธิห้องแคบๆ
          ทำให้เราคนไทย ได้รับรู้อีกมุมหนึ่งของท่านมหาตมะ ที่น่าประทับใจ แฝงข้อคิด ให้ทบทวนการดำเนินชีวิต หลักการบริหารงาน บริหารทีมงาน ซึ่งแปลกมาก ที่ท่านสามารถใช้วิธีการบริหารได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ต้องใช้ทุนมหาศาล แต่ใช้แรงจูงใจมวลมหาประชาชนแทนทุนอำนาจ
          ในตอนหนึ่งของหนังสือ กล่าวถึง “การก่อตั้งนิคม Phoenix”
          ที่ทำให้ดิฉันประทับใจในแนวคิดการบริหาร ซึ่งไม่ต่างกับการบริหารงานในองค์กรปัจจุบัน 

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ของ “มหาตมะ คานธี”

          มหาตมะ ท่านเล่าว่า
          แรกเริ่มก่อสร้างโรงพิมพ์ สำหรับวารสาร “Indian Opinion” ได้มิตรสหายชาวอินเดียมีอาชีพ ช่างไม้และช่างปูน และบุคคลที่ได้เคยร่วมงานกับข้าพเจ้า ตั้งแต่สงครามโบเออะ(Boer War)มาช่วยมากหน้าหลายตา ภายในเวลา 1 เดือน อาคารหลังหนึ่ง ซึ่งมีความยาว 75 ฟุต กว้าง 50 ฟุต ก็เสร็จเรียบร้อย มิตรสหายต้อง เสี่ยงอันตรายมากในการอยู่กินร่วมกับข้าพเจ้า เพราะตำบล Phoenix เต็มไปด้วยต้นไม้ ใบหญ้า มีงูชุกชุม ไม่เคยมีใครมาอาศัยอยู่ พวกเราต้องช่วยกัน หักล้างถางพง ทำความสะอาดทีละน้อย ในที่สุดก็เป็นสถานที่ปลอดภัย สำหรับอยู่อาศัยได้
          เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เราขนสัมภาระข้าวของ โดยใช้เกวียน ตำบล Phoenix อยู่ห่างจาก Durban ประมาณ 13 ไมล์ ข้าพเจ้าพยายามชักชวนให้บรรดาญาติมิตร ที่ติดตามข้าพเจ้าที่ไปทำมาหากินในแอฟริกาใต้ ให้มาเริ่มชีวิตใหม่ที่ Phoenix มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วย
ในคืนวันที่จะออกวารสารฉบับปฐมฤกษ์ คืนนั้น กรอบอัดตัวพิมพ์ หรือที่เรียกกันตามภาษาการพิมพ์ ว่า เคซ ได้ขึ้นไปอัดบนแท่นพิมพ์หมดแล้ว แต่เครื่องไม่ยอมเดิน พยายามเท่าไร ก็ไม่สำเร็จ ถึงกับต้องเชิญนายช่างหัวเมือง มาแก้ไข เครื่องยังไม่ยอมเดิน ทุกคนหมดหวัง นาย West เดินหน้าเศร้า น้ำตาคลอมาหาข้าพเจ้า
แล้วพูดขึ้นว่า
         “เครื่องไม่ยอมเดิน แม้จะพยายามเท่าไร ก็ไม่สำเร็จ น่ากลัวว่าหนังสือฉบับนี้ เราจะออกให้ไม่ทันกำหนดเสียแล้ว”
          “ถ้าจริงอย่างที่ว่า ก็ไม่มีทาง แต่ไม่จำเป็นอะไรที่เราต้องมาเสียน้ำตา ลองช่วยกันพยายามแก้ไข อีกหน่อยเถอะน่า เออ! เครื่องที่เราใช้แรงมือได้ ก็มีอยู่นี่นา หากเราไม่ใช้มันเวลานี้ จะไปใช้เมื่อไรกัน”
         ข้าพเจ้าพูดขึ้นเป็นทำนองปลอบใจ…. ข้าพเจ้าปลุกช่างไม้ ทั้งหลายให้ลุกขึ้น อธิบายเรื่องราวให้ฟัง แล้วขอร้องให้เขาช่วย ข้าพเจ้าได้รับคำตอบทันที
         “พุทโธ่ เรื่องเท่านี้ ถ้าผมช่วยท่านไม่ได้ ผมจะมีประโยชน์ อะไรเล่า ? ท่านไปพักผ่อน พวกเราจะจัดการเอง”
         ข้าพเจ้าและคนอื่นๆ ก็ผลัดกันเข้าช่วยออกแรงกับเขาด้วย และพร้อมกันนั้น หน้ากระดาษของ “Indian Opinion” ก็ตีพิมพ์ออกมาเรื่อยๆ 

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ของ “มหาตมะ คานธี”

          ผลก็คือ วารสารไปถึงสถานีได้ตรงตามเวลา และพวกเราต่างสบายใจไปตามๆกัน ทำให้พวกเรา มีกำลังใจทำงานดียิ่งขึ้น แล้วหันไปใช้แรงคนแทนเครื่องยนต์เดินแท่นพิมพ์
          จากตอนหนึ่ง ของหนังสือเล่มนี้ ทำให้เรามองเห็นภาพ นักบริหารที่แท้จริง ต้องอาศัยหลักการจูงใจทีมงาน เพื่อให้เขาเหล่านั้น เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสำเร็จ คำสั่งอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะทำให้คนร่วมใจทำงานให้ประสบผลสำเร็จ แต่ผู้บริหารที่ดีต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา บางครั้งต้องลงมือทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง อาจต้องร่วมแรง ร่วมใจทำงานด้วยตนเอง โดยมองข้ามคำว่า “หัวหน้า มีหน้าที่สั่ง” ออกไป และใช้หลักการระดมใจ ให้คนทำงานด้วยแรงใจมากกว่าการบังคับขู่เข็ญ ให้ทำตามนโยบายเพียงอย่างเดียว

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ของ “มหาตมะ คานธี”

          ซึ่งในปัจจุบัน การบริหารบุคลากรในองค์กรนั้น มีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้มีการแปรผันงาน การ Turn Over บุคลากร ค่อนข้างสูง อีกทั้ง การปรับเปลี่ยนทางเทคโนโลยี ทางเศรษฐกิจที่มีความผันแปรตลอดเวลา ซึ่ง สิ่งที่จะดำรงให้ธุรกิจอยู่อย่างยั่งยืน นั่นคือทรัพยากรมนุษย์ นั่นเอง
          เครื่องจักร เครื่องยนต์ สามารถทดแทนและลดระยะเวลาการผลิตได้ แต่ไม่มีจิตใจ หรือจิตสำนึกของความจงรักภักดีในองค์กร แต่มนุษย์มีเต็มเปี่ยมอยู่เหนือสิ่งมีชีวิต อื่นใดในโลก ผู้เขียน มักเขียนเสมอว่า หากพบปัญหาซับซ้อนมากมายในองค์กร ให้หันกลับมา ทบทวนแก้ปัญหาที่ตัวบุคลากรแต่ละระดับก่อน มองให้เห็นเนื้อแท้ของปัญหา เกิดจากน้ำมือมนุษย์ หรือเครื่องจักรสร้างปัญหา กันแน่?

          องค์กรต้องหมั่นสร้างเครื่องมือบำรุงรักษาคนเก่ง สร้างเครื่องมือผลักดันหัวหน้างาน ให้เป็นเสมือนเจ้าขององค์กร สร้างโปรแกรมพัฒนาศักยภาพคนเก่ง สร้างระบบตัดท่อน้ำเลี้ยงคนไม่ดี อย่าให้มีการแบ่งตัวได้อย่างอิสระแบบฝังรากลึก และสร้างโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง ทันต่อเหตุการณ์
          หนึ่งในการบริหารจัดการพัฒนาบุคลากรในองค์กร จึงไม่ควรลืมนำระบบประเมินผลงานมาใช้ควบคู่กับเทคนิคการจูงใจในการทำงาน เพราะ ไม่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันต่อไป “คน ไม่ใช่เครื่องจักรกลต้องการความรัก ความมั่นคง ความปลอดภัย การเอาใจใส่ และมีความเบื่อหน่าย ตลอดเวลา” คุณว่าจริงไหม? 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 05 สิงหาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 594 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล

AIDET สร้างภาพลักษณ์ในงานบริการ

ในงานบริการทางการแพทย์หรือสายงานด้านการให้การพยาบาล น่าจะได้ยินคำว่า “AIDET” หรืออ่านภาษาไทยว่า “เอเด็ต” มาแล้วพอควร เป็นกระบวนการสื่อสารซึ่งสร้างความพึงพอใจความเข้าใจอันดีด้วยหลัก Waiting Time