หน้าแรก หน้ารวมบทความ ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 499 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          สามสิ่งในชีวิตที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนมาได้ คือ คำพูด เวลา และโอกาส ดังนั้น หากคุณเคยพลาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปบ้างในชีวิต ต้องกลับมาตั้งสติอย่างรอบคอบ ตระหนักถึงที่มาปัญหา เพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็จตามอัตตาความเป็นมนุษย์   โดยนำความทรงจำในอดีต บรรจุเป็นบทเรียนสำคัญในการมุ่งหน้าเดินตามหาความสำเร็จในปัจจุบัน สุภาษิตกล่าวไว้ว่า “Homer sometimes nods ,The wisest man may fall. สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”  

          หากมองเรื่องปัญหาในการทำงานแต่ละวัน มีปัญหาที่แตกต่างหรือซ้ำในแบบเดิม บางครั้งทวีคูณสะสมความเครียดตามลำดับเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว บางคนสามารถปลดปล่อยปัญหาได้อย่างง่ายดาย นั่นคือทลายกำแพงความหนักหน่วงทางความคิดได้อย่างดีเยี่ยม สำหรับใครที่จัดการไม่ได้ต้องพาตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมนั้นไปแบบไม่อยากใยดี  องค์การไหนบริหารจัดการได้ดีทั้งงานและบุคลากร สามารถธำรงรักษาพนักงานให้สร้างความปึกแผ่นในองค์กรได้อย่างแข็งแกร่ง

          ย้อนกลับไป สมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมกลางศตวรรษที่ 18  เป็นยุคเฟื่องฟูด้านเครื่องมือ เครื่องจักร โดยสิ่งเหล่านี้ เข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในการทำงานสังคมชาวตะวันตก มีการพัฒนาบุคลากร ปรับการทำงาน ออกแบบงาน การเลือกคนเข้าทำงาน สวัสดิการค่าตอบแทนต่างๆ  เพื่อแก้ปัญหาทั้งคนทั้งงานให้มีคุณภาพ ให้สอดคล้องกับการใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรกลเพิ่มประสิทธิภาพการเพิ่มผลผลิต แม้งานไม่ได้มีให้เลือกมากอย่างปัจจุบัน แต่พบปัญหาคนทำงานมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนลาออกอยู่เรื่อยไป

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา

          นับเวลามาถึงปัจจุบันศตวรรษที่ 21 มนุษย์มีสังคม ความเจริญด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี การสื่อสารที่ล้ำหน้ามาก อาชีพมีความหลากหลาย คนเลือกงานได้มากขึ้น ตามคุณลักษณะความสามารถ หรืออาจไม่ตรงตามสาขาวิชาชีพที่ศึกษา  เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญในการทำงาน เสมือน ปัจจัยที่ 6 ในการดำรงชีวิต โดยเรียกคนทำงานวัยดิจิทัลนี้ว่า GEN Y หรือ คนยุคมิลเลนเนียม

          ศาสตราจารย์ George Demetropoilis แห่ง University of Phoenix ได้กล่าวถึงทักษะ 10 ประการที่คนทำงานประสบความสำเร็จและเป็นบุคคลที่องค์กรยุคนี้ต้องการสูง

     1. Leadership มีทักษะความเป็นผู้นำ ในการทำงานและเป็นผู้ตามที่ยอดเยี่ยม

     2. Critical Thinking มีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล รู้ที่มาและวิธีแก้ไขปัญหาอย่างแยบยล

     3. Collaboration มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ในทุกสถานการณ์

     4. Communication มีทักษะการติดต่อสื่อสาร การประสานงานที่ดี

     5 Adaptability มีทักษะการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและสิ่งแวดล้อมได้ดี

     6. Productivity & Accountability มีทักษะความรับผิดชอบสูง สามารถการสร้างผลงานได้อย่างมีรูปธรรม

     7. Innovation มีทักษะการคิดค้นนวัตกรรมการทำงานใหม่ๆ ในทุกโอกาสงาน

     8. Accessing &Analyzing & Synthesizing information มีทักษะคิดวิเคราะห์ ประมวลผลเข้าถึงข้อมูลได้อย่างชาญฉลาด สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

     9. Global Citizenship มีทักษะสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติ เพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงานได้

     10. Entrepreneurialism  มีความรู้สึกการเป็นเจ้าของในกิจการหรือที่ทำงานที่ทำอยู่

          สำหรับนักทำงานรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ ลองนำแนวคิดดีๆนี้ไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมการทำงานแต่ละองค์กร สิ่งที่กำลังเปลี่ยนไปหลังการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อ 10 ทักษะนี้คือ “องค์กรเห็นคุณค่าในตัวคุณ”

          แต่มองอีกมุม สำหรับองค์กรต้องการรักษาคนเก่งไว้ หนึ่งในการพัฒนาบุคลากร ควรมีนโยบายการบริหารจัดการระบบพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการอย่างแท้จริง  โดยคำนึงถึงการพัฒนาคนควบคู่กับความต้องการพื้นฐานในแต่ละระดับมนุษย์ ตามลำดับขั้นความต้องการของ “อับราฮัม มาสโลว์” เมื่อคนทำงานอยู่กับเรื่องเดิมๆ งานไม่ท้าทาย หนทางพัฒนาศักยภาพริบหรี่เต็มที “เงินซื้อใจไม่ได้”

          นักพัฒนาบุคลากรต้องหยุดมองการลาออกคือเรื่องปรกติของการทำงาน แต่ให้แสวงหาข้อมูลการลาออกแท้จริงจาก Exit Interview เพื่อนำเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาการลาออกตำแหน่งเดิมๆ หน่วยงานเดิมๆ หรือหัวหน้าคนเดิม นั่น อาจเป็นอีกคำตอบ “ทำอย่างไรจะสร้างคนเก่งในองค์กร”

          สำหรับคนทำงาน ที่กำลังมองหาโอกาสประสบความสำเร็จใหม่ๆ วันนี้ลองมาเปลี่ยน คำว่า “ไม่”เป็น “มี” สำรับ 5 ข้ออ้างที่ฉุดรั้งความสำเร็จของเรา

         1. ไม่มีทุน จริงอยู่เงินสามารถซื้อความสะดวกสบาย สิ่งของเลอค่าประดับบารมี แต่ไม่สามารถซื้อหาความรู้ในคลังปัญญาเราได้ ผู้ที่ประสบความสำเร็จมักคิดหาหนทางเพื่อการได้มาซึ่งทุนโดยสุจริต ไม่รอโชคชะตามาบังคับทางสำเร็จ

         2. ไม่มีเวลา คนที่ไม่พยายามมักอ้างเหตุผลเรื่องเวลา แม้เวลามีเท่ากัน 24 ชั่วโมงทั่วโลก คนที่ประสบความสำเร็จมักใช้เวลา 80 % ไปกับการทุ่มเททำงานอย่างมุ่งมั่น และอีก 20% ใช้ไปกับเรื่องส่วนตัว เรื่องสังคม

         3. ไม่มีทักษะความรู้ ไม่มีใครเดินได้มาแต่เกิด เพราะกว่าจะก้าวได้ก้าวต่อไปต้องมีก้าวแรกเสมอ ขอยกตัวอย่าง ผู้ชายหุ่นล่ำบึ้ก คมเข้ม บัวขาว บัญชาเมฆ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ใน Salmon.giraffe magazine ตลอดชีวิตนักมวยชกมา 250 ครั้ง ชนะ 200 กว่าครั้ง โดยชนะน็อก 56 ครั้ง “ทุกอย่างอยู่ที่การฝึกซ้อม ถ้าเก็บตัวไม่ดีหรือซ้อมไม่ดี เท่ากับว่าเราจะแพ้ทันที” เดี๋ยวนี้โลกเราก้าวหน้าไปอย่ารวดเร็ว อยากรู้อะไรเปิดได้ใน Google ดังนั้นอย่านำมาเป็นข้ออ้างเพื่อเป็นกำแพงกั้นความสำเร็จ ความรู้มีอยู่ทุกที่ อยู่ที่เราจะเลือกไขว่คว้าและแสวงหา

         4. ไม่มีความคิด คนเรามักทำงานทุกวันด้วยความเคยชิน แต่คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มักคิดเพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงานตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง รู้จักคิดสร้างนวัตกรรมในการทำงาน คิดเพื่อสร้างธุรกิจ คิดสร้างอนาคต  ไม่ปล่อยตัวว่าง ตาลอย เดินไร้จุดมุ่งหมายให้คุณลองเขียนเป้าหมายในชีวิตตนเอง จุดดี จุดด้อยตนเอง และตั้งข้อกำหนดการทำงานลงกระดาษ  หรือพูดง่ายๆคือวาดแผนที่ชีวิต บังคับตนเองเดินตามหาเป้าหมายนั้นให้เจอ หยุดพักได้แต่อย่าหยุดเดินตามหา ทุกคนมีหนึ่งสมองสองมือเท่ากันแต่แรงผลักชีวิตต่างกันร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ลูกค้าจับจ่ายสินค้าผ่านโลกโซเชียลไม่ต้องเดินทาง ข้ามน้ำข้ามทะเล คุณก็สามารถจับจ่ายสินค้าได้อย่างง่ายดายแค่ปลายนิ้วCLIK!! เจฟ เบซอส CEO จากเว็บ amazon.com ผู้ก่อตั้งร้านค้าออนไลน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

         5. ไม่มีโอกาส เราต้องวิ่งเข้าหาโอกาสมากกว่ารอโชคชะตา นักเศรษฐีระดับโลกไม่มีใครอยู่บ้านเฉยๆแล้วรวยล้นฟ้า ไม่มีเทวดาองค์ไหนทราบว่าเราต้องการอะไร  คุณเท่านั้นที่รู้ แน่นอน อยู่ที่ตัวคุณเองเป็นคนกำหนดระยะเวลา เพื่อคว้าโอกาส วิ่งชนความสำเร็จในชีวิต ใช่ว่า คอมพิวเตอร์มีไว้ใช้งานอย่างเดียว ผู้ก่อตั้ง Facebook  ไม่เคยรอให้เวลาเปลี่ยนโลก แต่นำเทคโนโลยีที่เขาคิดค้น เปลี่ยนชีวิตคนบนโลก การสื่อสารจากโลกโซเชียลทำให้ทวีปแคบลงแค่ปลายนิ้วสัมผัสหน้าจอจาก  สตีฟ จอบส์ อย่าลืมนะคะ ความสำเร็จสร้างได้อยู่ที่คุณจะเดินออกจากกล่องเมื่อไร?

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 24 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 499 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

การสื่อสารแบบ AIDET Plus ทุกแผนกในโรงพยาบาลทำอย่างไร ?

ในอดีตผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหลักใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Descriptions) โดยปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่ตามขั้นตอนงาน (Work Instruction) ที่จัดทำขึ้นมาจากมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามหลักการความปลอดภัย

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร