หน้าแรก หน้ารวมบทความ หนึ่งวันที่สบายแต่ได้เงินล้าน

หนึ่งวันที่สบายแต่ได้เงินล้าน


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 560 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

       ก่อนเข้านอนทุกคืน เรามักมีสิ่งที่ต้องจัดการให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมตัวสำหรับวันรุ่งขึ้น หลายครั้งที่ เรามักบ่นกับตัวเองว่า "เวลาไม่เคยพอเลย" .. นมอุ่นสักแก้ว เล่นเกมที่ชื่นชอบ  หนังสือธรรมะจรรโลงใจหรือนั่งสมาธิก่อนนอน หลายสิ่งอาจทำให้เราลืมความเหนื่อยล้ามาทั้งวันและล้มตัวลงนอนบนที่นอนอันแสนนุ่มสบาย กลับบางคนไม่เป็นเช่นนั้นกว่าจะข่มตานอนลงได้ พร้อมประโยคทิ้งท้าย "พรุ่งนี้ต้องเจออะไรอีกนี่"

หนึ่งวันที่สบายแต่ได้เงินล้าน

       หลายเดือนก่อน ได้เจอกับลูกศิษย์โดยบังเอิญหลังจากไม่เจอกัน 7 ปี "อาจารย์จำหนูได้ไหม ? หนูอ้วนขึ้นสัก 30 กิโลนะ"  โชคดีเหลือเกินที่ลูกศิษย์มีไฝแก้มขวาและเหนือริมฝีปากบนซ้าย มิฉะนั้น เราคงงงอยู่พักใหญ่และส่ายหัวเป็นระวิง เรื่องราวของความวุ่นวายในชีวิตของศิษย์เล่าให้ฟังแล้วนึกถึงหนังสือเรื่องหนึ่งไม่ได้ "โต๊ะโตะจังเด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ของ คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ วันหนึ่งเธอเป็นสตรีที่ประสบความสำเร็จทำรายได้ปีละมากกว่า 50 ล้านบาท ได้รับเลือกเป็นทูตยูนิเซฟแห่งสหประชาชาติ จากคำครหาแต่เด็กว่าเป็นเด็กมีปัญหา ถูกไล่ออกจากโรงเรียนตั้งแต่อยู่ประถมหนึ่ง คุณค่าของชีวิตแต่ละคนมีจุดเริ่มต้นของทางเดินต่างกัน บางคนโชคดีเกิดมาบนกองเงิน กองทอง บางคนเกิดมาพร้อมความอัจฉริยะทางปัญญา บางคนเกิดมาพร้อมใบหน้ารูปร่างที่หล่อสวย แต่ยังมีอีกหลายมุมของสังคมที่ยังมีชีวิตแบบกบรอจังหวะกระโดดออกจากกะลาครอบหรือไก่รอโก่งคอร้องเรียกแสงตะวัน ความโชคดีมักมาพร้อมความสุขและความทุกข์ก่อนเสมอ ถ้าเรานึกย้อนกลับไปวันที่เราลืมตาดูโลกเป็นวันที่แม่เจ็บปวดที่สุดวันหนึ่ง แต่เป็นวันประกาศอิสระสภาพทางลมหายใจบนพื้นผิวโลกของเราในวันแรก หากทำโพลสอบถามคน 100 ล้านคนทั่วโลกทุกทวีป ใครบ้างที่เกิดมาไม่เคยเสียใจหลั่งน้ำตาสักครั้ง  ??

        ดังนั้น ก่อนที่เราจะหลับนอนฝันดีทุกคืน พร้อมตื่นมาพบความสำเร็จเราต้องผ่านด่านของคนกล้ามาให้ได้ นักรบในสมรภูมิไม่มีใครถือดาบและปืนที่ได้รับมาแล้วออกไปสู้ศึก ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมซักซ้อมมาอย่างเจนจัด ใครผิดพลาดอาจมีบาดแผล รอยช้ำ เมื่อเข้าสู่การแข่งชิงชัยประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้งหมดมวลจะนำพาเราสู้แบบผู้กล้าด้วยปัญญา สำนวนไทยว่า "กลิ้งครกขึ้นภูเขา"

       จัดระเบียบชีวิตหนึ่งวันของเราให้ใช้ชีวิตอย่างง่ายขึ้น ไม่ลำบากคนอื่น ไม่ลำบากใจเรา ไม่ลำบากตัวเองและตั้งอยู่บนพื้นฐานปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค หันมาใส่ใจบริโภคโปรตีน ผัก ผลไม้มากกว่าอาหารขยะจานด่วนในปัจจุบัน ใส่เสื้อผ้าอาภรณ์แต่พอดีให้เหมาะสมรูปร่างฐานะ ไม่ใช่แฟชั่นเอวลอย สั้นเสมอหูกำลังติดตลาด เราเทงบประมาณที่มีอยู่ซื้อของน้อยชิ้นแต่ชุ่มฉ่ำใจ ที่อยู่อาศัยที่พอเหมาะอยู่แล้วดำเนินชีวิตประจำวันสะดวกขึ้น และสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการก้าวเดินต่อไปในทุกๆวินาที หมั่นออกกำลังกาย โยคะ วิ่ง เดิน เพื่อสุขภาพเป็นการเก็บสะสมอายุวัฒนะของตนเองไว้ในยามชรา แต่ในปัจจุบันพบว่า " ปัจจัยที่ 5 กลับเพิ่มเข้ามาทำให้ชีวิตเราขาดไม่ได้ อยู่ไม่สุข ทุกข์เมื่อโทรศัพท์หาย ไม่ได้ไลน์แล้วจิตตก ต้องพกโทรศัพท์ทุกที่ กินอะไรดีๆต้องถ่ายไว้ คนที่ถูกใจกด Like เป็นล้าน " นี่คือโลกในยุคปัจจุบัน

       หลายคนคงตั้งปณิธานไว้ในใจแต่พบว่าที่เคยตั้งไว้มันห่างไกลไปเรื่อยๆ ความสำเร็จเหมือนปาหินลงน้ำ หากคุณชีวประวัติของบุคคลผู้ซึ่งมีรายได้ติด 1 ใน 100 ของโลก คุณจะได้พบว่าพวกเขาเหล่านั้นมีเวลาทำงานสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 60 ชั่วโมง ในขณะที่ พนักงานออฟฟิศทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากคุณ โหยหาความสำเร็จและอยากนั่งสบายในวันที่มีเงินล้านเข้าบัญชีแบบไม่ต้องตอกบัตรหรือเซ็นชื่อเข้าออกทำงาน ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต ความคิด การทำงานใหม่ เขียนลงกระดาษตัวโตๆว่า "ฉันดี ฉันเก่ง ฉันรวย"

       ฝ่ามือสองข้างปิดหน้า 3 วินาทีและชูขึ้นสุดมือ "สู้โว้ยยยยย" คนทำงานประจำหลายคนรวยจากการเก็บหอมรอมริบและอาชีพสุจริตเสริมรายได้ มีความใฝ่ฝันเงินร้อยล้านมากองตรงหน้า หากไม่ถูกรางวัลที่ 1 คงต้องได้รับมรดกจากพ่อแม่ จึงจะรวยร้อยล้านสมใจ หลายคนจึงหันไปเป็นเจ้าของธุรกิจแทน 

       ดังนั้น เมื่อเราอยู่กับปัจจุบันเราก็ควรทำในสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีที่สุดเพื่อบ่มเพาะความเก่งกล้าสามารถ ความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ถ้าวันนี้เราท้อและเหนื่อยให้เราหยุดพัก ไตร่ตรองชีวิตที่ผ่านมาและสิ่งที่ทำว่าเกินตัวหรือล่วงเกินเวลาพักผ่อนประจำวันไปหรือไม่ เครื่องจักรยังต้องตรวจเช็คสภาพแล้วเราเป็นมนุษย์ไม่มีกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีถ่าน ไม่มีแบตเตอรี่ มีเพียงร่างกายและลมหายใจที่ใช้เป็นกลไกการดำรงชีพ

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 21 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 560 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance

การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ

ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI

ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม

ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว

ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus

ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร